Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50991
Title: Assessment of Surfactant Flooding with Variations of Slug Injection Strategies in Waterflooded Reservoir
Other Titles: การประเมินกระบวนการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวด้วยการเปลี่ยนกลยุทธ์การฉีดอัดในแหล่งกักเก็บที่ผ่านการฉีดอัดด้วยน้ำ
Authors: Anan Tantianon
Advisors: Falan Srisuriyachai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: Falan.S@chula.ac.th,Falan.S@chula.ac.th
Subjects: Petroleum
Surface active agents
ปิโตรเลียม
สารลดแรงตึงผิว
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Introduction of surfactant into waterflooded reservoir may cause the reduction in surfactant efficiency by means of surfactant dilution and adsorption. However, it is possible to overcome this issue by utilizing concept of equilibrium shifting between different surfactant concentrations. Therefore, this study aims to evaluate the effects of surfactant flooding with multi-slug grading in waterflooded reservoir on additional oil recovery. Flooding operating conditions are initially evaluated to identify effects of injected surfactant concentration, surfactant injection rate, and time to implement surfactant flooding after water pre-injection for single-slug injection and multi-slug injection. The effects on oil recovery of reservoir parameters related to interaction between surfactant and rock surface including changes of properties related to relative permeability curves, such as irreducible water saturation and endpoint relative permeability, are then evaluated. Performance of surfactant flooding strategy is evaluated based on oil recovery factor. Simulated results indicate that two-slug surfactant injection yields better oil recovery than single-slug surfactant injection due to benefit of sacrificial adsorption or desorption process. Selection of type of two-slug injection strategy would depend on surfactant concentration of single-slug which is chosen to be modified; whereas, the selection of magnitude of concentration contrast between the two slugs would depend on placement of surfactant mass ratio. Modification of two-slug into three-slug injection does not show improvement in oil recovery in this study. However, additional oil recovery is observed to be better than single-slug surfactant injection. Assessment of operating parameters implies impacts on oil recovery performance. Surfactant concentration slightly shows effects on rate of change in oil recovery, but not on final oil recovery. The final oil recovery as well as the rate of recovering is more sensitive to the change in surfactant injection rate. Increase in injection rate results in faster and higher oil recovery. Time to implement surfactant injection does not show much impact on final oil recovery. Implementing at higher watercut would just delay production as a whole. For the effects of reservoir properties, changes in endpoint relative permeability to oil is more sensitive to the performance of surfactant flooding when compared to changes in endpoint water saturation.
Other Abstract: การใช้สารลดแรงตึงผิวในแหล่งกักเก็บที่ผ่านกระบวนการฉีดอัดด้วยน้ำอาจส่งผลให้ลดประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวลงเนื่องจากจะก่อให้เกิดการเจือจางและการดูดซับของสารลดแรงตึงผิว อย่างไรก็ดีปัญหานี้มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแก้ไขได้โดยการใช้หลักการเปลี่ยนแปลงสมดุลยภาพระหว่างความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว ด้วยเหตุนี้การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวด้วยวิธีการจัดลำดับก้อนมวลของสารลดแรงตึงผิวในแหล่งกักเก็บที่ผ่านการฉีดอัดด้วยน้ำในการเพิ่มการผลิตน้ำมัน ตัวแปรเชิงปฏิบัติการของการฉีดอัดได้ถูกประเมินในขั้นต้นโดยทำการระบุผลของความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว อัตราการฉีดอัด และเวลาในการเริ่มการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวภายหลังจากการฉีดอัดด้วยน้ำสำหรับการฉีดอัดแบบก้อนมวลสารเดียวและการฉีดอัดแบบก้อนมวลสารหลายก้อน ผลกระทบของตัวแปรของแหล่งกักเก็บที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการซึมผ่านสัมพัทธ์ต่อปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ ได้แก่ สัดส่วนของน้ำที่ไม่สามารถลดลงได้ และ ความสามารถในการซึมผ่านสัมพัทธ์ของน้ำมันที่จุดสุดท้าย ได้ถูกประเมินในลำดับต่อมา ประสิทธิภาพของกลยุทธ์การฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวได้ถูกประเมินบนพื้นฐานของปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวแบบก้อนมวลสารสองก้อนให้ผลของปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้มากกว่าการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวแบบก้อนมวลสารเดียวเนื่องจากได้ผลประโยชน์จากการสังเวยสารลดแรงตึงผิวบางส่วนต่อการดูดซับและการคายตัวของสารลดแรงตึงผิวในภายหลัง การเลือกรูปแบบของวิธีการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวแบบก้อนมวลสารสองก้อนขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวแบบก้อนมวลสารเดียวอ้างอิงที่ถูกนำมาดัดแปลงแก้ไข ในขณะที่การเลือกระดับความต่างของความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวระหว่างสองก้อนมวลสารจะขึ้นอยู่กับการจัดวางอัตราส่วนมวลสารของสารลดแรงตึงผิว การดัดแปลงแก้ไขการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวแบบก้อนมวลสารสองก้อนเป็นก้อนมวลสารสามก้อนไม่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ในการศึกษานี้ อย่างไรก็ดีปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ยังมากกว่าการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวแบบก้อนมวลสารเดียว ตัวแปรเชิงปฎิบัติการมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมันดังนี้ ความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวมีผลกระทบเล็กน้อยต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ แต่ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำมันสุทธิที่ผลิตได้ ปริมาณน้ำมันสุทธิที่ผลิตได้และอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการฉีดอัดมาก เวลาในการเริ่มการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวไม่แสดงผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันสุทธิที่ผลิตได้เพียงแค่การเริ่มการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวที่สัดส่วนการผลิตน้ำสูงจะเลื่อนการผลิตออกไปในภาพรวม ในส่วนของผลกระทบของคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บ การเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการซึมผ่านสัมพัทธ์ของน้ำมันที่จุดสุดท้าย มีความอ่อนไหวต่อประสิทธิภาพของการฉีดอัดสารลดแรงตึงผิวมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนเปลงของสัดส่วนของน้ำที่ไม่สามารถลดลงได้
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petroleum Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50991
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.237
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5771225621.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.