Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50996
Title: การจำลองซีเอฟดีของฟลูอิไดซ์เบดแก๊ส-ของแข็งสำหรับอนุภาคผสม
Other Titles: CFD simulation of gas-solid fluidized bed for mixed particles
Authors: ธเนศพล ตั้งพัฒนธนา
Advisors: เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ
พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Benjapon.C@Chula.ac.th,benjapon.c@chula.ac.th
Pornpote.P@Chula.ac.th,ppb2111@gmail.com
Subjects: เครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์
เครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์ -- พลศาสตร์ของไหล
Fluidized reactors
Fluidized reactors -- Fluid dynamic
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฟลูอิไดซ์เบดแบบแก๊ส-ของแข็งเป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องปฏิกรณ์ซึ่งถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลายในอุตสาหกรรม เนื่องจากข้อดีของการมีพื้นที่ผิวสัมผัสกันระหว่างแก๊ส-ของแข็งที่สูง ส่งผลให้เกิดการถ่ายเทมวลสารและความร้อนได้ดี ในงานวิจัยนี้ศึกษาระบบฟลูอิไดซ์เบดสำหรับของผสมอนุภาคของแข็ง (Mixed particles) ในระบบสองมิติ และหาแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณที่เหมาะสมสำหรับระบบดังกล่าว รวมทั้งวิเคราะห์ผลของตัวแปรดำเนินการที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนความร้อนของระบบด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) นอกจากนี้ ทำการเปรียบเทียบตัวแปรตอบสนองที่บอกถึงการผสม ประกอบด้วย สัมประสิทธิ์การกระจายตัวในแนวรัศมี สัมประสิทธิ์การกระจายตัวในแนวแกน อุณหภูมิแกรนูลล่าร์ และดัชนีการผสม จากผลการศึกษา พบว่า แบบจำลอง EMMS นั้นให้ผลที่สอดคล้องและใกล้เคียงกับผลการทดลองจริงมากที่สุด สำหรับผลของตัวแปรดำเนินการต่อระบบอนุภาคผสมระหว่างถ่านหินและทราย พบว่า ความเร็วแก๊สป้อนเข้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถ่านหิน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทราย และปริมาณทรายเริ่มต้น เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนความร้อนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาถึง อุทกพลศาสตร์ที่เปลี่ยนไปเมื่อทำการเติมฝุ่นถ่านหินเข้าสู่ระบบ พบว่า การเติมฝุ่นถ่านหินจะทำให้ระบบเกิดฟลูอิไดเซชันมากขึ้น และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกับปริมาณฝุ่นถ่านหินนั้นจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการถ่ายโอนความร้อนของระบบ สำหรับการเปรียบเทียบตัวแปรตอบสนองต่อการผสม เป็นการเปรียบเทียบบนสมมติฐานที่ว่า การผสมที่ดีย่อมส่งผลทำให้เกิดการถ่ายโอนความร้อนที่ดี จากผลการเปรียบเทียบ พบว่า อุณหภูมิแกรนูลล่าร์ ให้แนวโน้มที่ใกล้เคียงกับค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนความร้อนมากที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่า ค่าอุณหภูมิแกรนูลล่าร์ นั้นมีความเหมาะสมที่สุดจากการเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของค่าอุณหภูมิแกรนูลล่าร์กับค่าสัมประสิทธ์การถ่ายโอนความร้อนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างง่ายเท่านั้น กล่าวคือ ถ้ารู้แนวโน้มของอุณหภูมิแกรนูลล่าร์ จะสามารถทำนายค่าสัมประสิทธ์การถ่ายโอนความร้อนได้ในเบื้องต้น
Other Abstract: Gas-solid fluidized beds have widely used in various industrial applications due to many advantages of the technology such as excellent gas-solid particle contacting, which then has a good effect on mass and heat transfers. The purposes of this study were to investigate a CFD model for mixed particles in a two-dimensional fluidized bed system and analyze the effect of operating parameters on heat transfer in the system by using ANOVA. In addition, the mixing parameters including radial-dispersion coefficient, axial-dispersion coefficient, granular temperature and mixing index were compared. The results showed that EMMS model was relatively consistent with the experiment than the other models. The effect of operating parameters on mixing between coal and sand showed that inlet gas velocity, sand diameter, coal diameter and initial sand height were statistically significant on heat transfer coefficient. Furthermore, the effect of adding coal dust into system on the hydrodynamics was studied. The fluidization behavior was higher when coal dust was added. Both coal dust diameter and inventory were statistically significant to heat transfer. A comparison of mixing parameters, based on the assumption that good heat transfer is resulting from good mixing, showed that granular temperature gave relatively similar trend to heat transfer more than the other parameters. However, the relation between granular temperature and heat transfer is just a basic relationship. In other word, if granular temperature trend is known, the heat transfer trend is predicted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50996
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.867
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.867
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772011823.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.