Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51006
Title: การวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยของบัณฑิตจบใหม่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Personal financial planning for housing of Chulalongkorn University new graduates
Authors: พิจิตรา ก้องกิตติงาม
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussara.S@Chula.ac.th,sara_sripanich@yahoo.com
Subjects: การเงินส่วนบุคคล
อสังหาริมทรัพย์
Finance, Personal
Real property
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ทำการตลาดเจาะกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่หลังพบว่าเป็นตลาดที่มีความต้องการสูง และมีพฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนไปจากในอดีต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และที่อยู่อาศัยในปัจจุบันของบัณฑิตจบใหม่ รวมถึงแนวคิดการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยและการวางแผนทางการเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบัณฑิตจบใหม่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาและปัจจุบันอาศัยอยู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในบ้านเดี่ยว มีสถานะเป็นผู้อาศัย มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ยังไม่มีหนี้สิน และมีรายได้รวมเฉลี่ยอยู่ที่ 25,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่มีการออมเงินเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ขณะที่การออมเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นวัตถุประสงค์ลำดับที่สาม ทั้งนี้ เมื่อแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็น 4 กลุ่มตามลักษณะการถือครอบที่อยู่อาศัยคือกลุ่มเจ้าของ กลุ่มผู้เช่า กลุ่มผู้อาศัย และกลุ่มผู้อาศัยสวัสดิการ พบว่ากลุ่มผู้เช่า และผู้อาศัยบ้านพักสวัสดิการส่วนใหญ่มีภูมิลำเนามาจากจังหวัดอื่นๆ และปัจจุบันอาศัยในห้องแบ่งเช่า และคอนโดมิเนียมตามลำดับ ทั้งนี้ร้อยละ 82 มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยก่อนรถยนต์ 2) บัณฑิตจบใหม่มีการวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ร้อยละ 65 มีแนวคิดในการวางแผนที่อยู่อาศัยในอนาคต มีความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินระดับปานกลาง ขั้นที่ 2 ร้อยละ 56 มีรายได้และอาชีพที่มั่นคง ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน มีลักษณะงานเป็นพนักงานธุรการ/เลขานุการ/ติดต่อประสานงาน และวิศวกร ขั้นที่ 3 ร้อยละ 54 เป็นผู้ที่ลงมือออมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ฝากออมทรัพย์กับสถาบันการเงิน ขณะที่กลุ่มผู้เช่าและผู้อาศัยบ้านพักสวัสดิการใช้การฝากประจำหรือออมทรัพย์พิเศษ ทั้งนี้กลุ่มที่มีสัดส่วนการออมเพื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุดคือกลุ่มผู้อาศัย รองลงมาคือกลุ่มผู้เช่า สำหรับขั้นที่ 4 มีการวางแผนเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยร้อยละ 28.7 วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปนับจากปัจจุบัน ขณะที่ร้อยละ 25.3 วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยไม่เกิน 5 ปีนับจากปัจจุบัน เน้นคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้งานวิจัยนี้ไม่ครอบคลุมถึงการวางแผนขั้นที่ 5 เนื่องจากเป็นขั้นตอนของการซื้อที่อยู่อาศัย เมื่อพิจารณาจากจำนวนเงินออมเพื่อที่อยู่อาศัย ระยะเวลาที่คาดว่าจะซื้อ และอุปทานที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้เช่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด 3) ความสม่ำเสมอของรายได้(อาชีพ) ระดับรายจ่าย และระดับความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อการวางแผนทางการเงิน โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนเงินออมเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง การสร้างแรงจูงใจของภาครัฐและเอกชนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นการออม ส่วนอุปสรรคคือการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากลุ่มบัณฑิตจบใหม่เกินกว่าครึ่งเริ่มมีการวางแผนและเริ่มลงมือออมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยในอนาคตแล้ว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายทั้งจากภาครัฐ สถาบันการเงินในการส่งเสริม และให้ความรู้ในการวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้ประกอบการในการเตรียมอุปทานที่อยู่อาศัยให้สอดรับกับอุปสงค์ในอนาคต
Other Abstract: Currently, real estate developers are beginning to focus on the new Generation Y workers after finding they are in the high demand market and their buying behavior has changed from the past. This research aims to study the socioeconomic and current housing background of the new graduates, including their ideas for future home planning and the process of personal financial planning for housing together with the factors encouraging and obstructing against the financial planning for housing. The study was conducted by gathering questionnaires from 400 recent graduates from Chulalongkorn University Class of 2014. The findings revealed the following: 1) Most of the new graduates are originally from the Bangkok area and currently live in a detached house in the Bangkok area. They are private company employees with no debt and their average income is around 25,000 baht per month. Most of them have savings for emergency spending while saving for housing is in third place of their saving purposes. New Graduates’ housing tenure can be grouped into 4 categories: host, renter, resident and housing welfare resident. Renters and housing welfare residents are originally from provincial areas and currently live in apartments and condominiums, respectively. 82% of them want to buy a home before a car. 2) The new graduates have personal financial planning for housing in five processes; Stage 1, 65% had ideas of future home planning. Their knowledge of financial planning for housing were fair. Stage 2, 56% had a steady income and occupation. Most of them were administrative officers/secretaries/ coordinators and engineers. Stage 3, 54% had financial savings for housing. While most of them had savings accounts with financial institutions, renters and housing welfare residents had fixed accounts or special savings accounts. The group with the highest saving for the housing ratio were residents, followed by renters. Stage 4 could be divided into 2 groups, while 28.7% planned to buy homes after 5 years from the present, 25.3% planned to buy home a within the next 5 years. A condominium near the BTS/MRT was the most desired type of residence. However, this study did not include stage 5 of financial planning for housing because it was the stage of buying a home. In considering the amount of housing savings, the expected year to buy a home in the current housing supply in market, the renter was the most potential housing buyer. 3) Steady income, expenditure and knowledge of financial planning for housing were the critical factors to personal financial planning for housing, especially savings for the housing ratio. Moreover, high interest rates and savings motivational strategies by public and private financial institutions were factors that encouraged the saving for home buying. Conversely, lavish spending was the obstruction. The results in this study indicated that more than a half of the new graduates had done some planning and acquired savings for their future house buying. In addition, they appreciated public and private sector policy support. This study would be advantageous for the public sector in order to develop the housing policy, and for financial institutions to support and educate about financial planning for housing and real estate developers to prepare housing supply to meet the needs of future demand.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51006
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.526
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.526
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773326725.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.