Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51030
Title: แนวทางการพัฒนาและการบริหารพื้นที่โครงการที่ใช้ประโยชน์แบบผสม: กรณีศึกษา เทอมินอล 21 และเดอะแพลทินัม (ส่วนขยาย)
Other Titles: PROJECT DEVELOPMENT AND ADMINISTRATION GUILDELINES FOR MIXED-USE PROJECTS: A CASE STUDY OF TERMINAL 21 AND PLATINUM FASHION MALLS (EXTENSION)
Authors: อาศยา จรูญธรรม
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมูลค่าที่ดินในแนวรถไฟฟ้ามีราคาสูงขึ้น จึงมีการพัฒนาอาคารสูงในรูปแบบโครงการที่ใช้ประโยชน์แบบผสม เพื่อให้คุ้มค่ากับราคาที่ดิน โดยเป็นลักษณะอาคารสูงที่ใช้ประโยชน์ในอาคารมากกว่าหนึ่งกิจกรรม โดยมุ่งเน้นศึกษาโครงการที่ทำสองกิจกรรมร่วมกัน คือ โรงแรม และร้านค้า เนื่องจากเป็นพื้นที่กิจกรรมที่ต้องใช้งานทุกวัน และ ผู้ใช้งานในโครงการมีจำนวนมาก ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ที่เกื้อหนุนหรือขัดแย้งกัน จึงนำไปสู่คำถามวิจัยที่ว่า กระบวนการพัฒนาอาคาร และ แนวคิดการออกแบบและการใช้งานสอดคล้องกันหรือไม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการใช้พื้นที่ในอาคารให้สอดคล้องกับรูปแบบอาคารใช้ประโยชน์แบบผสม รวมถึงการบริหารและการตลาด เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการดังกล่าว โดยใช้กรณีศึกษา โครงการเทอมินอล 21 และ โครงการเดอะแพลทินัม ส่วนขยาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้พัฒนาโครงการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้ออกแบบโครงการ ประกอบกับศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาแนวคิดการพัฒนาทั้งสองโครงการพบว่า เริ่มจากการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับธุรกิจร้านค้า แต่พื้นที่ร้านค้ามีข้อจำกัดทางการตลาด คือผู้บริโภคไม่นิยมเดินขึ้นชั้นบน จึงเกิดการพัฒนาธุรกิจที่สองในอาคารเดียวกัน เพื่อสอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองรวมของที่ดิน ที่สามารถสร้างพื้นที่อาคารรวมได้สิบต่อหนึ่ง โดยเลือกเป็นธุรกิจโรงแรม เนื่องจากผลตอบแทนดีต่อการลงทุน ด้านการบริหารแยกเป็นสองส่วนสัมพันธ์กับช่วงเวลาเปิดปิดของทั้งสองธุรกิจ และด้านการตลาดแตกต่างกันตามกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากศูนย์การค้าเทอมินอล 21 เน้นศูนย์อาหารเป็นหลักและร้านค้าย่อยเพื่อตอบสนองผู้ซื้อขั้นสุดท้าย คือ คนทำงาน คนทั่วไป และนักท่องเที่ยว ส่วนศูนย์การค้าแพลทินัม ส่วนขยายเป็นศูนย์ขายของส่งตอบสนองผู้ค้าปลีก และนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งโรงแรมทั้งสองมีกลุ่มเป้าหมายหลักเหมือนกันคือนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจชาวเอเชีย จากการประเมินแบบสอบถามผู้ใช้บริการโรงแรมทั้งสองโครงการพบว่าอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด ส่วนปัญหาที่พบแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งาน เช่น ปัญหาที่พบของโครงการแรกคือ ห้องทิ้งขยะอยู่รวมกันจึงทำให้ยากต่อการจัดการ ส่วนโครงการที่สองพบว่าพื้นที่จอดรถส่งของและที่จอดรถทัวร์ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ จึงควรปรับปรุงเพื่อการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้น สรุปผลการศึกษา ธุรกิจทั้งสองมีความเกื้อหนุนและเป็นจุดขายซึ่งกันและกัน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการออกแบบและการบริหารเพื่อให้สอดคล้องต่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง และตอบสนองต่อการใช้งานของแต่ละกิจกรรมในอาคาร ในแง่การบริหารการจัดการควรแบ่งเวลาการทำงานให้สอดคล้อง เพื่อง่ายต่อการซ่อมแซมปรับปรุงอาคาร
Other Abstract: Land values along the sky train (BTS) routes in Bangkok, Thailand tend to be higher than those farther from the lines. As a result, real estate developers are interested in building mixed-use projects near the BTS lines for maximum investment value. Mixed-use projects integrate two types of facilities in their design: hotels and shops. As these buildings accommodate a large number of occupants they entail reciprocal benefits as well as conflicts, leading to the research question, “Does the building development and design serve its purposes?”. This qualitative research aimed to study mixed-use developments, including their management and marketing, to provide guidelines for project developers. A case study of Terminal 21 and Platinum malls was conducted in Bangkok. The study used interviews with project developers, the staff involved as well as the project architects to gather data. Concepts of mixed-use architecture were also used in the data analysis. The research found that projects started by analyzing a location suitable for shops. The Principle City Plan states that the Floor Area Ratio (FAR) is 10:1 which allows developers to design buildings with ten times the functional area to the land size. Thus, developers can increase their value per land area by expanding vertically which led to the second type of business (hotel) in the same building above commercial floors. . Due to such regulations, developers have concluded that a hotel business is ideal as it allows high returns on investment. Project management has two aspects to correspond to the different hours of operation of the two businesses to address the different target client groups. Terminal 21 focuses on food center businesses (restaurants) and retail shops to serve working people, the general public and tourists. In addition, Platinum serves as a wholesale center for retailers and tourists although the hotels in both projects serve the same target customers: tourists and business travelers. The customers of both hotels are satisfied with the hotel service at the highest level according to the questionnaires conducted. However, a few problems were found; for example, difficulty in management of waste areas in Terminal 21 and insufficient parking space for delivery trucks and tour buses, both of which need to be solved for more convenience to hotel users. To conclude, the two businesses are mutually beneficial and strengthen one another’s selling points. For maximum benefit of mixed-use projects, architectural design and management must keep the interests of target customers in mind thus corresponding to both businesses in the same building. In addition, building management should be well organized to minimize inconvenience to customers of future hotel and mall renovations.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51030
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773589425.pdf7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.