Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51034
Title: ความคุ้มค่าของการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาสูตรที่ 2 ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์สิโนมาระยะลุกลาม
Other Titles: Cost effective analysis of EGFR mutation testing before initiation of second line therapy in advanced adenocarcinoma of lung
Authors: ธนาวดี สิริธนดีพันธ์
Advisors: สืบพงศ์ ธนสารวิมล
ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Suebpong.T@chula.ac.th,surbpong@yahoo.com,surbpong@yahoo.com
Piya.H@Chula.ac.th,piya@post.harvard.edu
Subjects: ปอด -- มะเร็ง -- การรักษา
ปอด -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา
ต้นทุนและประสิทธิผล
Lungs -- Cancer -- Treatment
Lungs -- Cancer -- Chemotherapy
Cost effectiveness
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: การกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์บนผิวเซลล์มะเร็งปอดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์ทีเคไอ ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่ไม่มีการกลายพันธุ์จะตอบสนองต่อยาทีเคไอไม่ดีเท่าผู้ที่มีการกลายพันธุ์ ปัจจุบันกรมบัญชีกลางกำหนดให้สามารถเบิกจ่ายค่ายาอีจีเอฟอาร์ทีเคไอได้ (ประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน) เมื่อใช้เป็นการรักษาสูตรที่สองเป็นต้นไปโดยไม่ต้องตรวจอีจีเอฟอาร์ วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่ผ่านการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรมารตฐานเป็นสูตรแรกในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 และแบ่งข้อมูลผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับการตรวจ (กลุ่ม ก) กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจอีจีเอฟอาร์ (กลุ่ม ข) ก่อนเริ่มการรักษาสูตรที่สอง เก็บข้อมูลระยะปลอดการลุกลามของโรคคือช่วงเวลาตั้งแต่รับการรักษาสูตรที่สอง (ยาอีจีเอฟอาร์ทีเคไอหรือเคมีบำบัด) จนกระทั่งโรคลุกลามภายหลังยาสูตรที่สองหรือสูตรที่สาม (เคมีบำบัดหรือยาอีจีเอฟอาร์ทีเคไอ) ยกเว้นกลุ่ม ก ที่อีจีเอฟอาร์ไม่มีการกลายพันธุ์จะนับระยะปลอดโรคแค่ช่วงของการได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่สองเท่านั้น วัดผลโดยเปรียบเทียบระยะปลอดการลุกลามของโรคที่ปรับเป็นปีที่มีคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงคำนวณออกมาเป็นอัตราส่วนความแตกต่างของค่าใช้จ่ายต่อความแตกต่างของปีที่มีคุณภาพชีวิต โดยกำหนดให้อัตราส่วนที่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อรายถือว่ามีความคุ้มค่า (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อรายมีค่า 5,977.4 ดอลล่าสหรัฐ) ผลการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย 185 ราย ได้รับการตรวจการกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์ 95 ราย (ร้อยละ 51) กลุ่ม ก มีค่ามัธยฐานระยะปลอดการลุกลามของโรคนานกว่ากลุ่ม ข อย่างมีนัยสำคัญ (14.9 และ 9.57 เดือนตามลำดับ p 0.008) ปีที่มีคุณภาพชีวิตคิดเป็น 0.87 และ 0.58 ในกลุ่ม ก และ ข ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในกลุ่ม ก และ ข มีค่า 735,563.50 และ 724,720.30 บาท อัตราส่วนความแตกต่างของค่าใช้จ่ายต่อความแตกต่างของปีที่มีคุณภาพชีวิตได้ 37,390.34 บาท/ 1 ปีคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น สรุปผล: การตรวจการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ก่อนเริ่มการรักษาสูตรที่สองในผู้ป่วยมะร็งปอดระยะลุกลามทำให้มีระยะปลอดการลุกลามของโรคนานขึ้นและมีความคุ้มค่า
Other Abstract: Background: EGFR mutation is the most important predictive factor for EGFR TKI in advanced NSCLC. Patients who EGFR mutant should received EGFR TKI either in first or later line of treatments. In Thailand, EGFR TKI is reimbursable only for later line of treatments and requires pre-approval before prescription. EGFR mutation test is not required for pre-approval process. Method: This study was a cost-effective analysis of EGFR mutation test before second-line therapy in patients with advanced NSCLC after a platinum based chemotherapy (CMT) in Thailand. The model included two strategies, the 'EGFR-testing strategy' (strategy A) and the “no-EGFR-testing strategy” (strategy B). In strategy A, patients with EGFR mutation would received EGFR TKI either as a second or third line therapy, and those with wild-type EGFR received only CMT. In strategy B, patients would receive EGFR TKI as a second or third-line therapy. Only one CMT regimen either as a second or third-line therapy was included the model. Quality-Adjust lift year (QALY) was the effective outcome. Actual direct medical cost were used in the analysis. Medical records and medical cost were reviewed during 2010-2015. The cost and QALY of two strategies were compared by decision-tree model analysis and calculated Incremental Cost-Effective Ratio (ICER). The current GDP per capita of Thai population is 5977.4 USD, the definition of cost-effective was ICER that less than 3 times. Results: Of total 185 patients with advanced NSCLC previously treated with platinum based regimen, 51% (95/185) were tested for EGFR mutation before started second line therapy. EGFR mutation was detected in 62% (59/95).62.1% and 81.1% of patients received EGFR TKI in strategy A and strategy B, respectively. Median PFS were 14.9 and 9.57 months in strategy A and B, respectively (p 0.008). QALY were 0.87 and 0.58 in strategy A and B, The average total cost was 21,011 and 20,706 USD /person in strategy A and B, respectively. Given the ICER 1,052 USD/1 year QALY gained. Median OS were 18.23 months in strategy A and 11.93 months in strategy B (p 0.03) Conclusion: Our cost-effectiveness analysis suggested that EGFR mutation test before second-line therapy in Thai patients with advanced NSCLC was cost effective.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51034
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.698
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.698
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774034630.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.