Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51057
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | en_US |
dc.contributor.author | ชุติมา ชุมพงศ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:09:51Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T02:09:51Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51057 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา แรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จในการเรียน จำแนกตามภูมิหลังของนิสิตนักศึกษา 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษาที่มีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และ 3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของตัวแปรแรงจูงใจในการเรียนของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปี 1 ถึงปีสุดท้ายของแต่ละคณะ ของมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 759 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตนักศึกษามีระดับการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา และแรงจูงใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก (mean = 4.110, 3.748, 3.602 ตามลำดับ) และมีความสำเร็จในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.426) เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนิสิตนักศึกษา แรงจูงใจในการเรียน และความสำเร็จในการเรียน จำแนกตามภูมิหลังของนิสิตนักศึกษา ประกอบด้วย เพศ ชั้นปี ศาสตร์การศึกษา และสังกัดของมหาวิทยาลัยของนิสิตนักศึกษา พบว่า (1.1) นิสิตนักศึกษาเพศชายและนิสิตนักศึกษาเพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณลักษณะ ของอาจารย์ที่ปรึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา แรงจูงใจในการเรียน และความสำเร็จในการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (1.2) นิสิตนักศึกษาในแต่ละชั้นปีมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา และแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความสำเร็จในการเรียน ไม่แตกต่างกัน (1.3) นิสิตนักศึกษาในแต่ละศาสตร์การศึกษา มีการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา และความสำเร็จในการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่แรงจูงใจในการเรียนไม่แตกต่างกัน (1.4) นิสิตนักศึกษาในแต่ละสังกัดของมหาวิทยาลัยมีการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาและแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา และความสำเร็จในการเรียนไม่แตกต่างกัน 2. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษาที่มีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่านที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 28.04, df = 21, p-value = 0.139, GFI = 0.993, AGFI = 0.981, RMR = 0.007, RMSEA = 0.021) โดยปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา คือ การรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ ที่ปรึกษา มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.863 นอกจากนี้ผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษามีอิทธิพลทางตรง ต่อแรงจูงใจในการเรียน เท่ากับ 0.559 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสำเร็จในการเรียนโดยผ่านแรงจูงใจในการเรียน เท่ากับ 0.519 ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการเรียน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา และแรงจูงใจในการเรียน ได้ร้อยละ 97.6, 77.5 และ 18.4 ตามลำดับ 3. ตัวแปรแรงจูงใจในการเรียนมีบทบาทการส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) จากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษาไปยังความสำเร็จในการเรียน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study and compare levels of recognition of characteristics of advisors, undergraduate student-advisor interaction, academic motivation, and success in learning among undergraduate students whose backgrounds were different; 2) to develop and examine goodness of fit of a cause and effect model of undergraduate student-advisor interaction with academic motivation as a mediator; and 3) to analyze a role of academic motivation as a mediator of a cause and effect model of undergraduate student-advisor interaction. The research sample consisted of 759 undergraduate students from universities in Bangkok and its surrounding suburbs in the academic year 2015 selected by multi-stage random sampling method. Data were collected through a survey questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation by SPSS and Structural Equation Modeling analysis by LISREL. The results revealed that: 1. Undergraduate students had a high level of recognition of characteristics of advisors, undergraduate student-advisor interaction and academic motivation (mean = 4.110, 3.748, 3.602, respectively), and had a moderate level of success in learning (mean = 3.426). The results of the analysis on the difference of recognition of characteristics of advisors, undergraduate student-advisor interaction, academic motivation and success in learning by genders, levels of years, fields of study, and types of universities were found that (1.1) male and female undergraduate students had no difference in recognition of characteristics of advisors, undergraduate student-advisor interaction, academic motivation and success in learning at 0.05 level of significance. (1.2) All of undergraduate students had different recognition of characteristics of advisors, undergraduate student-advisor interaction, and academic motivation at 0.05 level of significance, but had no difference in success in learning. (1.3) Undergraduate students in each field of study had different recognition of characteristics of advisors, undergraduate student-advisor interaction and success in learning at 0.05 level of significance, but had no difference in academic motivation. (1.4) Undergraduate students in each university had different levels of recognition of characteristics of advisors and academic motivation at 0.05 level of significance, but had no difference in undergraduate student-advisor interaction and success in learning. 2. The cause and effect model of undergraduate student-advisor interaction with academic motivation as the mediator fit the empirical data (Chi-Square = 28.04, df = 21, p-value = 0.139, GFI = 0.993, AGFI = 0.981, RMR = 0.007, RMSEA = 0.021). The factor affected undergraduate student-advisor interaction was recognition of characteristics of advisors with a direct effect of 0.863. Additionally, the results of undergraduate student-advisor interaction had a direct effect on academic motivation, and an indirect effect on success in learning via academic motivation (direct effect = 0.559, indirect effect = 0.519) with a statistically significant level of 0.05. The variables in the model explained the variance of 97.6%, 77.5% and 18.4% of success in learning, undergraduate student-advisor interaction, and academic motivation respectively. 3. The role of academic motivation as a mediator in this model was a full mediation from undergraduate student-advisor interaction to success in learning. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน | en_US |
dc.title.alternative | A CAUSE AND EFFECT MODEL OF UNDERGRADUATE STUDENT-ADVISOR INTERACTION WITH ACADEMIC MOTIVATION AS A MEDIATOR | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannee.K@Chula.ac.th,Wannee.K@gmail.com | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783317727.pdf | 5.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.