Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51065
Title: | รูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชนในรายวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
Other Titles: | Teaching models using community - based learning in local products design course for undergraduate students |
Authors: | ปิยะทิพย์ สุริยันต์ |
Advisors: | อินทิรา พรมพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Intira.P@Chula.ac.th,Intira.p@gmail.com,intira.p@chula.ac.th |
Subjects: | การออกแบบผลิตภัณฑ์ -- การศึกษาและการสอน การสอน -- วิธีวิทยา นักศึกษาปริญญาตรี Product design -- Study and teaching Teaching -- Methodology Undergraduates |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชน ในรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชน ในรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิธีการดำเนินวิจัย ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) ลงพื้นที่สังเกตการสอน 3) วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบ 4) สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้นำชุมชนที่มีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสอน 4) ผู้เรียนในรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกภาคสนาม สำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แสดงความคิดเห็นและรับรองตรวจสอบรูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชนในรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ผลการศึกษารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชน พบว่า สามารถแบ่งรูปแบบการสอน ได้ดังนี้ 1) จำแนกตามบริบทของชุมชนคือ ชุมชนเมือง และชุมชนชนบท 2) จำแนกตามระยะเวลา ซึ่งประกอบไปด้วย ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 3) สถานที่ตั้งของสถานศึกษา ได้แก่ มหาวิยาลัยในเมืองกรุงเทพและปริมณฑล และมหาวิทยาลัยประจำจังหวัด 4) จำแนกตามลักษณะการร่วมมือกับชุมชน ได้แก่ การร่วมมือกันเฉพาะองค์ความรู้กับการร่วมมือกันทั้งองค์ความรู้และการออกแบบร่วมกับชุมชน ผลการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชน มี 6 องค์ประกอบได้แก่ ชุมชน นักศึกษา อาจารย์ เนื้อหา การออกแบบ การสร้างชิ้นงาน และมี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นลงชุมชน 3) ขั้นออกแบบ 4) ขั้นสร้างชิ้นงาน และ 5) ขั้นประเมินผล |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) study teaching model using community-based learning in local product design course 2) develop the teaching model using community-based learning in local product design course. The methodology of this research comprised with 4 main parts: Purposive sampling is applied with 4 groups of sample, including; 1) teaching specialists in Local product design 2) designer specialises in community product design 3) community leaders and 4) students in local product design course. This research uses questionnaire, observation form and field record as tool for data collecting. For the development of teaching model using community-based learning, three experts in teaching of product design have commented and improved the teaching model using community-based learning in local product design course. The study teaching model based on the concept of learning communities that can break the pattern of teaching that: 1) By the context of the community's urban and rural communities, 2) By period. Which consisted of short, medium and long term 3) The location of the school, including University in Bangkok and its vicinity. Universities and provincial 4) By partnership with the community, including collaboration with specialized knowledge, collaboration and knowledge sharing and design community. The development of a model taught by the learning base community has six elements, including community college students, faculty, content, design, create, and has five steps: 1) preparation, 2) the community, 3) Design 4). to create jobs, and 5) evaluation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51065 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1109 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1109 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783402327.pdf | 4.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.