Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51089
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธาตรี ใต้ฟ้าพูลen_US
dc.contributor.authorถวัลรัตน์ กัลชาญกิจen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:10:28Z
dc.date.available2016-12-02T02:10:28Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51089
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1) ลักษณะบุคลิกภาพ ความเชื่อโชคลาง และพฤติกรรมการซื้อสินค้า 2) ความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพ ความเชื่อโชคลาง และพฤติกรรมการซื้อสินค้า (ปัจจัยทางการตลาดและการสื่อสาร) 3) ความแตกต่างของการเปิดรับสื่อ ความเชื่อโชคลาง และพฤติกรรมการซื้อสินค้า (ปัจจัยทางการตลาดและการสื่อสาร) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research method) แบบวัดผลเพียงครั้งเดียว (One – shot descriptive study) ด้วยเครื่องมือการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อและสวมใส่หรือเคยสวมใส่เครื่องประดับหินสีมงคลอายุตั้งแต่ 18 ปีที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษานี้ใช้ลักษณะบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบของ McCrae และ Costa ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สวมใส่เครื่องประดับหินสีมงคลส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพการแสดงตัว (Extraversion) และรองลงมา ได้แก่ บุคลิกภาพการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ (Conscientiousness) ส่วนความเชื่อโชคลางในเครื่องประดับหินสี พบว่า ด้านการทำงานหรือการศึกษาเป็นความเชื่อที่กลุ่มให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรัก ด้านครอบครัว และด้านสุขภาพ ตามลำดับ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สวมใส่สร้อยข้อมือและกำไลหิน โดยให้ความสำคัญกับรูปแบบและความสวยงาม (ลักษณะรูปทรง หรือสี) และราคาสินค้าที่ซื้อมักจะไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนสถานที่ที่ซื้อส่วนใหญ่มักซื้อจากร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ในการศึกษานี้พบว่า บุคลิกภาพของผู้บริโภค อันได้แก่ บุคลิกภาพการแสดงตัว (Extraversion), บุคลิกภาพความอ่อนไหว (Neuroticism) และบุคลิกภาพการเข้ากับผู้อื่นได้ดี (Agreeableness) มีความสัมพันธ์กับความเชื่อโชคลางในเครื่องประดับหินสี โดยเฉพาะบุคลิกภาพความอ่อนไหว (Neuroticism) มีความสัมพันธ์กับความเชื่อโชคลางทุกด้าน อันได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการทำงานหรือการศึกษา ด้านครอบครัว และด้านความรัก และยังพบว่า บุคลิกภาพของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้า อีกทั้ง ความเชื่อโชคลางทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเช่นกัน ยกเว้น ประเด็นราคาสินค้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อโชคลางในด้านใดเลย นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สวมใส่เครื่องประดับหินสีมงคลที่เปิดรับสื่อแตกต่างกันมีความเชื่อโชคลางด้านสุขภาพและด้านครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ รวมถึงมีการเปิดรับสื่อแตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ ในประเด็นอันได้แก่ ราคาของสินค้า, ช่องทางในการจำหน่ายสินค้า, คำบอกเล่าของนักโหราศาสตร์ และความเหมาะสมกับดวงชะตา ราศีen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to investigate personalities, personal beliefs/ superstitions, and purchasing behavior of consumers while focusing on marketing factors and the relationships between these factors and their various impacts on purchasers of lucky stones. This qualitative research was conducted by distributing questionnaires to 400 subjects who purchase and wear lucky stone accessories. The target group is purchasers 18 years and up living in Bangkok. The participants were categorized into 5 groups based on the concepts of 5 personality traits including “Extraversion”, “Agreeableness”, “Conscientiousness”, “Neuroticism”, and “Openness”, as described by McCrae and Costa (1992). The research found that the majority of the subjects who wear lucky stone bracelets belonged to the “Extravert” personality type followed by the “Conscientious” type. It was found that participants believe that the gem stone bracelets aid in their work or education, love life, family, and health in order of influence. In addition, the major consideration for most subjects wearing bracelets and gemstones was their design and physical appearance, for instance, shape and color. Furthermore, they tend to buy accessories not over 1,000 baht in value. Finally, the most popular place to purchase gem bracelets is department stores. According to the research findings, “Extraversion”, “Neuroticism” and “Agreeableness”, are personality traits particularly related to consumers’ beliefs about the color of gem stone accessories. These were found to have an influence on purchasing behavior regardless of price. Furthermore, irrespective of personality traits, all 5 groups of subjects in the study had varying access to types of media and possessed various beliefs about health and family issues. Therefore their purchasing behavior differed significantly. Finally, the 4 main concerns of this group of purchasers of gem stones were price, purchase outlets, and predictions and descriptions of astrologers about the compatibility between gem types and signs of the zodiac.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.984-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหิน
dc.subjectเครื่องประดับ
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค
dc.subjectโชคลาง
dc.subjectความเชื่อ
dc.subjectRocks
dc.subjectConsumer behavior
dc.subjectSuperstition
dc.subjectBelief and doubt
dc.titleบุคลิกภาพผู้บริโภค ความเชื่อโชคลางและพฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับหินสีมงคลen_US
dc.title.alternativeConsumer personality, superstition, and purchasing behavior of lucky stone accessoriesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.984-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784663028.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.