Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51102
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งนภา พิตรปรีชาen_US
dc.contributor.authorรติกร ภาณุไพบูลย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:10:47Z
dc.date.available2016-12-02T02:10:47Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51102
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “การสื่อสารและความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ภาครัฐใช้ในการสร้างความรู้เกี่ยวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรี 3) สำรวจความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรี และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรีโดยใช้วิธีการวิจัย 2 วิธี คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การวิเคราะห์เอกสารที่รวบรวมจากเว็บไซต์ทางการของสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ และสภาวิชาชีพ 7 สภา ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกของนักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)ผู้วิจัยใช้แบบสำรวจ เพื่อวัดระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรี จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 100 คน โดยต้องประกอบอาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก และนักบริการด้านการท่องเที่ยว ผลการวิจัย พบว่า 1) การสื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบตามบทบาทของหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่สื่อสารเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและข่าวสารความเคลื่อนไหวของอาเซียน ส่วนสภาวิชาชีพทำหน้าที่สื่อสารเรื่องความรู้ที่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในอาเซียน การเตรียมความพร้อมและขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นนักวิชาชีพอาเซียน 2) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรีขึ้นอยู่กับอาชีพ โดยเฉพาะช่องทางการเปิดรับข่าวสารและประเภทของข่าวสาร ยกเว้นความถี่และวัตถุประสงค์ในการเปิดรับที่ไม่ขึ้นอยู่กับอาชีพ 3) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง 4) ความถี่ในการเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรีen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to study government communication that apply to educate about AEC implementation. 2) to study media exposure behaviors about AEC implementation of free flow of skilled labor. 3) to survey knowledge about AEC implementation of free flow of skilled labor. And 4) to study relationship between media exposure behaviors and knowledge level of AEC implementation of free flow of skilled labor. This study had 2 instruments: 1) Qualitative research: a documentary analysis from Foreign office, The Government Public Relations Department (PRD) and Federation of Professions website and in-depth interview with Public Relations Practitioners 2) Quantitative research: a survey research using questionnaires to collect data from 400 respondents who were Doctor, Dentist, Nurse, Engineer, Architect or Tourist Services Provider. The results of this study were: 1) government communication of AEC implementation was divided into 2 formats based on department role. Foreign office, PRD which were communication about general knowledge and updated news of AEC implementation. Federation of Professions which were communication about preparation knowledge for working in ASEAN and preparation for registration process of free flow of skilled labor 2) media exposure behaviors about AEC implementation depend on career in terms of media and news types, except frequency and media exposure objectives. 3) knowledge about AEC Implementation found that most of the respondents had AEC knowledge at moderate level. 4) There was no relationship between media exposure behaviors and knowledge level about AEC Implementation of free flow of skilled labor.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1002-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน -- การประชาสัมพันธ์
dc.subjectการเผยแพร่ข่าวสาร
dc.subjectASEAN Economic Community -- Public relations
dc.subjectPublicity
dc.titleการสื่อสารและความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของแรงงานฝีมือที่มีการไหลเวียนอย่างเสรีen_US
dc.title.alternativeCommunication and knowledge relating to AEC implementation of free flow of skilled laboren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRungnapar.P@Chula.ac.th,rungnapar.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1002-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784869028.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.