Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51125
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อศิ บุญจิตราดุลย์ | en_US |
dc.contributor.author | ภัทรพล ศุภมงคล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:11:16Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T02:11:16Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51125 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงต่อการเหนี่ยวนำการผสม และกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางการไหลของเจ็ตในกระแสลมขวางที่ไม่มีการควบคุม (JICF) และมีการควบคุม (cJICF) โดยใช้ Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) ควบคู่กับเทคนิคการใส่อนุภาคติดตามการไหล 2 ลักษณะคือ (A) การใส่อนุภาคติดตามการไหลเฉพาะในส่วนของเจ็ตเท่านั้น ไม่ใส่ในกระแสลมขวาง และ (B) การใส่อนุภาคติดตามการไหลทั้งในส่วนของเจ็ตและกระแสลมขวาง การทดลองในกรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุมทำการทดลองที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผล (r) เท่ากับ 4 ตัวเลขเรย์โนลด์ของกระแสลมขวางเท่ากับ 3,100 และกรณีควบคุมด้วยเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงที่ตำแหน่ง ±165 องศา (I165) ที่อัตราส่วนอัตราการไหลเชิงมวลของเจ็ตควบคุมต่อเจ็ตหลัก (rm) เท่ากับ 4% จากผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้เจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงที่ตำแหน่ง ±165 องศา (I165) จะช่วยส่งเสริม (promote) ให้การเหนี่ยวนำการผสมเพิ่มสูงขึ้นทุกตำแหน่งตามการไหลที่ทำการทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่า การฉีดเจ็ตควบคุมจะก่อให้เกิดโครงสร้าง Wake อย่างชัดเจนที่บริเวณด้านล่างของเจ็ต สำหรับการศึกษากลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางการไหลของเจ็ตในกระแสลมขวางที่ไม่มีการควบคุม พบว่าสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ขั้นดังนี้ 1) โครงสร้าง Counter-rotating vortex pair (CVP) ของเจ็ตเป็นโครงสร้างหลักของกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางของเจ็ตในกระแสลมขวาง โดยโครงสร้าง CVP ของเจ็ตจะเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธิ์บริเวณด้านข้างของเจ็ตให้มีการเคลื่อนที่หมุนวนลงมาที่ขอบเจ็ตด้านล่าง 2) โครงสร้าง CVP ของเจ็ตจะเหนี่ยวนำให้เกิดช่องการไหลลู่เข้า-ออกขึ้นในแนวดิ่ง (converging-diverging vertical channel of high upward flow) ซึ่งจะมีอัตราการเหนี่ยวนำการผสมสูงที่บริเวณที่มีการไหลลู่เข้า 3) โครงสร้างรูปไต (Kidney-shaped structure) จะเหนี่ยวนำส่วนผสมของเจ็ตที่ผสมแล้วจากบริเวณช่องการไหลลู่ออกเข้าไปผสมกับตัวเจ็ตเอง คล้ายกับการเหนี่ยวนำการผสมของเจ็ตอิสระ (Free jets) เมื่อฉีดเจ็ตควบคุมที่ตำแหน่ง I165 พบว่า กลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางยังคงคล้ายกับกรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุม อย่างไรก็ตามเนื่องจากการมีอยู่ของโครงสร้าง Wake ทำให้พื้นที่การเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ็ตและกระแสลมขวางมีมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเมื่อฉีดเจ็ตควบคุมมากกว่ากรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุม นอกจากนี้ยังทำการทดลองในระนาบสมมาตรการไหลเพื่อศึกษาหากลไกการเหนี่ยวนำการผสมอื่นในเบื้องต้น พบว่า บริเวณขอบเจ็ตด้านหน้า (Windward) โครงสร้าง Spanwise roller ของเจ็ตจะเป็นอีกกลไกการเหนี่ยวนำการผสมหนึ่งซึ่งพบได้ในระนาบสมมาตร นอกจากนั้นยังพบว่ามีเพียงความเร็วของกระแสลมขวางบริสุทธิ์ในแนวแกน Streamwise เท่านั้นที่ก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำการผสม เมื่อฉีดเจ็ตควบคุมที่ตำแหน่ง I165 พบว่า บริเวณขอบเจ็ตด้านหน้า (Windward) กลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบสมมาตรยังคงคล้ายกับกรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุม อย่างไรก็ตามเมื่อฉีดเจ็ตควบคุมจะส่งผลให้พื้นที่การเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ็ตและกระแสลมขวางที่บริเวณใกล้ปากทางออกของเจ็ตเพิ่มมากขึ้น และมีการนูนออก ทำให้หลังจากการเข้าปะทะกับเจ็ตที่บริเวณด้านหน้า (Windward) กระแสลมขวางบริสุทธิ์จะเกิดการเลี้ยวเบนลงในแนวดิ่ง ดังนี้นอกจากความเร็วของกระแสลมขวางบริสุทธิ์ในแนวแกน Streamwise แล้ว ความเร็วของกระแสลมขวางบริสุทธิ์ในแนวแกน Transverse จะก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำการผสมด้วย ด้วยปัจจัยเหล่านี้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเมื่อฉีดเจ็ตควบคุมที่ตำแหน่ง I165 เมื่อเทียบกับกรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The effects of azimuthal control jets on entrainment and cross-plane entrainment mechanism of a jet and a controlled jet in crossflow (JICF and cJICF) are investigated. Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) with two seeding schemes: (A) the jet-fluid only and (B) the jet-and-crossflow fluid seeding schemes are used. The experiment is conducted for the baseline jet in crossflow (JICF) with the effective velocity ratio (r) of 4 and the crossflow Reynolds number (Recf) of 3,100. For the case of cJICF, a pair of azimuthal control jets are deployed steadily at the azimuthal position of ±165 degree with the control jets to main jet mass flowrate ratio (rm) of 4%. The results show that the application of the pair of control jets helps promoting entrainment throughout all cross planes measured, making the jet volumetric entrainment ratio (E) of cJICF more than JICF. In addition, as a result of the application of the control jets, the wake structure is observed and prominent at bottom of the jet. For entrainment mechanism of JICF, it is found that the counter-rotating vortex pair (CVP) is the main cross-plane entrainment mechanism and that the mechanism can be divided into three subsequent stages: 1) Jet-CVP-induced pure crossflow vortical motion, in which the pure crossflow fluid from each lateral side of the jet is induced towards the bottom of the jet, 2) Jet-CVP-induced converging-diverging vertical channel of high upward flow, in which the region of high rate of entrainment is in the converging section of the channel, and 3) Free-jet like entrainment of the jet kidney-shaped structure, in which the already jet-fluid mixture in the diverging section of the channel is further induced by the jet kidney-shaped structure into itself like a free-jet entrainment. When the pair of control jets is applied, cross-plane entrainment mechanism is still similar to JICF. However, due to the existence of the additional wake structure, the surface of the jet-and-crossflow interaction increases. This is consistent with the increase in entrainment of cJICF over JICF. Furthermore, the experiment is also conducted in the center plane in order to preliminarily investigate other entrainment mechanisms. For JICF, another entrainment mechanism by the jet spanwise roller on the jet windward edge is revealed in this center plane. On this edge, as far as the time-mean velocity is concerned, it is also found that the crossflow streamwise velocity – and not the transverse velocity – contributes to entrainment. When the pair of control jets is applied, the center-plane entrainment mechanism is still similar to JICF. However the windward surface of interaction between the jet and the crossflow near the jet exit is increased and convexed windward. As a result, the incoming pure crossflow in front of the jet near the jet exit is deflected downward such that its transverse velocity component now contributes to entrainment. These are also consistent with the increase in entrainment of cJICF over JICF. Finally, the effects of the azimuthal control jets on jet trajectory and circulation are also investigated. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1323 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เจ็ต -- พลศาสตร์ของไหล | |
dc.subject | Jets -- Fluid dynamics | |
dc.title | ผลของเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงต่อการเหนี่ยวนำการผสม และกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางการไหลของเจ็ตในกระแสลมขวาง | en_US |
dc.title.alternative | Effects of azimuthal control jets on entrainment and cross-plane entrainment mechanism of a jet in crossflow | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเครื่องกล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Asi.B@Chula.ac.th,Asi.B@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1323 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870216921.pdf | 26.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.