Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51134
Title: การออกแบบแผงบังแดดเพื่อได้แสงธรรมชาติและประสิทธิภาพด้านพลังงานในอาคารตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว วี4 (LEED v4)
Other Titles: SHADING DESIGN FOR DAYLIGHT AND ENERGY PERFORMANCE IN BUILDING ACCORDING TO LEED v4
Authors: รุจิเรจ อินทรเนตร
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th,atch111@live.com
Subjects: อาคารแบบยั่งยืน -- แสงสว่าง
อาคารแบบยั่งยืน -- การออกแบบและการสร้าง
แสงธรรมชาติ
Sustainable buildings -- Lighting
Sustainable buildings -- Design and construction
Daylight
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบโดยการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารเป็นแนวทางหนึ่งในการออกแบบที่ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานในอาคารจากการใช้แสงประดิษฐ์ลงได้ แต่ความสว่างจากแสงธรรมชาติที่นำเข้ามาใช้ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง ในเกณฑ์ LEED v4 เรื่อง Daylight ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการประเมินแสงธรรมชาติ โดยได้นำเอาเกณฑ์ Spatial Daylight Autonomy (sDA) และเกณฑ์ Annual Daylight Exposure (ASE) มาใช้ ซึ่งทำให้การออกแบบเปลือกอาคารจะต้องมีความยุ่งยากซับซ้อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบเปลือกอาคารและแผงบังแดดที่ทำให้สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารได้ตามเกณฑ์ LEED v4 เรื่อง Daylight และประเมินประสิทธิภาพในการลดการใช้พลังงานของรูปแบบแผงบังแดดที่ผ่านเกณฑ์ โดยรูปแบบแผงบังแดดที่ศึกษามีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ แผงบังแดดแนวนอน แผงบังแดดแนวตั้ง และแผงบังแดดผสมแนวนอนและแนวตั้ง ที่ระยะยื่น 4 ระยะ คือ 50 100 150 และ 200 ซ.ม. ใช้กระจก 3 ชนิด คือ กระจกที่มีค่า VLT 71% 58% และ 35% และใช้สัดส่วน WWR 60 และ WWR 80 โดยห้องสำนักงานที่ใช้ในการจำลองมีขนาด 9 x 12 x 3 เมตร และหันหน้าต่างทั้งหมด 8 ทิศ จำลองแสงโดยโปรแกรม Daysim และจำลองพลังงานโดยโปรแกรม VisualDOE4.0 ผลการวิจัยพบว่าเมื่อติดตั้งแผงบังแดดจะทำให้มีกรณีที่แสงธรรมชาติผ่านเกณฑ์ LEED v4 ทั้งหมด 135 กรณี จากทั้งหมด 576 กรณี และการหันช่องเปิดไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นทิศที่ได้รับแสงอาทิตย์ตรงเป็นปริมาณน้อยนั้น สามารถมีกรณีที่ผ่านเกณฑ์ได้โดยที่ไม่ต้องติดตั้งแผงบังแดด ในขณะที่ทิศอื่นจะต้องติดตั้งแผงบังแดดแบบแนวนอนหรือแบบผสมที่ระยะยื่นแตกต่างกันไปเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ แต่ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นทิศที่ได้รับแสงอาทิตย์ตรงมากที่สุดนั้น การติดตั้งแผงบังแดดทุกรูปแบบไม่สามารถช่วยทำให้ผ่านเกณฑ์แสงสว่างธรรมชาติของ LEED v4 ได้เลย เมื่อนำกรณีที่ผ่านเกณฑ์มาจำลองการใช้พลังงานพบว่าเมื่อติดตั้ง Daylight dimmer หรือ อุปกรณ์หรี่ไฟอัตโนมัติตามปริมาณแสงธรรมชาติ จะสามารถประหยัดพลังงานจากการไม่ติดตั้ง Daylight dimmer ได้ในแต่ละกรณีใกล้เคียงกัน คือ 13.85-16.07% และกรณีที่ติดตั้ง Daylight dimmer สามารถลดการใช้พลังงานจากอาคารอ้างอิง (Base Case) ได้ในทุกกรณี โดยสามารถลดได้ตั้งแต่ 0.47-16.85%
Other Abstract: Daylight credit in LEED v4 has changed the simulation option to use two new metrics, spatial Daylight Autonomy (sDA) and Annual Sunlight Exposure (ASE). The purpose of this research is to study the shading design and building envelope for daylight in building according to LEED v4 considering the sDA and ASE options and investigate the energy performance. The independent variables were: 1.Type of shading devices 2. The length of shading devices 3. Glass types 4. WWR 5. Window orientations. The simulation setting is in a 9x12x3 meters standard office room using DAYSIM. The results suggest that using shading devices can make 135 cases from 576 cases that daylight is enough for LEED v4’s Daylight credit. The north-facing window and northeast-facing window can achieving fulfil the Daylight credit without using any shading devices. The west and southwest windows receive too much daylight that using every type and length of shading devices cannot help passing the Daylight credit in LEED v4. When using daylight dimmers, the buildings save energy by 13.85-16.07%. The energy savings from LEED base case are between 0.47-16.85%.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51134
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.539
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.539
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873362325.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.