Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51151
Title: | ปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียนที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนกลุ่มแฝงของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์: การวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝงโดยใช้โมเดลการวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสม |
Other Titles: | STUDENT FACTORS AFFECTING LATENT TRANSITION OF MATHEMATICS LEARNING ACHIEVEMENT: LATENT TRANSITION ANALYSIS WITH A MIXTURE ITEM RESPONSE THEORY MEASUREMENT MODEL |
Authors: | กรวรรณ แสงตระกูล |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.K@Chula.ac.th,skanjanawasee@hotmail.com Nonglak.W@chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียน -- การประเมินศักยภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- การทดสอบ Students -- Rating of Academic achievement Mathematical ability -- Testing |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียนจากการวัดที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์สถิติแบบดั้งเดิม 2)เพื่อศึกษากลุ่มแฝงและการเปลี่ยนกลุ่มแฝง วัดจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝงโดยใช้โมเดลการวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสม รวมถึงความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนกลุ่มแฝง (transition probability) 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียนที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มแฝงและการเปลี่ยนกลุ่มแฝงจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝงโดยใช้โมเดลการวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสม ทั้งนี้การออกแบบการวิจัยเป็นการเก็บข้อมูลระยะยาวจากการวัด 3 ครั้ง โดยมีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ครั้งแรกก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐาน (baseline) แล้วจัดให้นักเรียนกลุ่มทดลอง มีการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้เวลาในการทำกิจกรรม มากกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 1 ครั้ง (การทำกิจกรรมกีฬาสาธิตสามัคคี) และจัดให้นักเรียนกลุ่มควบคุม เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้เวลาน้อยกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (การทำกิจกรรมกีฬาสาธิตสามัคคี) หลังจากนั้นจะทำการวัดครั้งที่ 2 ต่อจากนั้นมีการจัดให้นักเรียนกลุ่มทดลอง เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้เวลาในการทำกิจกรรม มากกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อีก 1 ครั้ง (การทำกิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียน) และจัดให้นักเรียนกลุ่มควบคุม เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้เวลาน้อยกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (การทำกิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียน) แล้วจึงทำการวัดครั้งที่ 3 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 217 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง 102 คน และกลุ่มควบคุม 115 คน โดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way repeated measure ANOVA) การวิเคราะห์กลุ่มแฝงและการเปลี่ยนกลุ่มแฝงด้วยโมเดลการวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสม โดยใช้โปรแกรม Mplus และ โปรแกรม R ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1.ปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียนส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ คือ ประเภทของกิจกรรมและเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เนื่องจากเมื่อวัดในช่วงเวลาที่ 2 และ 3 นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมทั้งสองครั้ง โดยค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F = 73.907 , p = .000 และ F = 97.643 , p = .000 ตามลำดับ) 2. สัดส่วนของรูปแบบการเปลี่ยนกลุ่มแฝงของกลุ่มทดลอง ที่มีสัดส่วนการเปลี่ยนกลุ่มแฝงสูงที่สุด คือรูปแบบการเปลี่ยนกลุ่มแบบ 211 คือการเปลี่ยนกลุ่มจากกลุ่มเก่ง(กลุ่มแฝง 2) ในช่วงเวลาที่ 1 ไปยังกลุ่มอ่อน (กลุ่มแฝง 1) ในช่วงเวลาที่ 2 และยังเป็นกลุ่มอ่อนในช่วงเวลาที่ 3 (propotion = .281) และรูปแบบที่มีสัดส่วนการเปลี่ยนกลุ่มแฝงรองลงมา คือรูปแบบ 221 (propotion = .217) 3.ผลการวิเคราะห์จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝงโดยใช้โมเดลการวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสมแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียนมีอิทธิพลต่อกลุ่มแฝงและการเปลี่ยนกลุ่มแฝงของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนกลุ่มที่มากที่สุด คือ การเปลี่ยนกลุ่มจากกลุ่มเก่งในช่วงเวลาที่ 1 ไปยังกลุ่มอ่อนในช่วงเวลาที่ 2 (.600) รองลงมาคือ การเปลี่ยนกลุ่มจากกลุ่มเก่งในช่วงเวลาที่ 2 ไปยังกลุ่มอ่อนในช่วงเวลาที่ 3 (.550) |
Other Abstract: | This research aims to 1) study student factors derived from measurement which affect mathematical achievement using traditional statistical analysis, 2) study latent groups and their transition when measured by the latent transition analysis with a mixture Rasch (item response theory) measurement model (LTA-MRM), and in this stage the transition probability of such groups was also considered, and 3) study student factors affecting latent groups and their transition obtained from the latent transition analysis with a mixture Rasch (item response theory) measurement model (LTA-MRM). The research design involved data collection from three rounds of measurement. In the first round, the baseline was determined. Next, the experiment group was assigned to participate in one activity which lasted more than 18 hours per week (Satit Samakee Sport Event), while the control group was assigned to participate in one activity which lasted less than 18 hours per week (also Satit Samakee Sport Event). After such assignments were completed, the second round of measurement was conducted. The experiment group was then assigned to participate in another activity spanning more than 18 hours per week (student council election), while the control group was also assigned to participate in another activity spanning less than 18 hours per week (also student council election), and when these assignments were completed, the third round of measurement was conducted. The sample in this study comprised 217 Mattayomsuksa 2 (grade 8) students enrolled in the second semester of the 2013 academic year at Chulalongkorn University Demonstration Secondary School. The students were then divided at random into 2 groups: the experiment group comprising 102 students and the control group comprising 115 students respectively. The tools used in this study consisted of the mathematical achievement assessment test for Mattayomsuksa 2 (grade 8) students, and the activity participation record form. The data were then analyzed using basic statistical analysis, Two-way repeated measure ANOVA, and latent transition analysis with a mixture Rasch (item response theory) measurement model (LTA-MRM) using MPLUS and Program R. The research findings are as follows: (1) Student factors affecting mathematical achievement are the types and duration of activity, because in the second and third rounds of measurement the experiment group had lower mathematical achievement than the control group in both rounds of measurement. The means of mathematical achievement between both groups varied with a statistical significance of .01 (f = 73.907, p = .000 and f = 97.643, p = .000 respectively). (2) The proportion of latent transition of the experiment group which had the highest proportion of latent transition was the high achievement group (H) in the first round of measurement which became the low achievement group (L) in the second round of measurement and remained so in the third round of measurement (proportion = .281). The proportion of latent transition of the experiment group which had the second highest proportion was the H group remaining so in the second round of measurement but becoming the L group in the third round of measurement (proportion = .281). 3. The analysis results obtained from the latent transition analysis with a mixture Rasch (item response theory) measurement model (LTA-MRM) demonstrated that the student factors affecting mathematical achievement. The first two groups with the highest transition probability were the H group in the first round of measurement becoming the L group in the second round of measurement (.600), and the H group in the second round of measurement becoming the L group in the third round of measurement (.550). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51151 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1163 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1163 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384201327.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.