Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51162
Title: การพัฒนาโมดูลการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับอาจารย์พยาบาล
Other Titles: Development of a training module of evaluation capacity building for nurse teachers
Authors: เนตรรัชนี กมลรัตนานันท์
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
กมลวรรณ ตังธนกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,Siridej.S@Chula.ac.th
Kamonwan.T@Chula.ac.th
Subjects: ครูพยาบาล -- การฝึกอบรม
การประเมิน
School nursing -- Training
Evaluation
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโมดูลการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับอาจารย์พยาบาล (2) ศึกษาผลของโมดูลการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับอาจารย์พยาบาลต่อ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการประเมินภาคปฏิบัติ (3) ศึกษาผลของโมดูลการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับอาจารย์พยาบาลต่อความคลาดเคลื่อนจากผู้ประเมิน คือ ความคลาดเคลื่อนจากการกด ปล่อยคะแนน ความคลาดเคลื่อนจากการให้คะแนนเกาะกลุ่มตรงกลาง และความคลาดเคลื่อนแบบฮาโล การวิจัยนี้เป็นการวิจัย และพัฒนา ตัวอย่างในการสำรวจสภาพปัจจุบันของการประเมินภาคปฏิบัติ เป็นอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ใน 4 ภาคของประเทศไทย และจากคณะพยาบาลศาสตร์สวนดุสิต จำนวน 96คน ตัวอย่างในการใช้โมดูล คืออาจารย์พยาบาลจำนวน 17 คน เลือกแบบเจาะจง โดยการจับคู่ และการสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองใช้โมดูล 6 คน และกลุ่มใช้โมดูลจริง 11 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามสำรวจสภาพปัจจุบัน รูบริคการประเมินภาคปฏิบัติ วีดีทัศน์สถานการณ์จำลองการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล แบบวัดความรู้ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดความพึงพอใจ คู่มือฝึกอบรม และแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติก่อน และหลังการใช้โมดูลโดยใช้สถิติทดสอบที (paired t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA) วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากผู้ประเมินคือ การกด ปล่อยคะแนน การให้คะแนนเกาะกลุ่มตรงกลาง และความคลาดเคลื่อนแบบฮาโล ด้วยโมเดลการวิเคราะห์หลายองค์ประกอบของราส์ช (many-facet rasch model) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และ FACETS และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ได้ผลการวิจัยดังนี้ 1. ผลการสำรวจสภาพปัจจุบัน พบปัญหาการตัดสินผลการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล จาก 2 ปัจจัยคือ ความเข้าใจในเกณฑ์การประเมินไม่ตรงกัน และความเป็นอัตนัยของผู้ประเมิน 2. การพัฒนาโมดูลได้หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วยคือ (1) ความรู้พื้นฐานด้านการประเมินภาคปฏิบัติ (2) ความรู้เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนจากผู้ประเมิน (3) กรอบของการอ้างอิง (4) การฝึกการสังเกตพฤติกรรมในการประเมิน และ (5) การฝึกการตัดสินใจ 3. ผลของโมดูล ต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการประเมินภาคปฏิบัติ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ด้านการประเมินภาคปฏิบัติหลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, ค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติหลังการใช้โมดูลไม่แตกต่างจากก่อนการใช้โมดูลที่ระดับนัยสำคัญ .05, ผลการวัดทักษะ 3 ครั้งให้ผลการประเมินไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 4. ผลการใช้โมดูลต่อความคลาดเคลื่อนจากผู้ประเมิน ก่อน และหลังการฝึกอบรม ทดสอบด้วยสถิติ reliability of separation, separation ratio และ Fixed Chi-square ไม่พบความแตกต่างของการกดคะแนน ปล่อยคะแนน, การให้คะแนนเกาะกลุ่มตรงกลาง และความคลาดเคลื่อนแบบฮาโล ที่ระดับนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The purpose of this research were to 1) develop an evaluation capacity building module for nurse teachers in practicum evaluation of student nurses, 2) to investigate the effects of the module on knowledge, attitude and skill in practicum evaluation, and 3) to investigate the effects of the module on rater effects: leniency, severity, central tendency and halo effect. This research was research and development. Samples for a survey were 96 instructors from the faculty of nursing in 4 regions of Thailand and from Suan Dusit University. The participants consisted of 17 instructors of the faculty of nursing, Suan Dusit University selected by matching the instructors from the same or similar department, then simple random sampling 6 participants to the trial group and others to the actual group alternatively. Research instruments included (1) a questionnaire for survey on current conditions of practicum evaluation, (2) scoring rubrics, (3) a set of video clips, (4) a training manual, (5) the attitude scales, (6) a test, and (7) structured interview questions. Data analysis were employed by using percentage, mean, standard deviations, paired t-test, repeated measure ANOVA and many-facet rasch measurement. SPSS and FACET program. Results were as follows; The survey on practicum evaluation problems revealed that the most common problem was grading in practicum because of 2 sources; i e., the raters’ subjectivity, and the raters’ different perception on the descriptors of the rubrics. 2. The development of the module were consisted of 5 units; (1) basic knowledge in practicum evaluation, (2) rater error training, (3) frame of reference training, (4) behavioral observation training, and (5) decision making training. 3. The effect of the module on knowledge, attitudes and skills in 3 times shown that the mean score of knowledge was higher than that before training at the statistical significant level of .001. However, the mean scores of attitude and skill before the training were not statistically significant difference from those after the training. 4. The effect of the module on rater effects when considering with reliability of separation, separation ratio and Fit mean-square, had no statistically significant difference in leniency, severity, central tendency and halo effects among 3 times.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51162
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1175
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1175
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384458327.pdf7.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.