Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51168
Title: การวางตำแหน่งตราสินค้าประเทศสำหรับภาคส่วนการท่องเที่ยวของประเทศไทย
Other Titles: Nation brand positioning for Thailand's tourism sector
Authors: ณัทภัฏ ปั้นจาด
Advisors: นภวรรณ ตันติเวชกุล
วิฏราธร จิรประวัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Napawan.T@Chula.ac.th,napawan.t@chula.ac.th
Vittratorn.C@Chula.ac.th
Subjects: การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ -- ไทย
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ -- แง่ยุทธศาสตร์
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
Branding (Marketing) -- Thailand
Branding (Marketing) -- Strategic aspects
Tourism
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ตราสินค้าประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนการท่องเที่ยวซึ่งนำไปสู่การเสนอทางเลือกของตำแหน่งตราสินค้าประเทศไทยสำหรับภาคส่วนการท่องเที่ยว มีขั้นตอนการศึกษาทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกลักษณ์ตราสินค้าประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนการท่องเที่ยว โดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการจัดการการท่องเที่ยว 2) การศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนการท่องเที่ยว โดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและการวิจัยเชิงสำรวจกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และ 3) การเสนอทางเลือกของตำแหน่งตราสินค้าประเทศไทยสำหรับภาคส่วนการท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ตนเอง กลุ่มเป้าหมาย และคู่แข่งตามกระบวนการวางตำแหน่งตราสินค้าประเทศ ผู้วิจัยพบว่ามิติและองค์ประกอบของเอกลักษณ์ตราสินค้าประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนการท่องเที่ยวมีทั้งหมด 6 มิติ คือ 1) มิติวัฒนธรรม 2) มิติผู้คน 3) มิติการท่องเที่ยว 4) มิติภูมิศาสตร์ 5) มิติศิลปกรรม และ 6) มิติความเป็นไทย นอกจากนี้ มิติและองค์ประกอบของภาพลักษณ์ตราสินค้าประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างรับรู้ในระดับปานกลางถึงระดับสูง มีทั้งหมด 40 องค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 9 มิติ คือ 1) มิติวัฒนธรรม 2) มิติผู้คน 3) มิติการท่องเที่ยว 4) มิติภูมิศาสตร์ 5) มิติศิลปกรรม 6) มิติความเป็นไทย 7) มิติเศรษฐกิจ 8) มิติประวัติศาสตร์ และ 9) มิติความบันเทิง โดยผลการวิจัยดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ตนเองและการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ตนเอง กลุ่มเป้าหมาย และคู่แข่งตามกระบวนการวางตำแหน่งตราสินค้าประเทศพบว่าทางเลือกของตำแหน่งตราสินค้าประเทศไทยสำหรับภาคส่วนการท่องเที่ยวมีทั้งหมด 6 ทางเลือก คือ ทางเลือกตำแหน่งตราสินค้าประเทศไทยสำหรับภาคส่วนการท่องเที่ยว 1) ด้านวัฒนธรรม 2) ด้านผู้คน 3) ด้านการท่องเที่ยว 4) ด้านภูมิศาสตร์ 5) ด้านศิลปกรรม และ 6) ด้านความเป็นไทย
Other Abstract: The purpose of this research is to study the nation brand identity and image relating to the tourism sector of Thailand, thus leading to the proposal of nation brand positions for the tourism sector of Thailand. The research can be divided into 3 stages: 1) A study of nation brand identity relating to the tourism sector of Thailand by reviewing related documents and conducting in-depth interviews with experts in communication and tourism management. 2) A study of nation brand image relating to the tourism sector of Thailand by reviewing related documents and conducting surveys with foreign tourists. 3) A proposal of nation brand positions for the tourism sector of Thailand by conducting self anaysis, target analysis, and competitor analysis according to the nation brand positioning framework. The researcher found that the nation brand identity relating to the tourism sector of Thailand comprised of 6 dimensions 1) Culture 2) People 3) Tourism 4) Geography 5) Arts and 6) Thainess. In addition, the respondents perceived the nation brand image relating to the tourism sector of Thailand at medium-high level in 40 components which can be divided into 9 dimensions 1) Culture 2) People 3) Tourism 4) Geography 5) Arts 6) Thainess 7) Economic 8) History and 9) Entertainment. The research findings mentioned serves as the foundation for the self analysis and target analysis. Finally, the self analysis, target analysis, and competitor analysis in accordance with the process of nation brand positioning revealed 6 nation brand positions for the tourism sector of Thailand which are 1) Cultural aspects 2) People aspects 3) Tourism aspects 4) Geographic aspects 5) Arts aspects and 6) Thainess aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51168
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.977
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.977
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5385101428.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.