Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51172
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์en_US
dc.contributor.advisorอัจฉรา จันทร์ฉายen_US
dc.contributor.advisorสุวิมล กีรติพิบูลen_US
dc.contributor.authorไกรเสริม โตทับเที่ยงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:01:23Z-
dc.date.available2016-12-02T06:01:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51172-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าอาหารไทยเพื่อพัฒนารูปแบบในกำหนดคุณค่าอาหารไทย และ เป็นแนวทางในการสร้างคุณค่าอาหารไทย ให้สามารถเผยแพร่ได้ งานวิจัยครั้งนี้เป็นทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารไทยทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ จำนวน 383 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารไทยจำนวน 4 กลุ่ม (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสายวิชาการอาหาร กลุ่มผู้ประกอบอาหาร กลุ่มเจ้าของร้านอาหาร และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านให้ความเห็นและวิจารณ์อาหาร) เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำหรับการสร้างนวัตกรรมตัวแบบการรับรองคุณค่าอาหารไทย ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบทฤษฏีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าอาหารไทยและเจตนาเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยสถิติที่แสดงค่าความสอดคล้องได้แก่ ค่าไคกำลังสองสัมพัทธ์(CMIN/DF) มีค่า 1.717 ค่าพี (P-Value) มีค่า 0.387 ดัชนีความสอดคล้องดี (GFI) มีค่า 0.992 ดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) มีค่า 0.995 และความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่า 0.043 ตัวแบบทฤษฏีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ต่อคุณค่าอาหารไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยสถิติที่แสดงค่าความสอดคล้องได้แก่ ค่าไคกำลังสองสัมพัทธ์(CMIN/DF) มีค่า 1.53 ค่าพี (P-Value) มีค่า 0.073 ดัชนีความสอดคล้องดี (GFI) มีค่า 0.990 ดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) มีค่า 1.000 และความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่า 0.037 ตัวแบบการรับรองคุณค่าอาหารไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) การรับรอง (2) การจัดองค์ความรู้ (3) การให้การศึกษา (4) การตลาด ซึ่งนวัตกรรมตัวแบบที่ได้จากการวิจัย สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิด ศูนย์คุณค่าอาหารไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับนโยบาย และถือได้ว่ามีคุณค่าทางวิชาการในด้านการสร้างการบูรณาการในการทำตัวแบบให้เกิดการรับรู้ รับรอง และสร้างคุณค่าให้อาหารไทย อันจะส่งผลต่อ ประโยชน์ทางวัฒนธรรม และประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims at studying factors that influence Thai food, in order to develop Thai Food Value Assurance Model to create more value for Thai food. This research utilized both Quantitative research which questionnaire has been distributed to both Thai and International consumers at sample groups at 383 key actors and Qualitative research by using Modeling Expert Opinion. As a result, Theoretical Model of Factors determining Thai Food value and Behavioral intentions agreed to empirical data. Statistical values that showed correlations included Chi-square/Degree of freedom of1.717, P-Value of 0.387, Goodness of Fit Index of 0.992, Comparative Fit Index of 0.995 and Root Mean Square Error Approximation of 0.043. While Causal Relationship Model of Thai Food Value also agreed to empirical data. Statistical values that showed correlations included Chi-square/Degree of freedom of1.53, P-Value of 0.073, Goodness of Fit Index of 0.990, Comparative Fit Index of 1.000 and Root Mean Square Error Approximation of 0.037. Thai Food Value Model contains (1) Certify (2) Knowledge (3) Education (4) Marketing. According to this Innovative model, Thai Food Value Center can be implemented by Government Policy acceptance. Moreover, this can be referred to the Contribution to Theory in terms of Innovative integration which can be value creation not only Richness of Culture but also Economic benefits to the Society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleนวัตกรรมตัวแบบการรับรองคุณค่าอาหารไทยen_US
dc.title.alternativeINNOVATIVE MODEL FOR THAI FOOD VALUE ASSURANCEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPongpun.A@Chula.ac.th,P.idchula@gmail.comen_US
dc.email.advisorachandrachai@gmail.comen_US
dc.email.advisorSuwimon.K@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387757520.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.