Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51174
Title: | A MULTIMODAL ANALYSIS OF THE USE OF ENGLISH, THAI AND IMAGES IN MEANING MAKING ON THAI MAGAZINE COVERS |
Other Titles: | การศึกษาเชิงพหุวิธีในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาพเพื่อสร้างความหมายบนปกนิตยสารภาษาไทย |
Authors: | Patsriyanyong Sungroong |
Advisors: | Pavinee Thirakhupt |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | Pavinee.T@Chula.ac.th,Pavinee.T@Chula.ac.th |
Subjects: | English language -- Usage English language -- Grammar Thai language -- Usage Thai language -- Grammar Periodicals ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา ภาษาอังกฤษ -- ไวยากรณ์ ภาษาไทย -- การใช้ภาษา ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ วารสาร |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This research work studied the use of English, Thai and images on Thai magazine covers in meaning making on 24 Thai magazine covers (Praew) by analyzing language use with Systemic Functional Linguistics and Multimodal Analysis, examining the pattern of language mixing and tracing how image and language worked together to make meaning through the lens of Multimodal Analysis. It was found that Praew magazine covers made meanings in three layers including discourse semantics, lexico-grammar and display. Each of these layers saw language, language mixing and image-language intersemiosis as sources of meanings.The discourse semantics level saw the use of elaboration and extension for textual meaning, and synomyny and repetition for experiential meaning most. These were also where language mixing occurred most. Lexico-image cross referencing appeared 25 times mostly between the cover figure and the main cover-figure-explanation sub-headline. On the lexico-grammar level, language was manifested mostly in the forms of complement (mood structure), goal (transitivity structure) and rheme (theme structure). Again, these were also where language mixing occurred. Semiotic metaphor was used 26 times, majorly between the cover figure and part of the main headline. On the display level, the typographic features of typeface and color were mostly chosen to create unity (textual meaning), while font size was the main choice for salience (interpersonal meaning). The experiential meaning was based on denotation and connotation. Denotation has been identified to tell the story, advertise and set the theme of the cover and magazine. Connotation mainly involved the choice of language use, where Thai connoted national unity and respect and English the international flair and sense of quality. Language mixing was in the form of language-script combination in each micro text (headline). The most frequently occurring pattern of mix was ER, ET, TT (English in Roman script, English in Thai script, Thai in Thai script) Homospatiality showed up 4 times between graphics and part of main cover-figure-explanation headline, graphics and main cover-figure-explanation headline and graphics (encasement) and advertisements.The patterns in the three layers above implied that the magazine aimed at communicating while saving space, maximizing understanding, looking cosmopolitan, retaining Thainess and being informal. |
Other Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และรูปภาพในการสื่อความหมาย บนหน้าปกนิตยสาร “แพรว” จำนวน 24 ฉบับ วิเคราะห์การใช้ภาษาโดย ทฤษฎีไวยากรณ์เชิงระบบและหน้าที่ (Systemic Functional Linguistics) และการวิเคราะห์การสร้างความหมายแบบพหุวิธี (Multimodal Analysis) ศึกษารูปแบบของการผสมผสานของภาษาบนพื้นฐานของการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการผสมผสานภาษา และสืบค้นว่ารูปภาพและภาษาทำงานร่วมกันอย่างไรในการสื่อความหมาย ผ่านแนวคิดการวิเคราะห์การสร้างความหมายแบบพหุวิธี โดยผลการศึกษาพบว่า หน้าปกนิตยสารแพรว สื่อความหมายในสามระดับ คือ ระดับวาทอรรถศาสตร์ (discourse semantics) ระดับวากยไวยากรณ์ (lexico-grammar) และระดับการแสดงผล (display) แต่ละระดับพบว่ามีการใช้ภาษา การผสมผสานของภาษาและ การสร้างความหมายร่วมระหว่างรูปภาพและภาษา เป็นแหล่งของความหมาย ในระดับวาทอรรถศาสตร์ (discourse semantics) พบว่ามีการใช้การให้รายละเอียด (elaboration) และการแผ่ความหมาย (extension) สำหรับความหมายด้านการคงเนื้อความ (textual meaning) ในขณะที่การพ้องความหมาย (synonymy) และการกล่าวซ้ำ (repetition) มีการใช้มากที่สุดสำหรับความหมายด้านประสบการณ์และการรับรู้ (experiential meaning) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่การผสมผสานของภาษาเกิดขึ้นมากที่สุดด้วย มีการใช้การเชื่อมโยงความหมายระหว่างภาษาและภาพ (lexico-image cross referencing) 25 ครั้ง ส่วนมากเกิดระหว่างรูปภาพบนปกและคำอธิบายของหัวเรื่องหลัก ในระดับวากยไวยากรณ์ (lexico-grammar) ภาษาถูกแสดงออกมาในรูปแบบของส่วนเติมเต็ม (complement) ในโครงสร้างมาลา (mood structure) หรือความหมายระหว่างบุคคล (interpersonal meaning) เป้าหมาย (goal) ในโครงสร้างสกรรม (transitivity structure) หรือความหมายด้านประสบการณ์และการรับรู้ (experiential meaning) และสาระรอง (rheme) ในโครงสร้างสาระหลักสาระรอง (theme structure) หรือความหมายด้านการคงเนื้อความ (textual meaning) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่การผสมผสานของภาษาเกิดขึ้นอีกเหมือนกัน สัญอุปมา (semiotic metaphor) เกิดขึ้น 26 ครั้ง โดยส่วนใหญ่เกิดระหว่างรูปภาพบนปกและส่วนของหัวเรื่องหลัก ในระดับการแสดงผล (display) นั้น แบบอักษร (typeface) และสีถูกเลือกเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (unity) หรือความหมายด้านการคงเนื้อความ (textual meaning) ในขณะที่ขนาดตัวอักษรเป็นตัวเลือกหลักๆ สำหรับสร้างจุดเด่น (saliency) หรือความหมายระหว่างบุคคล (interpersonal meaning) ส่วนความหมายด้านประสบการณ์และการรับรู้ (experiential meaning) ตั้งอยู่บนการใช้ความหมายตรง (denotation) และความหมายแฝง (connotation) พบว่าความหมายตรง (denotation) ถูกใช้ในการเล่าเรื่องราว โฆษณา และสร้างโครงหลัก (theme) ของหน้าปกและนิตยสาร ความหมายแฝง (connotation) ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับทางเลือกในการใช้ภาษา ซึ่งภาษาไทยแสดงความเป็นเอกภาพและความเคารพ ส่วนภาษาอังกฤษแสดงถึงความมีรสนิยมที่เป็นสากลและความมีคุณภาพ การผสมผสานของภาษาในระดับการแสดงผล (display) นี้ เป็นรูปแบบของผสมผสานระหว่างภาษาและตัวเขียน (language-script combination) ในแต่ละหัวเรื่อง รูปแบบการผสมผสานที่ใช้บ่อยที่สุดคือภาษาอังกฤษตัวเขียนโรมัน, ภาษาอังกฤษตัวเขียนไทย, ภาษาไทยตัวเขียนไทย (ER, ET, TT) เอกมิติของการสร้างความหมาย (homospatiality) ปรากฏอยู่ 4 ครั้งระหว่างกราฟิก (graphics) กับ ส่วนของหัวเรื่องหลัก กราฟิก (graphics) กับ หัวเรื่องหลัก และระหว่างการตีกรอบ(encasement) ซึ่งเป็นกราฟิกชนิดหนึ่ง กับโฆษณา รูปแบบในสามระดับข้างต้นแสดงให้เห็นว่านิตยสารมีเป้าหมายในการสื่อสารในขณะที่ต้องประหยัดเนื้อที่ สร้างความเข้าใจให้ได้มากที่สุด ต้องดูเป็นสากล และยังคงความเป็นไทยและดูไม่เป็นทางการ |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | English as an International Language |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51174 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1050 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1050 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5387796020.pdf | 8.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.