Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51189
Title: | การประเมินความเสียหายจากความล้าของแผงกั้นเสียงพอลิเมอร์เสริมเส้นใยของรถไฟลอยฟ้า |
Other Titles: | Evaluation of fatigue damage of sky-train fiber-reinforced-polymer noise barriers |
Authors: | ณัฐภัทร บัวเพ็ชร์ |
Advisors: | ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chatpan.C@chula.ac.th,Chatpan.C@chula.ac.th |
Subjects: | แผ่นกันเสียงรบกวน -- ความล้า วัสดุเชิงประกอบเสริมเส้นใย โพลิเมอร์ Noise barriers -- Fatigue Fibrous composites Polymers |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แผงกั้นเสียงของรถไฟฟ้าลอยฟ้าเดิมเป็นวัสดุคอนกรีตเสริมเส้นใยแก้วซึ่งพบว่ามีการแตกร้าวหลังจากผ่านการใช้งานมา 11 ปี จึงได้มีการเปลี่ยนแผงกั้นเสียงใหม่เป็นวัสดุประเภทพอลิเมอร์เสริมเส้นใยซึ่งมีควรที่จะได้รับการประเมินอายุการใช้งานภายใต้ผลของการล้าของวัสดุประเภทพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่นำมาใช้เป็นแผงกั้นเสียงซึ่งได้รับความสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้าและแรงลม ซึ่งในการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนของแผงกั้นเสียงของรถไฟลอยฟ้าโดยทำการตรวจวัดความเครียดของแผงกั้นเสียงในสภาวะการใช้งานจริง และวิเคราะห์จำนวนรอบของการเกิดความเค้นและความเครียดโดยวิธีนับรอบแบบ Rainflow ส่วนการประเมินกำลังต้านทานความล้าทำโดยการทดสอบกำลังต้านทานความล้าของวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใยภายใต้แรงดัดในห้องปฏิบัติการแล้วสร้างแผนภาพ s-n diagram ซึ่งแสดงจำนวนรอบที่ทนได้ก่อนการแตกหัก ภายใต้ความเครียดแบบกระทำซ้ำๆ ที่ระดับต่างๆเทียบกับความเครียดประลัยภายใต้แรงกระทำสูงสุดรอบเดียว จากนั้นประเมินอายุการใช้งานโดยการคำนวณความเสียหายสะสมโดยวิธี Palmgren-Miner และนำไปคำนวณอายุการใช้งานของแผงกั้นเสียงที่เป็นวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใยภายใต้ความสั่นสะเทือนและแรงลม รวมถึงความเครียดเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละวัน ผลการศึกษาพบว่าการเกิดความล้าอันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนจากขบวนรถและแรงลมรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในรอบวันไม่สามารถทำให้แผงกั้นเสียง FRP วิบัติภายใต้ความล้าที่เกิดขึ้นได้ |
Other Abstract: | Previously, skytrain noise barriers have been made of glass fiber reinforced concrete (GFRC). Many of them have cracked after 11years old, so they were replaced by barriers made of fiber reinforced polymer (FRP). This study aims to evaluate the fatigue life of these new noise barriers because it was suspected that the damage of previous GFRC barriers was due to vibration from train traffic and wind load. Strain variations of FRP noise barriers were measured on site for one day and the number of loading cycles was counted by method of rainflow to consider the rate of load cycles. The fatigue strength of FRP was tested in laboratory by using constant stress amplitude cyclic load and measuring number of cycles sustained before failure. The tests were repeated with many levels of stress amplitudes and the s-n diagram was developed to represent fatigue strength showing number of cycles that FRP can sustain at different levels of stress and strain amplitudes. The accumulated damage was computed by method of Palmgren-Miner and fatigue life was estimated. It was found that the FRP noise barriers subjected the strain measured on site has a very long fatigue life and would not be damage by fatigue because the measured strains were very small (less than 650 microstrain), which is less than 5 percents of one cycle ultimate strain. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51189 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1306 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1306 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570191521.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.