Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์en_US
dc.contributor.authorณัฐธิญา ชุมสวัสดิ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:06Z
dc.date.available2016-12-02T06:02:06Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51197
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน และศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบลงสำรวจภาคสนาม ใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และริมถนนทางเข้า-ออกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งภายหลังการมีสถาบันการศึกษาในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดก่อสร้างและกิจกรรมในรูปแบบลักษณะพิเศษที่ตอบสนองความต้องการของประชากรมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ได้แก่ หอพัก ที่พักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านอุปกรณ์การเรียนการสอน สถานบันเทิง เป็นต้น เกิดการเกาะกลุ่มของกิจกรรมร้านค้าที่รวมตัวจัดเป็นตลาดนัดด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4016 นอกจากนี้การก่อตั้งสถาบันการศึกษายังส่งผลต่อการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งในการรับประทานอาหาร อุปกรณ์การเรียน รวมถึงการรับบริการอื่น ๆ ปัจจุบันจำนวนประชากรในตำบลท่างิ้ว และโพธิ์ทอง มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 49.90 และ 43.13 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถาบันการศึกษายังคงเป็นการพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการใช้ที่ดิน รวมถึงความเสี่ยงในการขาดแลนสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนการดำเนินการค้าและบริการต่างๆ ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชากรมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพชีวิตแก่ผู้พักอาศัย ดังนั้นในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นเพียงการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษาที่เกิดขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางแผน หรือหาแนวทางการพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนโดยรอบen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study the development of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University and Walailak University from the past to the present and the impacts,of the establishment of these two universities on their nearby community development.The findings revealed that the establishment of the two universities affected the nearby communities physically, socially and economically, especially those in front of the universities and in front of the entrance – exit gates of the universities. During the past 4 – 5 years, the increasing number of students and university personnel of both universities has led to a more demand of facilities such as dormitories, houses, shops, cafeterias, school supply shops and entertainment venues, etc. Merchants selling similar goods have organized a weekly market on Highway 4016 running in front of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. As for economic and social impacts, daily expenses on food, school supplies and other services available both inside and outside the universities.Presently, in Tambon Tha Ngio, where the former university is located, and in Tambon Thai Buri, where the latter is located, the number of population has risen by 49.40% and 43.13%, respectively.The areas around the universities, however, have been developed in a systematic manner, resulting in conflicts of land use, insufficient utilities and types of trading and services that adversely affect the quality of life of the university personnel. As a result, this study would like to highlight the importance of planning or guidelines materialized by both the universities and the communities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.455-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาเมือง
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา
dc.subjectชุมชนกับสถาบันอุดมศึกษา
dc.subjectUrban development
dc.subjectUniversities and colleges
dc.subjectCommunity and college
dc.titleผลกระทบของการพัฒนาสถาบันการศึกษาต่อการพัฒนาเมืองในจังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.title.alternativeThe impacts of the development of educational institutions on urbanisation in Nakorn Si Thammarat Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiriwan.S@Chula.ac.th,siriwan.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.455-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573323625.pdf11.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.