Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51210
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รุ้งระวี นาวีเจริญ | en_US |
dc.contributor.author | วันวิสา คำสัตย์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T06:02:25Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T06:02:25Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51210 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะต่อการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบาก ที่มารับบริการในหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) โรงพยาบาลชลบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2558 ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนดได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 คน จากนั้นจับคู่กลุ่มตัวอย่าง (Matched pairs) ให้มีลักษณะคล้ายคลึงในด้าน เพศ อายุ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะ และกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติ กิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะได้รับการจัดกระทำกับกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคล ร่วมกับการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล เพื่อส่งเสริมการกลืนในระยะที่อยู่ในโรงพยาบาล 5 วัน และโทรศัพท์ติดตามเยี่ยม 2 ครั้งภายหลังจำหน่ายเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1 กิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะประกอบด้วย การให้ความรู้ และการใช้กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์ การสำรวจทางเลือก การวางแผนปฏิบัติ การเรียนรู้และฝึกทักษะ และการประเมินผลย้อนกลับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบาก แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบาก เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบคุณภาพและความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และได้รับการตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสังเกตของเครื่องมือมีค่าเท่ากับ .97 และ 1.0 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าที (paired t-test , independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะลำบากในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะ เพิ่มขึ้นมากกว่ากว่าก่อนได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) 2. ภายหลังสิ้นสุดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ยการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบากที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะ เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) | en_US |
dc.description.abstractalternative | This quasi-experimental study was aimed to examing the effects of a nurse coaching intervention on swallowing in ischemic stroke patients with dysphagia at the stroke unit in Chonburi hospital between May and December 2015. Forty-four subjects were purposively sampled and assigned via pair matching with gender, age, and severity of stroke in- the control and experimental group, with a total of 22 subjects in each group. The experimental group received a nurse coaching intervention whereas the control group received routine nursing care. The nurse coaching intervention consisted of individualized session of rehabilitation for increasing the swallowing of subjects via caregiver's involvement over 5 day of hospital stayed and 2 follow up phone called after discharge at the end of 1st week. The nurse coaching session included educational and skill strategies including 6 steps: goal setting, analysis, exploration, planning action, learning and feedback. Data were collected on demographic form , an Ischemic stroke patient swallowing assessment form and a caregiver ability assessment form. The content validity of the program and all instruments were verified by five experts and tested for inter-rater reliability yielding a values of .97 and 1.0. Data were analyzed using descriptive statistics, and hypotheses were tested with paired t-test and independent t-test. The find are as follow: 1. The mean score of swallowing in the experimental group was significantly higher than before to receiving the program (P<.05). 2. After completion of the intervention, the experimental group had a significantly higher mean score for swallowing than the control group (P<.05). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.776 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การกลืน | - |
dc.subject | ภาวะการกลืนผิดปกติ | - |
dc.subject | ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ -- ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
dc.subject | Deglutition | - |
dc.subject | Deglutition disorders | - |
dc.subject | Transient ischemic attack -- Patients -- Care | - |
dc.title | ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการสอนแนะต่อการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบาก | en_US |
dc.title.alternative | The effect of a nurse-coaching intervention on swallowing in ischemic stroke patients with dysphagia | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Rungrawee.N@Chula.ac.th,nrungrawee@yahoo.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.776 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577194736.pdf | 5.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.