Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51217
Title: ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
Other Titles: Experiences of nurses in care management of end of life patients
Authors: สุธารัตน์ กุลรัตนมาศ
Advisors: วาสินี วิเศษฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sasinee.W@Chula.ac.th,wwasinee.w@gmail.com
Subjects: ผู้ป่วย -- การดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย -- การดูแล
Care of the sick
Terminally ill
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความหมายและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตในโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้วิธีการวิจัยคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Hermeneutic phenomenology) ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าเวร ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยวิธีการบอกต่อแบบลูกโซ่ จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทปสนทนา นำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพให้ความหมายของการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตตามที่รับรู้และตีความตามความคิดและประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนได้ว่า เป็นการทำความเข้าใจถึงแนวคิดหลักการดูแลแบบประคับประคอง ด้วยการใช้ความรู้คู่ทักษะและประสบการณ์ การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการได้รับการอบรม ร่วมกับการจัดการด้วยใจ ใส่ใจทำให้ดีที่สุด เหมือนญาติผู้ใกล้ชิด ส่วนประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตพบ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. การจัดการเพื่อการตายดี ประกอบด้วย 1) การจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ 2) การจัดการสถานการณ์แวดล้อม และ 3) การจัดการด้านคุณภาพการดูแล/คุณภาพการพยาบาล 2. การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ผู้ป่วย ครอบครัวและทีมผู้ดูแล เมื่อต้องเผชิญกับความตาย ประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยยอมรับความตายได้อย่างสงบ 2) ครอบครัว พยาบาลวิชาชีพและทีมสหวิชาชีพ เรียนรู้ ตัดสินใจ ยอมรับการจากไปของผู้ป่วย 3) การยุติการรักษาเมื่อเวลามาถึง 4) สมดุลระหว่างความจริง ความหวังของผู้ป่วย 5) เยียวยาตัวเองเมื่อเกิดความรู้สึก เครียด ผิดหวัง เสียใจ 6) เสริมพลังใจให้กันและกัน และ 7) พยาบาลเรียนรู้ความจริงของชีวิต และ 3. การจัดการปัญหา/อุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต ประกอบด้วย 1) เวลาที่จำกัดและภาระงานที่มาก 2) การสื่อสารระหว่างทีมผู้ดูแลไม่มีประสิทธิภาพ 3) ทักษะ ความรู้ และศักยภาพของผู้ให้การดูแลยังไม่เพียงพอ และ 4) ทัศนคติ ความคาดหวังของผู้ป่วย ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ ข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงหลักคิด ความรู้สึกและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้บริหารนำไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมแนวทางการจัดการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตของพยาบาลวิชาชีพให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นได้
Other Abstract: The present study was aimed at describing the meanings and experiences of professional nurses in care management for end-of-life patients at Siriraj Hospital using a qualitative hermeneutic phenomenology research methodology. Data providers in the study were composed of 13 professional nurses with experience in care management for end-of-life patients who worked as shift supervisors and received training in palliative care in addition to having work experience of ten years and up. The subjects were selected by purposeful and snowball sampling. Data were collected by using in-depth interview forms and conversation audio recordings. The data obtained were transcribed verbatim and data content analysis was performed based on Van Manen’s method (1990). According to the findings, professional nurses define care management for end-of-life patients based on perception and interpreted care management in line with past ideas and experiences to build understanding about palliative care concepts and principles by using knowledge with skills and learning from experience and training with management by paying attention and doing the best for patients like close relatives. The experiences of professional nurses in care management for end-of-life patients were found to include the following three main issues: 1. management for positive death experiences consisted of the following: 1) management to meet patients’ and relatives’ needs; 2) environmental situation management and 3) care/nursing quality management. 2. management of the feelings of personnel, patients, families and healthcare providers when confronted with death were as follows: 1) patients’ calm acceptance of death; 2) families, professional nurses and the multi-disciplinary team who learn, make decisions and accept patients’ departures; 3) ending treatment when the time comes to do so; 4) balance between patients’ realities and hopes; 5) self-healing under stressful conditions, disappointment and sadness; 6) empowerment of one another and 7) nurses who learn realities in life. 3. management of problems/obstacles in caring for end-of-life patients were as follows: 1) limited time and heavy workloads; 2) ineffective communication among caregiver teams; 3) insufficient skills, knowledge and capacity among caregivers and 4) attitudes and expectations of patients, families and multi-disciplinary teams about living. The data obtained from this study reflected the principles, feelings and experiences of professional nurses in care management for end-of-life patients. Furthermore, the data can be used as a baseline for managers to develop and promote nursing practice guidelines for end-of-life patient care with improved quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51217
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.774
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.774
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577333636.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.