Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51227
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร พานโพธิ์ทองen_US
dc.contributor.authorนริศรา หาสนามen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:47Z
dc.date.available2016-12-02T06:02:47Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51227
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการแสดงการเป็นผู้ฟังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสนทนาและปรากฏได้ในทุกภาษา แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังในแต่ละวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันทั้งในแง่รูปแบบ ตำแหน่ง และหน้าที่ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษารูปแบบ ตำแหน่ง และหน้าที่ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังในการสนทนาภาษาไทย อีกทั้งยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังกับถ้อยคำของผู้ที่กำลังพูดอยู่ และศึกษาเปรียบเทียบถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังในบทสนทนาสองประเภท ได้แก่ บทสนทนาแบบเน้นภารกิจและบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากการสนทนาของคู่สนทนาเพศหญิงที่มีสถานภาพเท่ากัน ได้แก่ ข้อมูลบทสนทนาแบบเน้นภารกิจ 9 คู่ ความยาว 69.23 นาที และข้อมูลบทสนทนาในชีวิตประจำวัน 9 คู่ ความยาว รวม 182.87 นาที ผลการวิจัยพบว่า รูปของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังในภาษาไทยมี 10 กลุ่ม ได้แก่ 1) ถ้อยคำสั้น ๆ 2) คำอุทาน 3) ถ้อยคำที่กล่าวซ้ำคู่สนทนา 4) คำถามสั้น ๆ 5) คำรับรอง 6) คำประเมินค่า 7) ถ้อยคำที่กล่าวต่อถ้อยคำคู่สนทนาสั้น ๆ 8) คำปฏิเสธ 9) คำสั่ง และ10) คำเชื่อม ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ฟังในภาษาไทยใช้รูปถ้อยคำที่ค่อนข้างหลากหลายเพื่อแสดงการเป็นผู้ฟัง ลักษณะการปรากฏของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การปรากฏเดี่ยว ๆ 2) การปรากฏซ้ำถ้อยคำ 3) การปรากฏร่วมระหว่างถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟัง ส่วนตำแหน่งของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ตำแหน่งของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังระดับหน่วยผลัด และ 2) ตำแหน่งของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังระดับผลัดการสนทนา ตำแหน่งของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังระดับหน่วยผลัดการสนทนามี 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งที่กล่าวจบถ้อยคำ ตำแหน่งที่กล่าวแทรกหน่วยผลัด และตำแหน่งที่กล่าวพร้อมกัน ตำแหน่งที่พบมากที่สุด คือ ตำแหน่งที่กล่าวจบถ้อยคำ ตำแหน่งของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังระดับผลัดการสนทนามี 2 ตำแหน่ง ได้แก่ 1) ตำแหน่งที่ปรากฏภายในผลัด และ 2) ตำแหน่งที่ปรากฏระหว่างผลัด ตำแหน่งระดับผลัดการสนทนาในภาษาไทยที่พบมากที่สุดคือ ตำแหน่งที่ปรากฏภายในผลัดการพูดของผู้พูด หน้าที่ของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังมี 5 กลุ่มหลัก 11 หน้าที่ย่อย ได้แก่ 1) กลุ่มแสดงการรับรู้มี 4 หน้าที่ย่อย ได้แก่ แสดงการเอื้อให้กล่าวต่อ แสดงความเข้าใจ แสดงการยืนยัน และแสดงการนึกออก 2) กลุ่มแสดงความเห็นมี 4 หน้าที่ย่อย ได้แก่ แสดงความเห็นด้วย แสดงการสนับสนุนและแสดงอารมณ์ร่วม แสดงความไม่เห็นด้วย แสดงการประเมินค่า 3) กลุ่มแสดงอารมณ์ความรู้สึก 4) แสดงภาวะกำลังคิด และ 5) แสดงการโน้มน้าวให้กล่าวต่อ จากการศึกษารูปแบบ ตำแหน่ง และหน้าที่ของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังแสดงให้เห็นว่าผู้ฟังในภาษาไทยมีแนวโน้มที่จะปฏิสัมพันธ์เชิงสนับสนุนการพูดของผู้พูดและมีส่วนร่วมในการสนทนาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังพบว่าประเภทของวัจนกรรมมีผลต่อการใช้ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟัง เช่น เมื่อผู้พูดกล่าวถ้อยคำในกลุ่มวัจนกรรมบอกกล่าวและกลุ่มวัจนกรรมชี้นำ ผู้ฟังสามารถเลือกใช้หน้าที่ของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังได้อย่างหลากหลาย ในขณะที่หากผู้พูดกล่าวถ้อยคำในกลุ่มวัจนกรรมผูกมัด ผู้ฟังเลือกใช้หน้าที่ของถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังได้ค่อนข้างจำกัด เป็นต้น เมื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังในข้อมูลบทสนทนาสองประเภท ได้แก่ ข้อมูลบทสนทนาแบบเน้นภารกิจและข้อมูลบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของบทสนทนามีผลต่อรูปแบบ ตำแหน่ง หน้าที่ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟัง และความสัมพันธ์ของถ้อยคำผู้พูดและถ้อยคำของผู้ฟัง โดยเฉพาะในเรื่องความถี่en_US
dc.description.abstractalternativeBackchannelling is a significant universal component in conversation. Although backchannels are used in conversation in every language, their forms, functions and positions might be different. This study aims at examining the forms, positions, and functions of backchannels in Thai conversation and the relation between backchannels and the speaker’s utterances. This study also compares backchannels in two types of discourses, namely task-based conversation and daily conversation. The data were collected from 69.23-minute nine dyadic task-based conversations and 182.87-minute nine dyadic daily conversations. The participants are female and of equal status. The results reveal that there are 10 forms of backchannels: 1) short utterances, 2) interjections, 3) expressions used as other-repetition, 4) short questions, 5) affirmative forms, 6) assessments, 7) short collaborative finish, 8) negations, 9) directives, and 10) conjunctions. In order to show listenership, Thai listeners adopt various types of backchannels. Based on characteristics of occurrence, backchannels can be categorized into three types--occurring individually, occurring repeatedly, and occurring in a sequence. In terms of position, backchannels are analyzed in relation to turn construction unit and turn. An analysis in relation to the turn construction unit shows that backchannels can occur at three positions--completion point, interrupting point, and overlapping point. The most preferred position of turn construction unit is the completion point. An analysis in terms of turn, on the other hand, reveals that backchannels can occur at two positions--internal turn and between turns. The most preferred position of turn is internal turn. There are eleven functions of backchannels in Thai which can be categorized into five groups: 1) showing the message is heard, including four functions—encouraging the speaker to continue speaking, showing the message is understood, confirming, and showing recognition; 2) expressing opinions, including four functions: showing agreement, supporting and showing empathy, showing disagreement, and evaluating; 3) expressing emotions; 4) showing consideration; and 5) expressing solicitation. Based on the findings in this study, it can be concluded that Thai listeners prefer to show support to their partner and eager to be cooperative. In addition, the type of speech act performed by the speaker has influence upon the use of backchannels. For instance, various types of backchannels can be found when the act performed by the speaker is in the category of representative or directive. On the contrary, limited types of backchannels are used when the act performed by the speaker is commissive. The comparative analysis of backchannels in the two types of discourses--tasked-based conversation and daily conversation reveals that the types of discourse affect the use of backchannels in terms of form, position, and function of backchannels as well as the relation between the speaker’s utterances and the listener’s utterances especially the frequency of occurrence.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.952-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- คำศัพท์
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษา
dc.subjectสนทนาวิเคราะห์
dc.subjectการสนทนา
dc.subjectThai language -- Glossaries, vocabularies, etc.
dc.subjectThai language -- Usage
dc.subjectConversation analysis
dc.subjectConversation
dc.titleถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังของผู้ร่วมสนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันในบทสนทนาภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeBackchannels adopted by participants of equal status in Thai conversationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNatthaporn.P@Chula.ac.th,ntp1142@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.952-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580142422.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.