Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51229
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร พานโพธิ์ทองen_US
dc.contributor.authorวีณา วุฒิจำนงค์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:48Z-
dc.date.available2016-12-02T06:02:48Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51229-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการกล่าวซ้ำคู่สนทนาปรากฏทั่วไปในการสนทนาทุกภาษา ทุกปริจเฉทการสนทนา และมีหน้าที่ที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร แต่การกล่าวซ้ำคู่สนทนาในแต่ละภาษาก็มีรูปแบบและหน้าที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ ชนิดของถ้อยคำ ผลัดที่เกิดการกล่าวซ้ำคู่สนทนา และหน้าที่ของการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในการสนทนาภาษาไทย และเพื่อเปรียบเทียบการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในปริจเฉท การสนทนาแบบเน้นภารกิจและปริจเฉทการสนทนาในชีวิตประจำวันในภาษาไทย ข้อมูลการสนทนาแบบเน้นภารกิจมาจากคลังข้อมูล Mister O Corpus ภาษาไทย ข้อมูลการสนทนาในชีวิตประจำวันมาจากการบันทึกเสียง การสนทนาในการสนทนาแบบเผชิญหน้า ได้ข้อมูลการกล่าวซ้ำคู่สนทนาจำนวนทั้งสิ้น 452 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่าการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในการสนทนาภาษาไทยมี 4 รูปแบบ คือ การกล่าวซ้ำทุกส่วน การกล่าวซ้ำแบบขยายความ การกล่าวซ้ำแบบตัดทอน และการกล่าวซ้ำแบบผสม ที่พบมากที่สุดคือการกล่าวซ้ำแบบขยายความ ชนิดของถ้อยคำที่กล่าวซ้ำคู่สนทนามี 11 ชนิด แบ่งเป็นหน่วยทางภาษาระดับคำ 4 ชนิด หน่วยทางภาษาระดับวลี 5 ชนิด หน่วยทางภาษาระดับประโยคที่ไม่สมบูรณ์ 1 ชนิด และหน่วยทางภาษาระดับประโยค 1 ชนิด ที่พบมากที่สุดคือการกล่าวซ้ำกริยาวลี ผลัดที่เกิดการกล่าวซ้ำปรากฏทั้งการกล่าวซ้ำคู่สนทนาและ การกล่าวซ้ำคู่สนทนาในผลัดพูดซ้อน หน้าที่ของการกล่าวซ้ำคู่สนทนามี 17 หน้าที่ จัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ หน้าที่ที่เน้นบทบาททั้งผู้ฟังและผู้พูด 6 หน้าที่ หน้าที่ที่เน้นบทบาทผู้ฟัง 6 หน้าที่ และหน้าที่ที่เน้นบทบาทผู้พูด 5 หน้าที่ หน้าที่ที่ปรากฏมากที่สุดคือการแสดงความรับรู้สิ่งที่คู่สนทนาพูด เมื่อเปรียบเทียบการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในปริจเฉทการสนทนาที่แตกต่างกันพบว่า รูปแบบ ชนิดของถ้อยคำ ผลัดที่เกิดการกล่าวซ้ำคู่สนทนา และหน้าที่ของการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในปริจเฉทการสนทนาทั้ง 2 ประเภทส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ความถี่ในการปรากฏในแต่ละปริจเฉทการสนทนา ข้อแตกต่างที่สำคัญคือปริจเฉทการสนทนาแบบเน้นภารกิจปรากฏการกล่าวซ้ำ คู่สนทนาที่ทำหน้าที่ดำเนินเรื่องต่อมากที่สุด ส่วนปริจเฉทการสนทนาในชีวิตประจำวันปรากฏการกล่าวซ้ำที่ ทำหน้าที่ยืนยันว่าคู่สนทนาเข้าใจถูกต้องมากที่สุด และการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในผลัดพูดซ้อนปรากฏในปริจเฉท การสนทนาแบบเน้นภารกิจมากกว่าที่ปรากฏในปริจเฉทการสนทนาในชีวิตประจำวัน ส่วนการกล่าวซ้ำคู่สนทนา ปรากฏในปริจเฉทการสนทนาในชีวิตประจำวันมากกว่าที่ปรากฏในปริจเฉทการสนทนาแบบเน้นภารกิจ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในการสนทนาภาษาไทยส่วนใหญ่ใช้เพื่อแสดงการมีส่วนร่วมในการสนทนาและแสดงว่าผู้กล่าวซ้ำให้ความสำคัญกับคู่สนทนา ทำให้การสนทนาดำเนินไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ประเภทของปริจเฉทและชนิดของภารกิจยังมีผลต่อรูปแบบ ชนิดของถ้อยคำ ผลัดที่เกิดการกล่าวซ้ำคู่สนทนา และหน้าที่ของ การกล่าวซ้ำคู่สนทนาในการสนทนาภาษาไทยอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeOther-repetition, an important interactional device, occurs in every discourse of all languages with various functions. Yet, their forms and functions in different languages might be different. This study aims at examining forms, parts of speech, turns, and functions of other-repetitions in Thai conversations and comparing other-repetitions in two types of discourse -- task-based conversations and daily conversations. The data elicited are from Thai Mister O Corpus task-based conversations and recorded face-to-face daily conversations. The data consist of 452 cases of the use of other-repetitions. The findings reveal that there are four forms of Thai other-repetitions -- exact repetition, expanded repetition, reduced repetition, and mixed repetition. The most preferred forms are expanded repetition. There are eleven parts of speech of other-repetitions -- four kinds of words, five kinds of phrases, a kind of incomplete sentence, and a kind of sentence. The most preferred parts of speech are verb phrases. In terms of the turn of other-repetitions, there are both repetition and overlapping repetition. Other-repetitions in Thai have seventeen functions which can be categorized into three groups -- six both-listener-and-speaker-based functions, six listener-based functions, and five speaker-based functions. The most preferred function is acknowledgement. For the analysis of other-repetitions in different discourses, the results reveal that forms, parts of speech, turns, and functions of other-repetitions in both discourses are similar but the frequency of occurrence are different. A significant difference between the use of other-repetitions in two different discourses is that in the task-based conversation, other-repetitions are mostly employed to continue the story while in the daily conversation, the most preferred function is confirmation. Overlapping repetitions occur more in the task-based conversation than in the daily conversation while repetitions occur more in the daily conversation than in the task-based conversation. The findings also indicate that other-repetitions in Thai conversations are adopted as a device to increase involvement in conversations and to show the speaker's interest in what the interlocutor says to make a smooth conversation. Furthermore, the genre of discourses and the type of tasks also affect forms, parts of speech, turns, and functions of other-repetition in Thai conversations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการกล่าวซ้ำคู่สนทนาในการสนทนาภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeOTHER-REPETITION IN THAI CONVERSATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNatthaporn.P@Chula.ac.th,ntp1142@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580172222.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.