Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51241
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ | en_US |
dc.contributor.author | ศมาภร การะเกตุ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T06:02:59Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T06:02:59Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51241 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักออกแบบระดับปฏิบัติการตามความคิดเห็นของสถานประกอบการ เพื่อนำไปสู่การนำเสนอกระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสำหรับสถาบันอาชีวศึกษา โดยใช้เครื่องมือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ประกอบการ และใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสำหรับสถาบันอาชีวศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเกี่ยวกับสภาพและความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ค่ามัธยฐาน (Median) และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติม ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสำหรับสถาบันอาชีวศึกษา มีกระบวนการดังนี้ 1) ด้านนโยบายการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสำหรับสถาบันอาชีวศึกษา สร้างแรงงานให้เป็นผู้ที่มีทักษะการปฏิบัติโดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1.1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1.2) เจตคติต่ออาชีวศึกษา 1.3) การออกแบบหลักสูตร 1.4) ปัจจัยการออกแบบหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการสอน มีองค์ประกอบดังนี้ 2.1) คุณลักษณะผู้เรียน 2.2) คุณลักษณะผู้สอน 2.3) การเรียนการสอน 2.4) แนวทางการเรียนรู้ โดยผลการวิจัยพบว่า ควรเน้นการปฏิบัติจริง เรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยส่งเสริมการออกแบบเชิงธุรกิจและสามารถนำไปจัดแสดงที่สาธารณะได้ และมีการเรียนการสอนควบคุมด้วยครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบ 3) ด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ ผลการวิจัยพบว่าผู้เรียนควรมีความรู้ทางด้านภาษา การสื่อสาร เป็นพื้นฐานอย่างดี เพื่อเป็นการต่อยอดค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังมีความอดทน มุมานะต่อการทำงาน รู้จักวางแผนการทำงานและมีทักษะการปฏิบัติควบคู่กับความคิดสร้างสรรค์ ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการวิจัยครอบคลุมสภาพและความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักออกแบบระดับปฏิบัติการของผู้ประกอบการทั้ง 3 ระดับ เช่น ผู้ประกอบการรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อย ธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น เพื่อที่จะได้ทราบสภาพและความต้องการของแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน 2. ควรมีการเก็บข้อมูลกับผู้ประกอบการที่มีแรงงานอาชีวศึกษาและไม่มีแรงงานอาชีวศึกษาในองค์กร เพื่อที่จะได้ทราบความคิดเห็นที่แตกต่างกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of these study were ; 1) to investigate the needs and the technical designers characteristics of the designed cooperation. 2) to propose the guideline of technical designer development for vocational education institutions. Two sample groups were selected from the employers and the technical designer development experts were this obtained data were analyzed by mean , percentage, median, and content analysis of suggestions and comments. The results of the study were as follows : 1) The policy of technical designer development of high skill and technical design, which consider to a) stakeholder b) attitude toward vocational education c) curriculum design d) impact factor for designing curriculum. 2) The teaching and learning of technical designer, which consider to a) qualify student b) qualify teacher c) learning Management d) way of learning e) curriculum assessment. 3) The desirable characteristics of technical designers should be consider a) A person language skilled who can communicate well with colleague b) The desirable personalities of technical designer should be patient, polite and endeavor to work and c) The desirable skill have practical skills coupled with creativity at work. Suggestion 1. Future research should include comprehensive research and need of technical designers characteristics as major enterprises to small enterprises for specify character 2. Future research should be compare the data with enterprises who no have technical designers and have technical designers in the organization. In order to know the difference. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การนำเสนอกระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสำหรับสถาบันอาชีวศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | PROPOSED PROCESSES OF TECHNICAL DESIGNER DEVELOPMENT FOR VOCATIONAL EDUCATION INSTITUTIONS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Poonarat.P@Chula.ac.th,ppoonarat@gmail.com,Poonarat.P@Chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583346727.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.