Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51250
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรสุข ตันตระรุ่งโรจน์en_US
dc.contributor.authorปาริฉัตร ละครเขตen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:03:13Z
dc.date.available2016-12-02T06:03:13Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51250
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหรือสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล ด้านเนื้อหาวิชากายวิภาคศาสตร์ และด้านความจำ กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างในการนำเสนอรูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ สื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ แผนการจัดการเรียนรู้ดิจัทัลฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นหลังเรียนผ่านสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักสำคัญ ได้แก่ (1) คุณลักษณะสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ 4 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2) เนื้อหาบทเรียน 3) กิจกรรมการเรียนรู้และแบบฝึก 4) การประเมินผล (2) กระบวนการคงอยู่ของความรู้ 7 ขั้นตอน คือ 1) รับข้อมูลจากสิ่งเร้า 2) จำเป็นภาพติดตา เสียงก้องหู 3) เข้ารหัส 4) ทบทวน 5) จัดเก็บเป็นความหมาย 6) ทบทวน 7) ค้นคืน ระลึกได้ (3) หลักการดึงความสนใจ 2 หลักการ คือ 1) หลักการองค์ประกอบและการออกแบบของสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่สามารถดึงความสนใจ 2) หลักการดึงความสนใจสำหรับสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล (4) เทคนิคช่วยจำ 4 เทคนิค คือ 1) เทคนิคเชื่อมโยง 2) เทคนิครูปทรง 3) เทคนิคเสียงคล้องจอง 4) เทคนิคห้องโรมัน 2. รูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ ที่พัฒนาขึ้น พบว่าผลการรับรองรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเหมาะสมสำหรับผู้เรียนทุกคน 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการทดลองใช้รูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยการคงอยู่ของความรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการคงอยู่ของความรู้หลังเรียน 1 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to develop a model of learning object integrating attention and mnemonic principles to promote learning retention on the learning of human anatomy and physiology. The research methods were (1) studied documents, theories, and related research study, (2) analyzed all the documents and synthesized to make a conceptual model of learning object integrating attention and mnemonic principles, (3) reviewed and revised the model, (4) validated the model by the experts, and (5) revised the model followed the comments of the experts. The sample group for validation model of learning object consisted of 12 experts. The research results revealed that: 1. The development of a learning object model integrating attention and mnemonic principles consisted of 4 components (1) The 4 essential elements of learning object: learning objective, content, drill and practice, and evaluation (2) The 7 steps of the procedure to promote learning retention: information received from stimulus, remember, encode, review, restore, review, and retrieve (3) The 4 principles of attention: principle and design, multimedia and, (4) The 4 systems of mnemonic: link, shape, rhyme, and roman room/memory palace. 2. The learning object model in which integrating attention and mnemonic principles was approved by the experts. The result indicated that the model is very good, for all students. 3. The result indicated that students who learned with the learning object model in which integrating attention and mnemonic principles had higher average scores on posttest than pretest at the level of significance .05 4. The result indicated that students who learned with the learning object model in which integrating attention and mnemonic principles had higher average scores on posttest than 1-week posttest (retention knowledge) at the level of significance .05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.18-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสื่อการสอน
dc.subjectการสอนด้วยสื่อ
dc.subjectเทคนิคช่วยการจำ
dc.subjectTeaching -- Aids and devices
dc.subjectMnemonics
dc.titleการพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลโดยผสานหลักการดึงความสนใจและเทคนิคช่วยจำเพื่อส่งเสริมการคงอยู่ของความรู้สำหรับนักศึกษาสายงานแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeThe development of a learning object model integrating attention and mnemonic principles to promote learning retention for students in medical related field, nursing, and public healthen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornsook.T@Chula.ac.th,ptantrar@gmail.com,ptantrar@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.18-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583410127.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.