Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์en_US
dc.contributor.authorวลัยภรณ์ จันทรสาขาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:03:15Z-
dc.date.available2016-12-02T06:03:15Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51252-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับมือภัยธรรมชาติของเด็กอนุบาลตามแนวคิดแบบจินตนาการ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับมือภัยธรรมชาติของเด็กอนุบาลในด้านการรับรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ และด้านการป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จำนวน 18 คน ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมฯ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้าง, การทดลองใช้, เเละการปรับปรุงโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับมือภัยธรรมชาติของเด็กอนุบาลตามแนวคิดแบบจินตนาการ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบพฤติกรรมการรับมือภัยธรรมชาติสำหรับเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เเละวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมฯ นี้มีลักษณะเป็นการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับมือภัยธรรมชาติผ่านการสอนตามแนวคิดแบบจินตนาการ โดยจัดขึ้นในช่วงเวลาพิเศษนอกตารางเรียน ประกอบด้วยภัยธรรมชาติที่มีเนื้อหา 3 ตอน ได้แก่ ก่อนเกิดภัยธรรมชาติ ระหว่างเกิดภัยธรรมชาติ และหลังเกิดภัยธรรมชาติ มีกระบวนการสอน 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 พัฒนาความเข้าใจ ขั้นที่ 3 อภิปรายการเรียนรู้ และขั้นที่ 4 ประเมินความรู้ความเข้าใจ 2) หลังการทดลอง เด็กอนุบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับมือกับภัยธรรมชาติ ด้านการรับรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ และด้านการป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were 1) to develop a program of enhancing natural disaster preparedness behaviors for kindergarteners based on imaginative approach; and 2) to study a natural disaster preparedness behaviors in which consist of identification disasters and protection in disasters. This research was quasi-experimental designs; The One-Group Pretest-Posttest Time-Series Design. The samples were 18 of kindergartener-2 in 6 Cycle of Commemoration School. The method of study consist of 3 phases, namely, construction, field test and revision of the program. The research duration was 10 weeks. The research instrument was a test of natural disaster preparedness behaviors for kindergarteners. The data was statistically analyzed by using the arithmetic mean, standard deviation and repeated measures ANOVA. The research results were as follows: 1) This program was organizing learning process about natural disaster preparedness behaviors which held in special class. Features of the program were consisted of 3 contents in each disaster; Before disasters, During disasters and After disasters. There were 4 instructional processes; Making wonder, Developing understanding, Learning discussion, and Evaluation knowledge and understanding. 2) After the experiment, the samples had the natural disaster preparedness behaviors mean scores higher than before the experiment at .01 significant level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับมือภัยธรรมชาติสำหรับเด็กอนุบาลตามแนวคิดแบบจินตนาการen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A PROGRAM ENHANCING NATURAL DISASTER PREPAREDNESS BEHAVIORS FOR KINDERGARTENERS BASED ON AN IMAGINATIVE APPROACHen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPattamasiri.T@Chula.ac.th,Pattamasiri.T@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583431327.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.