Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสกลรัชต์ แก้วดีen_US
dc.contributor.authorอุรชา แสงทองen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:03:19Z-
dc.date.available2016-12-02T06:03:19Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51257-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิง (2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป (3) เปรียบเทียบความใฝ่เรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิง (4) เปรียบเทียบความใฝ่เรียนรู้ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้องเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยครั้งนี้คือ (1) แบบวัดความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (2) แบบวัดความใฝ่เรียนรู้ (3) แบบสังเกตความใฝ่เรียนรู้ และ (4) แบบสัมภาษณ์ความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เท่ากับ 57.49 จัดอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยความใฝ่เรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยความใฝ่เรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to (1) study students' ability in using science knowledge after learning through the inquiry model of Alberta Learning, (2) compare students' ability in using science knowledge between groups learning through the inquiry model of Alberta Learning and groups learning through the conventional method, (3) compare students' learning avidity before and after learning through the inquiry model of Alberta Learning, and (4) compare students' learning avidity between groups learning through the inquiry model of Alberta Learning and groups learning through the conventional method. The samples were two classes of ninth-grade students from an extra-large sized school under the Secondary Educational Service Area Office 2 in Bangkok. The research instruments were (1) ability in using science test, (2) learning avidity test, (3) learning avidity observation form, and (4) avidity for learning interview questions form. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, t-test. Data collected from interview were used as additional information on student's learning avidity. The research findings were summarized as follows: 1) After learning though the inquiry model of Alberta Learning, the percentage mean scores of lower secondary school students on ability in using science knowledge was 57.49 and rated at moderate level. 2) The mean scores of students' ability in using science knowledge after learned though the inquiry model of Alberta Learning was higher than that of the control group at 0.05 level of significance. 3) The mean scores of students' avidity for learning after learned though the inquiry model of Alberta Learning was higher than mean scores before learned. 4) The mean scores of students' avidity for learning after learned though the inquiry model of Alberta Learning was higher than that of the control group at 0.05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงที่มีต่อความสามารถในการใช้ความรู้และความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF SCIENCE INSTRUCTIONAL INQUIRY MODEL OF ALBERTA LEARNING ON ABILITY IN USING SCIENCE KNOWLEDGE AND AVIDITY FOR LEARNING OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWatcharaporn.K@Chula.ac.th,Sakolrat.K@chula.ac.th,watcharapornkwd@gmail.com,sakolrat.k@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583485227.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.