Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51283
Title: ปัญหาขอบเขตความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างตามมาตรา 425 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Other Titles: Problem on the scope of employer's liability in article 425 of civil and commercial code
Authors: พรรณนิษา สุขพันธุ์
Advisors: อังคณาวดี ปิ่นแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Angkanawadee.S@Chula.ac.th,angkanawadee@yahoo.com,angkanawadee@yahoo.com
Subjects: ความรับผิดของนายจ้าง -- ไทย
ความรับผิดของนายจ้าง -- อังกฤษ
ความรับผิดของนายจ้าง -- ฝรั่งเศส
ความรับผิดของนายจ้าง -- เยอรมนี
กฎหมายแรงงาน -- ไทย
Employers' liability -- Thailand
Employers' liability -- England
Employers' liability -- France
Employers' liability -- Germany
Labor laws and legislation -- Thailand
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาถึงขอบเขตความรับผิดของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ว่ามีข้อจำกัดหรือไม่อย่างไร โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างฯ และแนวทางการปรับใช้กฎหมายในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี โดยพิจารณาปัญหาของมาตรา 425 ในการใช้ถ้อยคำว่า นายจ้างและลูกจ้าง ข้อจำกัดในการบังคับใช้มาตรา 425 ในกรณีการทำงานรูปแบบใหม่ ได้แก่ การจ้างงานผ่านบริษัทรับเหมาทำงานให้องค์กร (Outsourcing Service) การจ้างงานผ่านบริษัทตัวแทน (Agency Worker) หรือการทำงานของผู้รับจ้างอิสระบางประเภท (Freelance) จากการศึกษากฎหมายไทย พบว่า ความรับผิดของนายจ้างในการกระทำละเมิดของลูกจ้างตามมาตรา 425 นั้น มีการใช้ถ้อยคำว่า นายจ้างและลูกจ้าง ทำให้ขอบเขตการบังคับใช้เป็นไปอย่างแคบ เพราะความรับผิดของนายจ้างดังกล่าวจะถูกจำกัดว่าต้องมีความสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575 เท่านั้น ส่งผลให้ไม่ครอบคลุมการทำงานในรูปแบบใหม่ แต่ในกรณีกฎหมายอังกฤษ พบว่า ความรับผิดของนายจ้างตามหลัก Vicarious Liability ก็ถูกจำกัดว่าต้องมีสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นเช่นกัน แต่ศาลอังกฤษสามารถแก้ปัญหาขอบเขตที่จำกัดดังกล่าวโดยสร้างหลักกฎหมายเรื่องการเกิดสัญญาจ้างแรงงานโดยปริยายขึ้น ทำให้สามารถปรับใช้หลัก Vicarious Liability ได้กว้างมากขึ้น ส่วนความรับผิดของนายจ้างตามกฎหมายเยอรมันและฝรั่งเศส พบว่า ทั้งสองประเทศใช้ถ้อยคำในลักษณะกว้างกว่าคำว่านายจ้างและลูกจ้าง ทำให้ความรับผิดในเรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงงานเท่านั้น ก็อาจต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดด้วยหากเข้าหลักเกณฑ์ความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว เมื่อนำมาตรา 425 มาพิจารณาปรับใช้กับการทำงานรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม พบว่า ในกรณีที่ไม่มีความผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานก็จะไม่สามารถปรับใช้มาตรา 425 เพื่อกำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำงานที่ทำละเมิดมาร่วมรับผิดได้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ควรกำหนดแนวทางความรับผิดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ความรับผิดของกฎหมายฝรั่งเศสและเยอรมันว่า เมื่อมีบุคคลหนึ่งทำงานเพื่อประโยชน์ของอีกบุคคลหนึ่ง โดยเพื่อให้ได้รับสินจ้างตอบแทน และอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของอีกบุคคลหนึ่งนั้น แม้ไม่มีสัญญาจ้างแรงงานต่อกันก็ตาม หรือในกรณีไม่มีอำนาจบังคับบัญชาที่ชัดเจนแต่มีการทำงานเพื่อประโยชน์ของอีกบุคคลหนึ่งมาเป็นเวลานานแล้ว บุคคลที่ได้รับประโยชน์ก็ต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 425 ด้วย ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอแนะให้แก้ไขบทบัญญัติมาตรา 425 เป็นดังนี้ โดยตัดคำว่า นายจ้างและลูกจ้างออกไป และใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกว้างกว่า เช่น คำว่า ผู้ใช้ให้ทำการงาน กับผู้ทำการงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกจำกัดว่าต้องเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น โดยจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ความรับผิดที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถปรับใช้ความรับผิดตามมาตรา 425 ได้กว้างขึ้น และครอบคลุมการทำงานรูปแบบใหม่ได้มากขึ้นต่อไป
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the scope of the employer’s tortious liability committed by hit employees according to section 425 of Civil and Commercial Code by comparing with laws and rules on employee’s tortious liability and the application of law in England, France and Germany, specifically, in the new course of works i.e., Outsourcing Service, Agency Worker and Freelance. From the study of Thai law, the vicarious liability of employer for his employee’s wrongful acts according to section 425 uses the word employer and employee which narrow down the application of law since the relationship between employer and employee is limited to hire of services in Section 575 only. Therefore, the new course of services is excluded. On the other hand, under English law, the scope of law is also limited to hire of services but the court can resolute such narrow application by creating implication law on hire of services. Thus, the vicarious liability can be applied broader. Meanwhile, under France and German law, the scope of liability is legislated broader than employer and employee. Hence, the liability in not limited to hire of services relationship and the vicarious liability can occur when the criteria set forth by law is met. When applying Section 425 with the course of services in society, if there is no relationship according to hire of services, Section 425 is not applicable to regulate the involving parties to be liable vicariously. In order to make involving parties be liable jointly with the one who committed wrongful acts, the writer suggests that the rules of liability should be similar to France and German law. When a person works for another’s benefit, being paid and the performance in under another’s command, even the absence of hire of services contract or power of command, the work for another person for some period of time should be sufficient for such person to be liable vicariously according to Section 425. Therefore, Section 425 should be amended by replacing the terms “employer and employee” with broader terms such as a person who uses another person to perform a task and worker so that the relationship will not be limited to hire of services only. Also, the rules of liability should be indicated clearly for applicability under Section 425 and the scope will be broadening to include new course of services.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51283
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.635
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.635
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586007534.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.