Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51285
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปาen_US
dc.contributor.authorสิทธิศักดิ์ สุขปักษาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:03:58Z-
dc.date.available2016-12-02T06:03:58Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51285-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและสถานะของหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีประเด็นปัญหาว่าความหมาย องค์ประกอบและสถานะของหลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญยังไม่มีความชัดเจน ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ศึกษาแนวความคิดทั่วไปของหลักนิติธรรม และหลักนิติธรรมในระบบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตลอดจนหลักนิติธรรมในประเทศไทยทั้งในส่วนของที่มาและเจตนารมณ์หลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และการนำหลักนิติธรรมมาใช้บังคับโดยองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ความหมาย องค์ประกอบและสถานะของหลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้เกิดความชัดเจนต่อไป จากการศึกษาพบว่าหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีที่มาและเจตนารมณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การป้องกันการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน และการทำให้การตรวจสอบและการถ่วงดุลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมโดยอยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ทั้งยังต้องสามารถอธิบายและให้เหตุผลได้ นอกจากนี้ จากการศึกษาการนำหลักนิติธรรมมาใช้บังคับโดยศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง พบว่าองค์กรดังกล่าวได้มีบทบาทสำคัญในการทำให้หลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือ องค์กรดังกล่าวได้ให้ความหมาย และวางหลักเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยมีความสอดคล้องกับที่มาและเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และโดยมีความสัมพันธ์กับบทบัญญัติอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ และในส่วนสถานะของหลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะเป็นหลักการที่มีค่าบังคับในระดับรัฐธรรมนูญนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการวางหลักเกี่ยวกับสถานะของหลักนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าหลักนิติธรรมมีสถานะเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะไว้ 4 ประการ ประการที่ 1 องค์กรต่าง ๆ ควรปฏิบัติตามหลักนิติธรรมโดยคำนึงถึงแนวทางตามที่ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้มีการให้ความหมาย และวางหลักเกี่ยวกับองค์ประกอบและสถานะของหลักนิติธรรมไว้ ประการที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองควรมีการวางหลักเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักนิติธรรมโดยสัมพันธ์กับบทบัญญัติอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ ประการที่ 3 องค์กรต่าง ๆ ควรมีการนำแนวความคิดหลักนิติธรรมมาใช้บังคับในแนวทางเดียวกันโดยคำนึงถึง “คำ” ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ และประการที่ 4 สังคมไทยควรที่จะต้องมีการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักนิติธรรมให้มากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to explore the concept and the status of the Rule of Law under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 (the “Constitution)”, which the meaning, elements and status of such are ambiguous. The researcher therefore study the basic concept of the Rule of Law and the Rule of Law under the other countries’ legal system, which are the United Kingdom, the United States of America and Germany, together with the Rule of Law under the Constitution, in the aspect of sources and spirit of such, and the Rule of Law enforcement by the relevant authorities, for instance the Constitutional Court and the Administrative Court, in order to elucidate the ambiguities by analyzing the meaning, elements and status of the Rule of Law under the Constitution. From the study, the researcher has found that the Rule of Law under the Constitution was enacted with the purpose to protect the individual rights and liberties, to prevent the absolute and unjust use of authorities’ power, to prevent the conflict of interest, and to enhance the efficiency of the check and balance, by requiring the authorities to perform their duties in accordance with to the Rule of Law based on the constitutional law and any other laws, and those executions must be explicable and reasonable. In addition, the study on the execution of the Rule of Law by the Constitutional Court and the Administrative Court shows that such authorities have the important role in making the Rule of Law under the Constitution more explicit. The Constitutional Court and the Administrative Court have provided the meaning and elements of the Rule of Law under the Constitution in the consistent path with the source and spirit of such, and with other constitutional provisions. For the status of the Rule of Law under the Constitution, the Constitutional Court has ruled that such Rule of Law is a significant fundamental principle of the Constitution. The researcher, therefore, provides 4 suggestions. Firstly, the authorities should comply with the Rule of Law and follow the precedent rule related to the definition, the elements and status of the Rule of Law that the Constitutional Court and the Administrative Court provided. Secondly, the Constitutional Court and the Administrative Court should rule the concept of elements of the Rule of Law to be consistent with other constitutional provisions. Thirdly, the authorities should execute the Rule of Law concept by concerning “wording” specified in the Constitution in the consistent path, and, lastly, Thai citizens should have more understanding in the Rule of Law.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.655-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหลักนิติธรรม -- ไทย-
dc.subjectหลักนิติธรรม -- อังกฤษ-
dc.subjectหลักนิติธรรม -- อเมริกา-
dc.subjectหลักนิติธรรม -- เยอรมัน-
dc.subjectรัฐธรรมนูญ -- ไทย-
dc.subjectรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550-
dc.subjectRule of law -- Thailand-
dc.subjectRule of law -- England-
dc.subjectRule of law -- United States-
dc.subjectRule of law -- Germany-
dc.subjectConstitutions -- Thailand-
dc.subjectConstitutional law -- Thailand-
dc.titleแนวความคิดและสถานะของหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550en_US
dc.title.alternativeThe concept and status of the rule of law according to the constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManit.J@Chula.ac.th,manit_j@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.655-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586037334.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.