Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิสิต ตัณฑวิเชฐen_US
dc.contributor.authorครองขวัญ เฉลิมพิชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:03:58Z-
dc.date.available2016-12-02T06:03:58Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51286-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนที่สะอาดและยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทยโดยมุ่งพิจารณาที่ภาคขนส่งของประเทศไทย โดยพิจารณาสัดส่วนความเป็นไปได้ในการใช้ก๊าซไฮโดรเจนในฐานะพลังงานทางเลือกในภาคขนส่งโดยกำหนดขอบเขตที่รถยนต์แบบนั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กและมุ่งประเด็นในการพิจารณาระยะเริ่มต้น เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยใช้แผนนโยบายพลังงานจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และศึกษาศักยภาพในการผลิตไฮโดรเจนในประเทศไทยว่าสามารถรองรับความต้องการพลังงานไฮโดรเจนในปริมาณนั้นได้เพียงใด และศึกษาแนวคิดในการปรับปรุงหรือเพิ่มศักยภาพในการผลิตไฮโดรเจนในประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น โดยพิจารณาความเหมาะสมตั้งแต่ ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต เทคโนโลยีการผลิต การจัดเก็บ และการขนส่งที่เหมาะสม และพิจารณาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นโดยทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสียของพลังงานจากไฮโดรเจน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้จริงในประเทศไทยในอนาคต จากการศึกษาพบว่าสำหรับประเทศไทยแล้ว แนวโน้มการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นคือ ขั้นตอนการวางนโยบาย และศึกษาต้นทุนของการก่อสร้างสถานีจ่ายและผลิตไฮโดรเจน อีกทั้งรัฐบาลยังไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจนให้ประชาชนรับทราบ จึงคาดว่าหากรัฐบาลยังไม่เริ่มประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน และยังไม่ลงทุนสร้างสถานีผลิตและจ่ายพลังงานไฮโดรเจนในปีพ.ศ. 2559 เป้าหมายที่จะผลิตพลังงานไฮโดรเจนให้ได้ 100,000 กิโลกรัมในปีพ.ศ.2560 อาจต้องเลื่อนออกไปอีก ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีความล้าหลังในการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ในประเทศen_US
dc.description.abstractalternativeThe possibility of using hydrogen as an alternative energy in the transport section, with the focus on the private cars, in Thailand is studied. The study considered the current technologies and economics of fuel cell cars and hydrogen (including production, storage, transposition and basic infrastructure) and consumers’ knowledges and opinions with the outlook for replacing gasoline engine cars with fuel cell cars run by hydrogen. The study was based on the energy policy set by The Thai’s Energy Policy and Planning Office, Department of Energy, envisioning the initial phase beginning in 2017, where 100,000 kg hydrogen is planned to use in the transportation. The advantages, disadvantages and obstacles of using hydrogen in the transportation in Thailand are revealed. The study showed that using hydrogen energy in the transportation is still in the initial stage and is required much more works and efforts to reach the set target. Even though the technology of fuel cell cars is mature enough to compete with the current internal combustion engine cars, several shortcomings are needed to be addressed, such as the fuel cell cars’ prices, the city infrastructure, and the costs of hydrogen production and hydrogen filling stations. The government’s policies are expected to play a major role in making it happen. The government is needed to show a stronger support, otherwise the country will lag behind in the implementation of hydrogen energy in the country.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleความเป็นไปได้ของการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนในประเทศไทยในอนาคตen_US
dc.title.alternativeTHE POSSIBILITY OF USING HYDROGENENERGY IN THAILAND IN THE FUTUREen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNisit.T@Chula.ac.th,nisit.t@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587502020.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.