Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5128
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธเรศ ศรีสถิตย์ | - |
dc.contributor.author | วลัยพร ผ่อนผัน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2007-12-26T01:42:24Z | - |
dc.date.available | 2007-12-26T01:42:24Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741759827 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5128 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | นำกากขี้แป้งของเสียจากโรงงานผลิตน้ำยางข้น มาใช้ประโยชน์ร่วมกับกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง ในการทำเป็นวัสดุบำรุงดินสำหรับการเกษตรกรรม กำหนดการทดลองทำในกระถาง ในหน่วยทดลองแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่พืชต้องการลงไปในดินในอัตราที่เหมาะสมต่อการเติบโตต่อพืช กลุ่มที่ 2 ใส่กากขี้แป้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง กลุ่มที่ 3 กลุ่มควบคุม ไม่มีการเติมสิ่งใดในดิน และศึกษาการเติบโตของพืชทดลอง 3 ชนิดคือ ผักกาดหอม มะเขือเทศ และข้าว โดยศึกษาคุณลักษณะของดินกากขี้แป้งและกากตะกอน ก่อนการเพาะปลูก ศึกษาลักษณะการเติบโต ปริมาณธาตุอาหารที่พืชได้รับและที่สะสมในดินภายหลังการเก็บเกี่ยว ศึกษาหาปริมาณการสะสมสังกะสีในดินและในพืชที่ทดลอง หาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใส่กากขี้แป้งและกากตะกอน จากการศึกษาลักษณะสมบัติของดิน กากขี้แป้งและกากตะกอนก่อนการเพาะปลูกพบว่า ไม่มีข้อจำกัดในการนำกากขี้แป้งและกากตะกอนไปใช้ประโยชน์ ในการทำเป็นวัสดุบำรุงดินในการปลูกพืช สำหรับอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อเป็นวัสดุบำรุงดิน ในการทดลองปลูกผักกาดหอม มะเขือเทศและข้าว พบว่าอัตราส่วนผสมระหว่างดิน : กากขี้แป้ง : กากตะกอนในอัตราส่วน 1:3:1 เพราะทำให้การเติบโตของพืชทดลองไม่มีอาการขาดธาตุอาหารพืชแต่อย่างใด พิจารณาจากการสะสมธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในพืชซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเติบโต และผลผลิตที่ได้จากพืชมีน้ำหนักแห้งไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมี การสะสมธาตุอาหารในดินหลังการปลูกพบว่า ไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,119-1,132.5 mg/kg ฟอสฟอรัสมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 297.56-310.90 mg/kg และโพแทสเซียมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 366-384.5 mg/kg เป็นปริมาณการสะสมธาตุอาหารที่สามารถเป็นแหล่งธาตุอาหาร ไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืช และพบว่ามีปริมาณการสะสมสังกะสีในดินอยู่ในช่วง 0.44-1.64mg/kg ค่าที่ได้อยู่ในช่วงที่ยอมรับให้มีได้ในดินเพื่อการเกษตร กล่าวคือไม่เกิน 280-300 mg/kg | en |
dc.description.abstractalternative | To study the utilization of lutoid from a rubber latex factory and sludge of wastewater treatment from a poultry factory as a soil conditioner for agriculture. Pot experiments were separated into 3 groups: one using the chemical of fertilizers in proper ratio, the second one planted by using the lutoid from a rubber latex factory and sludge of wastewater treatment from a poultry factory, and the last group was planted in normal environment. The experiments studies the growth rate of 3 types of vegetables: lettuce, tomato and rice. By using lutoid as a soil conditioner, this study tried to find the ratios between soil, lutoid and sludge that give the highest growth rate for those three vegetable plants. The concentrations of nitrogen, phosphorus, potassium, and zinc in soil, lutoid, and sludge were measured both before planting and after harvesting in the experiments. The result showed that lutoid and sludge can be nutritional resources for plants. The optimum ratio for soil : lutoid : sludge is 1:3:1. On this ratio, results of the retained nutrition and dry weight is almost similar to planting by chemical fertilizers. Analyzing of dry soil weight after harvesting, found that the average range is 1119-1132.5 mg/kg for nitrogen, 297.56-310.90 mg/kg for phosphorus and 366-384.5 mg/kg for potassium. These ranges can be the same nutrient resource as planting by chemical fertilizers. The retaining of zinc concentration in soil after harvesting was 0.44-1.64 mg/kg which is less than the standard concentration for soil. | en |
dc.format.extent | 42017078 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กากขี้แป้ง | en |
dc.subject | น้ำยาง | en |
dc.subject | ของเสียจากโรงงาน | en |
dc.subject | กากตะกอนน้ำเสีย | en |
dc.subject | ธาตุอาหารพืช | en |
dc.title | การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน | en |
dc.title.alternative | Utilization of the lutoid of rubber latex industry in term of soil conditioner | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Thares.S@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Walaiporn.pdf | 41.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.