Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีรพล แสงปัญญาen_US
dc.contributor.advisorชุติมา สุรเศรษฐen_US
dc.contributor.authorจฤณญา จินาศรีพูลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:04:19Z-
dc.date.available2016-12-02T06:04:19Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51300-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างความซื่อสัตย์โดยการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดนนทบุรี ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 จำนวน 80 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสำหรับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสำหรับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความซื่อสัตย์ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสำหรับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองและระยะติดตามผลนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสำหรับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยคะแนนความซื่อสัตย์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลังการทดลองและระยะติดตามผลนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสำหรับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยคะแนนความซื่อสัตย์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เข้าร่วมกิจกรรมตามหลักสูตรของโรงเรียนตามปรกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe research is a Quasi-experimental study. The purpose was to study effects of honesty enhancement using case-based learning of fourth grade students. Participants comprised 80 fourth grade students from Her Majesty Queen Sirikit 60th Birthday Anniversary School in Changwat Nonthaburi who enrolled for the 2015 academic year. The participants were allocated to two groups the including an experimental group and a control group. The experimental group received honesty enhancement using case-based learning and the control group did not received it. Each group consisted of 40 students. The research instruments were honesty scale and the case-based learning lesson plan for honesty enhancement of fourth grade students. T-test and repeated measures ANOVA were employed for data analysis. The results were as follows: 1) Posttest and follow-up scores of honesty of the experimental group were significantly higher than pretest scores at the .01 level of significance. 2) Posttest and follow up scores of honesty of the experimental group were significantly higher than those of the control group at the .01 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเสริมสร้างความซื่อสัตย์โดยการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4en_US
dc.title.alternativeHONESTY ENHANCMENT USING CASE-BASED LEARNING OF FOURTH GRADE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWeeraphol.S@Chula.ac.th,createpanya@hotmail.comen_US
dc.email.advisorChutima.P@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683310127.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.