Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51302
Title: แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเรียนศิลปะปฏิบัติของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Guidline for using online social network in a studio art program of undergraduate students
Authors: ณัฐกานต์ ประทุม
Advisors: อินทิรา พรมพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Intira.P@Chula.ac.th,Intira.p@gmail.com,Intira.P@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
เครือข่ายสังคมออนไลน์
Art -- Study and teaching
Online social networks
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมและส่งเสริมการเรียนศิลปะปฎิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนศิลปะปฏิบัติ จำนวน 22 คน นิสิตนักศึกษา จำนวนทั้งหมด 360 คน จาก 8 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การนำเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วยในเรื่องข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ เพิ่มช่องทางให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกิดแนวความคิดใหม่นำมาพัฒนาตนเอง โดย 1) การเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงาน เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทการแบ่งปันเนื้อหากันระหว่างผู้ใช้มีความเหมาะสมมากที่สุด ช่วยในการเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสร้างผลงาน 2) การแก้ปัญหาในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อระหว่างอาจารย์และนิสิตนักศึกษา แบ่งปันข้อมูลความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 3) การสร้างอุดมคติและแรงบันดาลใจในการทำงาน สามารถใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกประเภทเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและใช้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแนวความคิด 4) การแสดงผลงานเพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้สึก เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเหมาะสมมากที่สุด ช่วยให้นักศึกษามีพื้นที่ในการนำเสนอผลงานสู่สาธารณะได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 5) การพิจารณาและสังเกตผลงานอย่างละเอียด เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทแบ่งปันเนื้อหากันระหว่างผู้ใช้มีความเหมาะสมมากที่สุด ช่วยให้นิสิตนักศึกษาพิจารณาผลงานของตนเองและศิลปินท่านอื่นได้อย่างสะดวก 6) การแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานต่างๆ เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเหมาะสมมากที่สุด นิสิตนักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันมากขึ้น 7) การพิจารณาผลงานของผู้อื่นเพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ในแวดวงศิลปะ เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยศึกษาจากแฟนเพจหรือเว็บไซต์ทั้งของไทยและต่างประเทศ 8) การศึกษาศิลปะประเภทต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเหมาะสมมากที่สุด ช่วยให้นิสิตนักศึกษามีฐานความรู้ที่ดีขึ้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย อาจารย์ผู้สอนควรมีหน้าที่สำคัญในการแนะนำนิสิตนักศึกษาในการค้นคว้า คัดกรองข้อมูล และการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในแบบที่เหมาะสม
Other Abstract: The objective of this study was to propose guidelines for using appropriate social network to facilitate studio art program. The samples of this study were consisted of 22 studio art teachers and 360 students from 8 universities, which were Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University, Chiang Mai University, Khon Kaen University, Burapha University, Prince of Songkla University, Ramkhamhaeng University, and Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The instruments used in this study were interview form, questionnaire, and observation form. The quantitative data was analysed by calculating percentage, mean, and standard deviation. The interview and observation data were analysed by using content analysis. The results showed that integrating social network into studio art program increased class learning efficiency, minimized time and space limitation, increased student learning and research channel, and encouraging idea and development. 1) For develop craft, the most appropriate social network is content community that helps students to learn new art techniques and how to develop the art work. 2) For engage & persist, the most appropriate type of social network is social networking site or SNS which can be the media connecting between teacher and students and be the channel for information sharing. 3) Every type of social network can be used to develop envision and inspiration. 4) To express the idea and expression, the most appropriate type of social network is SNS which provides the space that students can conveniently present their work publicly. 5) To observe, the most appropriate social network is content community which helps students to discuss about their work and others’ conveniently. 6) Blog is the most appropriate type for stretch & explore that allows students to discuss and share their idea. 7) To understand art world, SNS is the most appropriate type of social network. 8) From the literature review, Collaborative project is the most appropriate type of social network that helps students to learn and build up the better knowledge base. The result recommends teachers to establish the important roles in advising student how to learn, research, and using social network appropriately.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51302
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1207
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1207
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683332027.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.