Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51320
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุen_US
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิชen_US
dc.contributor.authorชัยยุทธ กลีบบัวen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:04:40Z-
dc.date.available2016-12-02T06:04:40Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51320-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2) เพื่อระบุความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่มีคุณลักษณะตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญต่างกัน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้นิสิตนักศึกษาแต่ละกลุ่มมีคุณลักษณะตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญต่างกัน 4) เพื่อเสนอกลยุทธ์การเรียนการสอนที่สำคัญและเหมาะสมในการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญผ่านหมวดวิชาศึกษาทั่วไป การวิจัยนี้แบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้และเครื่องมือวัด โดยพัฒนาตัวบ่งชี้จากการสัมภาษณ์แบบขั้นบันได (laddering interview) กับผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการตามแนวคิดการวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยง ความตรง อำนาจจำแนก กับตัวอย่างวิจัยที่เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 100 คน ระยะที่ 2 การระบุและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญ ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 632 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญที่ผ่านการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์กลุ่มแฝง การวิเคราะห์ตารางไขว้ การวิเคราะห์สมนัยอย่างง่าย (simple correspondence analysis) ระยะที่ 3 การกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอนสำหรับเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญ โดยการบูรณาการผลการวิจัยในระยะที่ 1 และ 2 พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้ผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ 1) ทักษะการคิดและแก้ปัญหาแบบองค์รวม 2) ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 3) การเคารพต่อความแตกต่าง และ 4) สำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวม ตัวบ่งชี้ทั้ง 4 สามารถพัฒนาเป็นแบบประเมินที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ร่วมกับสคริปต์คอนคอร์แดนซ์ (script concordance test) แบบประเมินมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.800-1.000 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ในช่วง 0.753 ถึง 0.906 มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างผู้ประเมินอยู่ในช่วง 0.494 - 0.897 โมเดลการวัดของทุกตัวแปรสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถจำแนกกลุ่มผู้ตอบที่มีคะแนนสูงออกจากกลุ่มผู้ตอบที่มีคะแนนต่ำได้ทุกตัวแปร 2. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของนิสิตนักศึกษาตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญ พบว่าสามารถจำแนกนิสิตนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เริ่มต้น (ร้อยละ 15.190) มีคุณลักษณะตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญในทุกมิติใกล้เคียงกัน แต่มีระดับต่ำกว่ากลุ่มอื่น 2) กลุ่มกลาง (ร้อยละ 42.405) มีคุณลักษณะตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญในมิติด้านสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวมและการเคารพต่อความแตกต่างสูงกว่ามิติด้านทักษะการคิดและแก้ปัญหาแบบองค์รวม 3) กลุ่มสูง (ร้อยละ 42.405) มีคุณลักษณะตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญในทุกมิติสูงกว่ากลุ่มอื่น โดยมีคุณลักษณะด้านสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวมสูงที่สุด ผลการระบุความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญ พบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างทักษะการคิดและแก้ปัญหาแบบองค์รวมมากที่สุด นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่มีแนวโน้มทำให้นิสิตนักศึกษาแต่ละกลุ่มมีคุณลักษณะตามผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญต่างกัน ได้แก่ ประสบการณ์ในการเรียนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและความแตกต่างของเนื้อหาวิชาที่นิสิตนักศึกษาเรียนในแต่ละคณะ 3. กลยุทธ์ในการเรียนการสอนที่สำคัญสำหรับเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญผ่านหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ 1) กลยุทธ์การเรียนการสอน ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ลักษะของผู้สอน กิจกรรม/งานที่ใช้พัฒนาผู้เรียน และการสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมการเรียนการสอน และ 2) กลยุทธ์การเรียนการสอนแบบเน้นเสริมสร้างผลการเรียนรู้ที่เป็นแก่นสาระสำคัญen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) develop the indicators and measuring tools for the essential learning outcomes of General education courses for undergraduate students, 2) identify the needs in enhancing the essential learning outcomes of the students based on their levels of essential learning outcomes, 3) analyze the important factor that influences the students in each group with different levels of essential learning outcomes, and 4) propose the important and optimal learning strategies to enhance the students’ essential learning outcomes in General education courses. The study was divided into 3 stages. Stage 1 was the development of the indicators and measurement tools for essential learning outcomes. Data were collected using the laddering interview with 11 educational experts and analyzed using the concept of Means-End Chain to identify the essential learning outcomes. A set of indicators and measurement tools were then developed, based on the pre-specified essential learning outcomes, and validated by using data from 100 undergraduate students. Stage 2 was to analyze the needs in enhancing the students’ essential learning outcomes, using data collected by the tools developed in Stage 1 completed by 632 graduate students. Samples in Stages 1 and 2 were randomly selected from 18 faculties in Chulalongkorn University. The data were analyzed using descriptive statistics, latent class analysis, and simple correspondence analysis. Finally, Stage 3 was conducted to develop guidelines for learning strategies to enhance the students’ essential learning outcomes in General education courses, based on the results from Stages 1 and 2 as well as additional data interviewed educational experts in General education. The key findings could be summarized as follows: 1. The essential learning outcomes of General education courses included 1) thinking skills and problem solving in holistic approach, 2) teamwork skills, 3) respect in differences, and 4) common interest consciousness. These learning outcomes could be assessed by 5-point rating scales in accordance with script concordance tests. The measurement tools showed high levels of content validity (IOC between 0.800 – 1.000), Cronbach's alpha coefficients ranged from 0.753-0.906, and inter-rater reliability coefficients ranged from 0.494 - 0.897. The measurement model of each essential learning outcome fitted well with empirical data, and could effectively discriminate the respondents with high scores from low scores. 2. The result of latent class analysis revealed that the students could be divided into 3 classes: the beginner (15.190%), moderate (42.405%), and high classes. These three classes of undergraduate students emergently needed to develop their thinking skills and problem solving in holistic approach. Additionally, differences in learning experience in General education courses seemed to arise from differences in instructors’ characteristics. 3. The strategic guidelines for the course of study to enhance undergraduate students’ essential learning outcomes in General education courses together with the form of the course of study, characteristics of the tutors, learning activities/tasks, and appropriate learning conditions were proposed and discussed in details in this study.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleตัวบ่งชี้และกลยุทธ์การเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ผ่านหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิสิตนักศึกษา: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมายและการวิเคราะห์กลุ่มแฝงen_US
dc.title.alternativeINDICATORS AND STRATEGIES FOR ENCHANCING THE WHOLE PERSON OF UNIVERSITY STUDENTS THROUGH GENERAL EDUCATION COURSES: APPLYING OF MEANS-END CHAIN AND LATENT CLASS ANALYSISen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.comen_US
dc.email.advisorSuwimon.W@Chula.ac.th,wsuwimon@gmail.comen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684205127.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.