Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51339
Title: การศึกษาแบบสุ่มเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาด้วย 595 นาโนเมตร พัลส์ดายเลเซอร์ในระยะแรกต่อรูปลักษณ์ของแผลเป็นภายหลังการผ่าตัดคลอด
Other Titles: A randomized control trial, the efficacy of early 595-nm pulsed dye laser (PDL) treatment in the scar appearance of unfavorable cesarean section scar
Authors: ณัฐพล อยู่ปิยะ
Advisors: มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Marisa.P@chula.ac.th,dr_marisa@yahoo.com,dr_marisa@yahoo.com
Subjects: แผลเป็น
การผ่าท้องทำคลอด
แสงเลเซอร์ทางศัลยกรรม
Scars
Cesarean section
Lasers in surgery
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา:การผ่าตัดคลอดเป็นหัตถการที่มีการทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และการหายของแผลผ่าตัดนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แผลเป็นนูนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ภายหลังการผ่าตัดคลอด ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บตึงรวมไปถึงอาจมีผลต่อความสวยงามและผลกระทบทางจิตใจได้ มีการศึกษาพบว่าการให้การรักษาแผลผ่าตัดด้วยพัลส์ดายเลเซอร์ ตั้งแต่ระยะแรกอาจจะช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นนูนได้ แต่พบว่ายังมีการศึกษาในคนเอเชียน้อย ซึ่งอาจมีสีผิวและการตอบสนองต่อการรักษาที่ต่างไปจากงานวิจัยอื่นได้ รวมทั้งไม่มีการศึกษาที่จำเพาะต่อแผลผ่าตัดโดยเฉพาะในแผลผ่าตัดคลอด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรูปลักษณ์ของแผลเป็นภายหลังการผ่าตัดคลอดเมื่อให้การรักษาด้วย 595 นาโนเมตร พัลส์ดายเลเซอร์เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการรักษา วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มโดยทำการศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์อายุ 20-40 ปีที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยวิธี Pfannenstiel incision มาไม่เกิน 60 วัน ประเมินรูปลักษณ์ของแผลผ่าตัดก่อนให้การรักษาโดยใช้ Patient and Observer Scar Assessment Scale (POSAS) จากนั้นให้การรักษาโดยใช้ 595-นาโนเมตร พัลส์ดายเลเซอร์(Perfecta®) parameter 1.5 msec. pulse duration, 7 mm. spot size, 6 J/cm2 fluence สุ่มทำที่ครึ่งแผลซีกใดซีกหนึ่งโดยเริ่มทำการรักษาครั้งแรกที่ 4 สัปดาห์หลังคลอด ทำเลเซอร์จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้ทำการประเมินผลการรักษาที่ 3 เดือนหลังเริ่มให้การรักษาครั้งแรก ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 22 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์มีค่าเฉลี่ย POSAS ที่ประเมินโดยแพทย์ผิวหนังที่ไม่ทราบว่าแผลด้านใดคือด้านที่ทำเลเซอร์(observer scale) ใน last visit แตกต่างจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญ(15.2±2.8 vs 18.3±4.2, p<0.001) โดยพบว่า vascularity และ pigmentation มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.001) สำหรับในกลุ่มควบคุม พบว่าไม่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย POSAS last visit และ baseline(18.2±3.5 vs 18.1±3.7, p=0.93) และค่าเฉลี่ย POSAS ที่ประเมินโดยผู้เข้าร่วมวิจัย(patient scale) ใน last visit แตกต่างจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มที่ทำเลเซอร์(13.5±3.3 vs 25±6, p<0.001) และกลุ่มควบคุม(18.9±7.9 vs 25±6, p=0.004) รวมทั้งพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ย POSAS(mean different) ที่ประเมินโดยแพทย์และผู้เข้าร่วมวิจัย ระหว่างกลุ่มที่ทำเลเซอร์และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าเฉลี่ยความแตกต่างของ POSAS ในกลุ่มที่ทำเลเซอร์ลดลงได้มากกว่ากลุ่มควบคุม สรุปผล: เมื่อให้การรักษาแผลผ่าตัดคลอดตั้งแต่ในระยะแรกด้วย 595-นาโนเมตร พัลส์ดายเลเซอร์พบว่าสามารถทำให้รูปลักษณ์โดยรวมของแผลผ่าตัดคลอดดีขึ้นได้จากการประเมินโดย POSAS และยังพบว่าเป็นการรักษาที่ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงเมื่อศึกษาในคนไทย
Other Abstract: Background: Cesarean section scars are common and cause functional and psychologic morbidity. Previous studies have shown that early pulsed dye laser(PDL) treatment have successfully improved keloidal and hypertrophic scars. There is limited evidence indicating improved surgical scar appearance especially in cesarean section scars in Asian skin that have a higher melanin content. Objective: To compare the effect of treating cesarean section scars in the early stage with 595-nm PDL versus control. Method: Twenty-two patients with skin type III-V were enrolled in this randomized single blinded study. This is a right-left comparison study between PDL treatment and control. PDL was randomized to treat on one side with parameter 1.5 msec pulse duration, 7 mm spot size, 6 J/cm2 fluence for 3 times every 2-4 weeks. Scars were evaluated by a blinded examiner and patients, using the Patient and Observer Scar Assessment Scale (POSAS) at baseline and three months after first laser treatment. Results: Three months after the first treatment, final scar analysis by the blind examiner revealed a significant difference of mean(SD) POSAS between last visit and baseline in treated side (15.2±2.8 vs 18.3±4.2, p<0.001). Vascularity and pigmentation responded favorably to PDL treatment(p<0.001). The mean POSAS patient scale revealed a significant difference between last visit and baseline in treated (13.5±3.3 vs 25±6, p<0.001) and untreated side (18.9±7.9 vs 25±6, p=0.004). The mean difference of POSAS evaluated by the blind examiner and patients revealed a significant difference between treated and untreated sites. Conclusion: The early 595-nm PDL treatment in cesarean section scar is effective and safe in improving the scar appearance evaluated by POSAS in Thai patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51339
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.685
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.685
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774023730.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.