Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51347
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ | en_US |
dc.contributor.advisor | สติมัย อนิวรรณน์ | en_US |
dc.contributor.author | ประพิมพรรณ อำพันทรัพย์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T06:05:11Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T06:05:11Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51347 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา: วิตามินดีมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเซลล์หลายๆชนิดผ่านการจับวิตามินดีรีเซปเตอร์ที่อยู่ภายในเซลล์เพื่อควบคุมการแบ่งตัว การเปลี่ยนแปลงและการตายของเซลล์โดยมีการศึกษาก่อนหน้านี้ถึงภาวะขาดวิตามินดีหรือการทำงานที่ผิดปกติของวิตามินดีรีเซปเตอร์มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึมบนยีนวิตามินดีรีเซปเตอร์นั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติ และมีผลต่อการทำงานของวิตามินดีรีเซปเตอร์ วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึมบีเอสเอ็มวันบนยีนวิตามินดีรีเซปเตอร์กับความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือคนไทยจำนวนทั้งหมด 364 คนที่ได้รับการส่องกล้องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2558 โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจำนวน 182 คนเทียบกับผู้ที่ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักผลเป็นปกติจำนวน 182 คน โดยมีการเก็บตัวอย่างเลิอดเพื่อสกัดดีเอ็นเอมาตรวจซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึมบนยีนวิตามินดีรีเซปเตอร์ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (polymerase chain reaction) และเทคนิค restriction fragment length polymorphism ผลการวิจัย:ลักษณะข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยอายุ ประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักของคนในครอบครัว และดัชนีมวลกาย แต่พบว่าในกลุ่มตัวอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นเพศชายมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 56.6 เมื่อเทียบกับกลุ่มปกติคิดเป็นร้อยละ 32.4 (p<0.001) และพบว่ามีประวัติการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 36.7 ในกลุ่มมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและร้อยละ 12.5 ในกลุ่มปกติตามตารางที่ 1 (p<0.001) โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ของบีเอสเอ็มวันโพลีมอร์ฟิซึม กับความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยคิดเป็นร้อยละ 84 ในกลุ่มมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและร้อยละ 44 ในกลุ่มปกติ (p<0.001) เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่ามีสองปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้แก่ จีโนไทป์ของโพลีมอร์ฟิซึมของบีเอสเอ็มวันชนิดจีจีโดยมี Odds ratio 6.6 (95% confidence interval 3.7-11.7) และประวัติการสูบบุหรี่มี Odds ratio 3.47 (95% confidence interval 1.6-7.3) โดยเพศชายมีแนวโน้มสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.75, 95% confidence interval 0.9-3.2, p = 0.07) สรุป: ในกลุ่มการศึกษานี้นอกจากประวัติการสูบบุหรี่ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ทราบกันทั่วไปแล้ว ยังพบว่าโพลีมอร์ฟิซึมของบีเอสเอ็มวันบนยีนวิตามินดีรีเซปเตอร์มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การศึกษาถึงความสำคัญในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในประชากรทั่วไปในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Binding of vitamin D to its intracellular receptor regulates several genes involving in cellular proliferation, differentiation and apoptosis. Previous studies postulated the link between vitamin D deficiency or vitamin D receptor (VDR) dysfunction and carcinogenesis of colorectal cancer (CRC). Single nucleotide polymorphisms (SNPs) of VDR gene varies among different ethnic groups. We hypothesized that some SNPs of VDR gene might contribute to CRC carcinogenesis in Asian population. Method: A case-control study was conducted on 364-Thai participants who had undergone colonoscopy in King Chulalongkorn Memorial Hospital during 2014-2015. Of these, 182 subjects had normal colon without polyps (controls) and 182 patients had CRC (cases). Genotyping for SNP of VDR, BsmI, was performed using the PCR-RFLP method. Results: Baseline characteristics including age, history of CRC in first degree relative, body mass index (BMI) were not different between the two groups. However, patients with CRC had higher proportion of male gender (56.6% vs. 32.4%, p<0.001) and history of smoking (36.7% vs. 12.5%, p<0.001) when compared to control group (Table 1). The BsmI polymorphism was significant associated with risk of CRC as compared to the control group (84% vs. 44%, p<0.001). The Multivariate analysis revealed BsmI GG genotype (OR= 6.6, 95% CI 3.7-11.7) and history of smoking (OR=3.47, 95% CI 1.6-7.3) were risk factors linked to CRC. The male gender showed trend toward association, but not statistically significant (OR=1.75, 95% CI 0.9-3.2, p = 0.07). Conclusion: In this population, apart from a well-known factor associated with CRC, smoking history, the BsmI polymorphism of VDR gene, interestingly, demonstrated even stronger statistically association. This finding might contribute further understanding of CRC carcinogenesis, and apparently, might be used as a marker for selecting a population who may or may not need early CRC screening. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.712 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ลำไส้ใหญ่ -- มะเร็ง | |
dc.subject | ทวารหนัก -- มะเร็ง | |
dc.subject | มะเร็ง -- ปัจจัยเสี่ยง | |
dc.subject | Intestine, Large -- Cancer | |
dc.subject | Anus -- Cancer | |
dc.subject | Cancer -- Risk factors | |
dc.title | ความสัมพันธ์ของพอลีมอร์ฟิซึมในตำแหน่งบีเอสเอ็มวันของวิตามินดีรีเซปเตอร์ยีนในผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ | en_US |
dc.title.alternative | Association of BSMI polymorphism of vitamin d receptor gene between patients with colorectal cancer and without colorectal cancer from colonoscopy | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Piyawat.K@Chula.ac.th,piyawat.komolmit@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | satimai@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.712 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774047830.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.