Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51353
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรงในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: PREVALENCE AND ASSOCIATED FACTORS OF EXERTIONAL DESATURATION IN CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE
Authors: วีรยา สถาวราวงศ์
Advisors: วรวรรณ ศิริชนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: oooo846@gmail.com,wsirichana@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรงในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับความรุนแรงปานกลางขึ้นไปในโรงพยาบาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอายุระหว่าง 40 ถึง 80 ปี ที่มีระดับความรุนแรงปานกลางขึ้นไป มีอาการคงที่ และมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วขณะพักมากกว่าร้อยละ 90 ถูกนำเข้าสู่การศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกรายได้รับการตรวจวัดสมรรถภาพปอด โดยวิธีสไปโรเมตรีย์ วัดปริมาตรปอด วัดการซึมซ่านคาร์บอนมอน็อกไซด์ในปอด (DLCO) และวัดแรงของกล้ามเนื้อหายใจ แล้วจึงทดสอบการทดสอบเดิน 6 นาที พร้อมกับบันทึกค่าร้อยละของความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วและชีพจรต่อเนื่องระหว่างการเดิน ภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรง หมายถึง ภาวะที่มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วลดลงอย่างน้อย ร้อยละ 4 นานอย่างน้อย 30 วินาที หรือลดต่ำกว่าร้อยละ 90 ระหว่างทดสอบการทดสอบเดิน 6 นาที จากนั้นจึงนำผลมาวิเคราะห์หาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรง ผลการศึกษา ผู้ป่วยภาวะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงมากที่สุดจำนวน 65 คนเข้าร่วมการศึกษา เป็นผู้ชาย 63 คน (คิดเป็นร้อยละ 96.9) มีค่าเฉลี่ยของ FEV1 เทียบกับค่าอ้างอิงเท่ากับร้อยละ 54.0 (SD=15.4) ความชุกของภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรง เท่ากับ ร้อยละ 47.7 พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีออกซิเจนต่ำขณะออกแรงมี ค่าเฉลี่ย FEV1น้อยกว่า ผู้ที่ไม่มีภาวะออกซิเจนต่ำ (1.20 ลิตร (SD= 0.40) เทียบกับ 1.50 ลิตร (SD= 0.50) , P = 0.002) และ ค่า DLCO เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิง น้อยกว่า (ร้อยละ 58.4 (SD=13.1) เปรียบเทียบกับ ร้อยละ 76.1 (SD=17.3), P < 0.001) โดยที่ระยะทางการทดสอบเดิน 6 นาที ไม่ต่างกันใน 2 กลุ่ม (385.7 เมตร (SD=112.6) เปรียบเทียบกับ 400.2 เมตร (SD=78.1), P = 0.544) ค่า FEV1 เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิงที่น้อยกว่า ร้อยละ 50 และ ค่า DLCO เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิงที่น้อยกว่าร้อยละ 55 เป็น 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรง (OR 3.61; 95% CI 1.09 – 11.91; P = 0.030 และ OR 10.63; 95% CI 1.94 – 58.03 ; P = 0.010) ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย ความชุกของภาวะออกซิเจนต่ำขณะออกแรงในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบได้บ่อย โดยเฉพาะเมื่อ ค่า FEV1 เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิง น้อยกว่าร้อยละ 50 และ ค่า DLCO เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิง น้อยกว่าร้อยละ 55
Other Abstract: Objective: To study prevalence and associated factors of exertional desaturation in moderate to very severe COPD patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: Stable COPD patients, aged 40-80 years, who had post bronchodilator FEV1 < 80% predicted without resting desaturation were enrolled into the study. All subjects performed pulmonary function tests by spirometry, lung volume study, diffusion capacity measurement and respiratory muscle strength measurement. Then, patients underwent 6-minute walk test (6MWT) with continuous pulse oximetry (SpO2) monitoring. ED was defined by at least 4% decrease of SpO2 from baseline or SpO2 < 90% for at least 30 seconds. Prevalence of ED was calculated and associated factors were analyzed using univariate analyses and binary logistic regression model. Results: A total of 65 COPD patients were participated. Almost all are male (96.9%) with average (SD) post bronchodilator FEV1 of 54.0 (15.4) %predicted. The prevalence of exertional desaturation was 47.7%. Significant lower average (SD) FEV1 in desaturation group, compared to non-ED group 1.20 (0.40) vs 1.50 (0.50) L, P = 0.002). Desaturation group also had lower DLCO, 58.4 (13.1) %predicted vs 76.1(17.3) %predicted, P < 0.001). Average (SD) distance of 6MWT was comparable in both groups, 385.7 (112.6) vs 400.2 (78.1), P = 0.544). Dynamic hyperinflation was observed in both groups. FEV1 < 50% predicted and DLCO < 55% predicted are the only two determinants correlated with ED (OR 3.61; 95%CI 1.09 – 11.91; p = 0.03) and (OR 10.63; 95%CI 1.94 – 58.03; p = 0.01) respectively. Conclusion: Exertional desaturation is not uncommon in Thai COPD patients especially in FEV1 < 50% predicted and DLCO. < 55% predicted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51353
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774090730.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.