Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51358
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมล แก้วกิติณรงค์en_US
dc.contributor.advisorนภชาญ เอื้อประเสริฐen_US
dc.contributor.authorอมรพันธุ์ วงศ์กาญจนาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:05:19Z-
dc.date.available2016-12-02T06:05:19Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51358-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับสารชีวเคมีกับการเกิดเส้นใยไฟบรินในน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากมะเร็ง และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับสารชีวเคมีกับอัตราสำเร็จของการเชื่อมเยื่อหุ้มปอด วิธีการวิจัย: รวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากมะเร็งรายใหม่ในรพ.จุฬาฯระหว่างวันที่ 20 ส.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2558 ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องอกเพื่อแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีเส้นใยไฟบรินและกลุ่มที่ไม่มีเส้นใยไฟบรินในน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และได้รับการเจาะตรวจน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเพื่อตรวจวัดระดับสาร plasminogen activator inhibitor-1 (PAI-1), tumor necrosis factor (TNF-α), transforming growth factor-beta (TGF-β) และ tissue factor (TF) ผู้ป่วยในกลุ่มที่ไม่มีไฟบรินจะได้รับการติดตามการเกิดเส้นใยไฟบรินในช่องเยื่อหุ้มปอดทุกสัปดาห์โดยใช้อัลตราซาวด์ ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้จะได้รับการรักษาโดยวิธีเชื่อมเยื่อหุ้มปอดโดยใช้ยา นอกจากนี้ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจติดตามเป็นเวลา 3 เดือนหรือจนกระทั่งเสียชีวิต ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 40 ราย โดยร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยที่ 63 ปี สาเหตุของการเกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดในการศึกษาได้แก่ มะเร็งปอด (65%) มะเร็งเต้านม (12.5%) และมะเร็งลำไส้ (10%) เมื่อเริ่มการศึกษาผู้ป่วยที่มีเส้นใยไฟบรินและไม่มีเส้นใยไฟบรินมีจำนวนกลุ่มละ 20 ราย และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระดับสารชีวเคมีระหว่างสองกลุ่มการศึกษา เมื่อตรวจติดตามภาพถ่ายอัลตราซาวด์พบว่าผู้ป่วยที่ไม่มีเส้นใยไฟบรินเมื่อแรกวินิจฉัย พบการเกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น 13 ใน 20 ราย (65%) ในผู้ป่วยที่ติดตามไปแล้วพบเส้นใยไฟบรินจำนวน 13 รายนั้น พบว่าระดับของ PAI-1 และ TNF-α มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าในกลุ่มที่ไม่เกิดเส้นใยไฟบริน (145.45(153.64) vs 25.51(60.59) ng/ml, p=0.062 และ 4.27(1.81) vs 1.42(3.98) pg/ml, p=0.061 ตามลำดับ) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในผู้ป่วยทั้งหมดที่ตรวจพบเส้นใยไฟบรินในน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเมื่อสิ้นสุดการศึกษา (33 ราย) เทียบกับกลุ่มที่ไม่พบ (7 ราย) พบว่าระดับของ TNF-α (4.27(3.76) vs 1.42(3.98) pg/ml, p=0.034) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ระดับของ TF มีแนวโน้มที่สูงในผู้ป่วยที่มีเส้นใยไฟบรินเช่นกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 15 รายได้รับการรักษาด้วยวิธีเชื่อมเยื่อหุ้มปอดโดยใช้ยา อัตราสำเร็จของการเชื่อมเยื่อหุ้มปอดไม่มีความแตกต่างกันในทั้งสองกลุ่มการศึกษา (85.7% vs 87.5%, p=0.7) สรุป: ระดับของ TNF-α มีค่าสูงกว่าในผู้ป่วยที่พบเส้นใยไฟบรินในน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากมะเร็ง ยืนยันว่าสารดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเกิดเส้นใยไฟบรินในน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากมะเร็ง การศึกษาต่อยอดที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต่อการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระดับ PAI-1 และ TF นอกจากนี้การตรวจวัดระดับของสารเหล่านี้อาจมีประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives: To determine the biochemical determinants which are involved in the coagulation and inflammatory pathway in development of fibrin in malignant pleural effusion (MPE) and, to study the association between pleural fluid fibrin markers and pleurodesis success. Methods: We prospectively enrolled patients with newly-diagnosed MPE in King Chulalongkorn Memorial Hospital during August 20 to 31 December, 2015. Patients were divided into fibrinous and non-fibrinous group by chest ultrasonography. Thoracentesis was performed; and pleural fluid was sent for plasminogen activator inhibitor-1 (PAI-1), tumor necrosis factor (TNF-α), transforming growth factor-beta (TGF-β), tissue factor (TF). Patients in non-fibrinous group were serially checked by thoracic ultrasound for detection of fibrin every week. Medical pleurodesis was performed as indicated. All patients were followed for at least 3 months or until death. Results: Forty patients with MPE were enrolled; predominantly female (60%) with average age of 63 years old. The etiology of MPE were mainly from lung cancer (65%), followed by breast cancer (12.5%) and colonic cancer (10%), respectively. At the entering of the study, fibrin was identified in the pleural cavity in 20 cases without significant difference in the levels of all biochemical determinants between fibrinous and non-fibrinous groups. During the serial thoracic ultrasound, 13 in 20 patients (65%) in non-fibrinous group developed new fibrin formation. Levels of PAI-1 and TNF-α in 13 patients who developed fibrin tended to be higher than the remainders (145.45(153.64) vs 25.51(60.59) ng/ml, p=0.062 และ 4.27(1.81) vs 1.42(3.98) pg/ml, p=0.061 respectively). Post-hoc analysis showed patients who finally had fibrin (n=33) had higher levels of TNF-α (4.27(3.76) vs 1.42(3.98) pg/ml, p=0.034) compared with patients who had no fibrin. While levels of TF were not statistically higher between groups. Fifteen patients underwent medical pleurodesis and success rate was not different between groups (85.7% vs 87.5%, p=0.7) Conclusions: TNF-α was higher in patients who have fibrin which confirmed a role of inflammatory cytokines in the pathogenesis of fibrinous formation in malignant pleural effusion. Further study with more subjects is needed to identify significance of PAI-1 and TF. Use of these markers as predictors of fibrin formation may be helpful in clinical practice.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.713-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไฟบริน-
dc.subjectสารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด-
dc.subjectFibrin-
dc.subjectPleural effusions-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างระดับของปัจจัยทางชีวเคมีกับการพบเส้นใยไฟบรินในน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากมะเร็งen_US
dc.title.alternativeASSOCIATION BETWEEN LEVELS OF BIOCHEMICAL DETERMINANTS AND FIBRINOUS FORMATION IN MALIGNANT PLEURAL EFFUSIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKamol.K@Chula.ac.th,kamonkaw@yahoo.co.uk,kamonkaw@hotmail.comen_US
dc.email.advisorNoppacharn.U@Chula.ac.th,drnoppacharn@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.713-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774112930.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.