Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51361
Title: | ลักษณะทางคลินิกของกลุ่มอาการ TAKOTSUBO CARDIOMYOPATHY ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปีพ.ศ. 2558 |
Other Titles: | CLINICAL CHARACTERISTICS OF TAKOTSUBO CARDIOMYOPATHY INKING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL DURING 2008 - 2015 |
Authors: | เอกลักษณ์ อาจนาฝาย |
Advisors: | จักรพันธ์ ชัยพรหม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jarkarpun.C@chula.ac.th,cjarkarp@hotmail.com,cjarkarp@hotmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและการดำเนินโรค Takotsubo cardio-myopathy (TTC) ในประเทศไทย วิธีการวิจัย : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ผู้วิจัยทำการสืบค้นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค TTC จากระเบียน TTC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะทบทวนประวัติของผู้ป่วยในหัวข้อเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยกระตุ้น ลักษณะอาการ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาและผลลัพธ์ของการรักษาในโรงพยาบาล ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 29 รายที่เข้าเกณฑ์การศึกษา ผู้ป่วย TTC เพศหญิงมีจำนวนคิดเป็น 6 เท่าของเพศชาย อายุของผู้ป่วยอยู่ในช่วง 41 – 92 ปี (mean [± SD] age, 69 ± 14 years) ไม่มีผู้ป่วยรายใดให้ประวัติเกี่ยวกับปัจจัยกระตุ้นทางอารมณ์ ปัจจัยกระตุ้นทางกายภาพที่พบมากที่สุด คือ ภาวะการติดเชื้อพบร้อยละ 31 และเนื้องอก และ / หรือ เนื้อร้ายพบร้อยละ 27.6 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการแน่นหน้าอกและอาการเหนื่อย หรือ หายใจลำบากสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 31 และผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96.6 เป็นชนิด classic type ค่า Left ventricular end diastolic pressure (LVEDP) อยู่ในช่วง 5-34 มิลลิเมตรปรอท (mean [± SD] LVEDP, 18.14 ± 8.51 mmHg) และค่า left ventricular ejection fraction (LVEF) อยู่ในช่วงร้อยละ 13 – 77(mean [± SD] LVEF, 45.9 ± 16.0%) มีผู้ป่วยร้อยละ 55.2 ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม catecholamine ผู้ป่วยร้อยละ 58.6 ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ และร้อยละ 17.2 จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือกู้ชีพ ภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ventricular arrhythmia พบร้อยละ 6.9 ภาวะ cardiogenic shock พบร้อยละ 31 และพบผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 41 ผู้ป่วยกลุ่มที่เสียชีวิตมีค่า LVEDP สูงกว่า และมีค่า LVEF ที่ต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการศึกษา: ลักษณะทางคลินิกส่วนใหญ่ของ TTC เหมือนกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ยกเว้นผู้ป่วยในการศึกษานี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม in-hospital setting หนึ่งในสามของผู้ป่วยมาด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติโดยที่ไม่มีอาการเด่นชัด และสุดท้ายผู้ป่วย TTC ในการศึกษามีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 41 |
Other Abstract: | Objective : To study about clinical characteristics and clinical course of Takotsubo cardiomyopathy (TTC) in Thailand. Method : In this retrospective descriptive study, we searched patients with diagnosis of TTC from TTC registry and electronic database. The patient’s history would be reviewed thoroughly in their demographic data, stressors, clinical manifestations, investigation results, in-hospital management and outcomes. Results : Twenty nine patients were eligible for our study. TTC prevalence in female was 6 times thatin male. Age was among 41-92 year olds (mean [± SD] age, 69 ± 14 years). None of patients had record of emotional stressors. The most common physical stressors were infections (31.0%,) and benign tumors and/or malignancy (27.6%,). Most patients presented with chest pain(31%) and dyspnea (31%) and almost all (96.6%) of them were in classic type. Left ventricular end diastolic pressure (LVEDP) was 5-34 mmHg (mean [± SD] LVEDP, 18.14 ± 8.51 mmHg) and left ventricular ejection fraction (LVEF) was 13-77% (mean [± SD] LVEF, 45.9 ± 16.0%). There were 55.2% using catecholamine, 58.6% using invasive ventilation and 17.2% who needed cardiopulmonary resuscitation (CPR). The complications were ventricular arrhythmia (6.9%), cardiogenic shock (31%) and death (41%). Median length of stay in hospital was 7 days. LVEDP was higher but LVEF was lower in death group than survivors significantly. Conclusions : Most characteristics of TTCs were similar to other studies except these followings. First, most of patients were healthcare-setting. One third of patients were detected from abnormal ECG during in-hospital monitoring without obvious symptoms. Finally, TTCs in our studies had relatively high mortality (41%). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51361 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774120930.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.