Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุen_US
dc.contributor.authorพรพิมล ค่อมสิงห์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:05:39Z
dc.date.available2016-12-02T06:05:39Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51377
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดแรงจูงใจในการสอบรายข้อในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการสอบของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำและค่าการเดาของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ (theta) กับเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จำนวน 662 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดแรงจูงใจในการสอบและแบ[สอบการศึกษาแนวโน้มการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ วิชาวิทยาศาสตร์ ผลวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดแรงจูงใจในการสอบมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 ข้อคำถาม แบบวัดแรงจูงใจชุดดังกล่าว เมื่อนำไปใช้วัดแรงจูงใจในการทดสอบแต่ละข้อ พบว่ามีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งหมด (อำนาจจำแนก) อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.57 มีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.53 – 0.65 มีความตรงเชิงโครงสร้างจากวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลการวัดแรงจูงใจในการสอบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 0.26, p = 0.61, df = 1, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00) 2) กลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกันมีค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มระดับความสามารถของผู้สอบ พบว่า 1) กลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูงจะมีแรงจูงใจในการสอบสูงกว่ากลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่ำ 2) กลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนปานกลางจะมีแรงจูงใจในการสอบสูงกว่ากลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่ำ 3) ในภาพรวมแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.30) เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มระดับความสามารถของผู้สอบ พบว่า กลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่ำมีความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.18) ในกลุ่มผู้สอบที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูงมีความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.27) 4) แรงจูงใจในการสอบและค่าการเดาไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในภาพรวมและเมื่อพิจารณาตามกลุ่มระดับความสามารถทางการเรียน 5) ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ (theta) และเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.63)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop and investigate test-taking motivation questionnaires quality in low-stakes testing 2) to compare test-taking motivation of student with different student’s academic achievement 3) to study the correlation among test-taking motivation, test score in low-stake testing and guessing parameter with different student’s academic achievement 4) to study the correlation between ability parameter and Science’s cumulative grade point average. The participants were 662 eighth-grade students in Bangkok. The research tools were test-taking motivation questionnaires and Low stakes Test (Trends in International Mathematics and Science Study: TIMSS). The research findings were as follows: 1) The test-taking motivation questionnaire is Likert-type scale, consists of three items. The scale used for measuring reported test-taking motivation in each item of TIMSS. Corrected item-total correlation was from 0.20 – 0.57. Cronbach's Alpha reliability was from 0.53 to 0.65. The structural model of test-taking motivation fitted well with the empirical data (Chi-square = 0.26, p = 0.61, df = 1, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00). 2) There were significant consequences of test-taking motivation under different students’ abilities levels at .05. When analyze the groups of students based on their ability finding were: 1) Students with high ability tend to have more test-taking motivation than students with moderate and low ability. 2) Students with moderate ability tend to have more test-taking motivation than students with low ability. 3) Overall, there was a correlation (0.30) between test-taking motivation and test score. When analyze the groups of students based on their ability finding were, students with low ability have significant consequences of test-taking motivation and test score levels at .01 (r = 0.18). While, students with high ability have significant consequences of the test-taking motivation and test score levels at .01 (r = 0.27). 4) There was no correlation between test-taking motivation and guessing parameter under different student’s abilities. 5) There was a correlation (0.63) between ability parameter and Science’s cumulative grade point average.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1217-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสอบ
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษา
dc.subjectExaminations
dc.subjectEducational tests and measurements
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบและค่าการเดาของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำen_US
dc.title.alternativeCorrelations of test-taking motivation, test score and guessing parameter with different student’s academic achievement in low-stakes testingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1217-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783848627.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.