Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51380
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา สมไพบูลย์en_US
dc.contributor.authorธนพงษ์ ลี้สันติวิภารัตน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:05:42Z
dc.date.available2016-12-02T06:05:42Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51380
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. พัฒนาการและอัตลักษณ์ของเพลงละครโทรทัศน์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2498-2558 และ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุนทรียทัศน์ และการสร้างสรรค์เพลงละครโทรทัศน์ไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประพันธ์เพลงละครโทรทัศน์ และผู้เกี่ยวข้องที่มีบทบาทต่อการสร้างสรรค์เพลงละครโทรทัศน์ไทยในยุคสมัยต่าง ๆ รวมทั้งหมด 29 คน และการวิจัยเชิงเอกสารที่เกี่ยวกับเพลงละครโทรทัศน์ รวมถึงการวิเคราะห์เพลงละครโทรทัศน์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1. เพลงนำละครในยุคแรกส่วนใหญ่ถูกย้ายสื่อมาจากเพลงละครเวที ภาพยนตร์ และละครวิทยุเป็นส่วนใหญ่ และมีอยู่ในละครบางเรื่องเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ชมยังให้ความสนใจกับเพลงที่นักแสดงร้องสื่ออารมณ์ในขณะแสดงละครสดมากกว่า ต่อมาเพลงนำละครเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเป็นเพลงที่เล่าเรื่องย่อของละครโทรทัศน์ จนเมื่อค่ายเพลงได้เข้ามามีบทบาทในการประพันธ์เพลงละครโทรทัศน์ เพลงนำละครจึงได้เปลี่ยนสัดส่วนจากการเล่าเรื่องของละครมาสู่การเล่าอารมณ์ของตัวละครมากกว่า เพื่อให้ง่ายต่อการจำหน่ายเพลงหลังละครจบ แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี เพลงละครโทรทัศน์ยังคงเป็นการสรุปเรื่องราว และมีเนื้อหาที่ไม่หนีไปจากเนื้อหาของละคร และ 2. มีปัจจัยจำนวนมากที่มีอิทธิพลต่อสุนทรียศาสตร์และการสร้างสรรค์เพลงละครโทรทัศน์ ได้แก่ ปัจจัยภายใน อันประกอบด้วย 1) เนื้อหาของละครโทรทัศน์ ซึ่งประกอบด้วย เนื้อเรื่องและอารมณ์ของละคร แนวเรื่อง แก่นเรื่อง และตัวละคร และ 2) ผู้ผลิต ซึ่งประกอบด้วย ผู้จัดละคร นักแต่งเพลง นักร้อง และค่ายเพลง ในขณะที่ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจ ลิขสิทธิ์ของเพลงละครโทรทัศน์ รวมถึงเพลงไทยสากลทั่วไปที่ได้รับความนิยมอยู่ก่อนแล้ว และเพลงละครผลิตซ้ำ (Remake)en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are: 1. to study the development and identity of Thai drama theme songs since 1955 to 2015, and 2. to study factors that influence the aesthetics and creation of Thai drama theme songs. Qualitative research methods were used in this study, including in-depth interviews of the 29 drama producers and drama song writers and documentary analysis. Results show that 1. Thai drama theme songs have developed continuously from the era that often uses the songs convey the story of drama, to the era that often uses the songs convey the emotion of characters. However, there are some drama genres that use the method of create the songs like the past, such as historical drama and folktale. 2. There are many factors that influence the aesthetics and creation of Thai drama theme songs, including internal factors contain 1) content of drama; the story and mood of drama, genre, theme and character, 2) producer; drama producer, drama song writer, and record label. As external factors contain business interests, original popular songs in music industry, and remaked theme songs.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1011-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเพลง
dc.subjectการแต่งเพลง
dc.subjectดนตรีประกอบการแสดง
dc.subjectSongs
dc.subjectComposition (Music)
dc.subjectDramatic music
dc.titleพัฒนาการของเพลงละครโทรทัศน์ไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Thai television drama theme songsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSukanya.Som@Chula.ac.th,Sukanya.Som@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1011-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784664628.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.