Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5139
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิราพร ณ ถลาง-
dc.contributor.authorวัชราภรณ์ ดิษฐป้าน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-12-26T06:22:31Z-
dc.date.available2007-12-26T06:22:31Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741713983-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5139-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาความแพร่หลายของแบบเรื่องนิทานสังข์ทอง และปรากฎการณ์การแตกเรื่องของนิทานที่เกิดขึ้นในกระบวนการแพร่กระจายของนิทานสังข์ทอง ผู้วิจัยได้รวบรวมนิทานในแบบเรื่องนิทานสังข์ทองได้ 72 สำนวนจากนิทานของคนไทยภาคต่างๆในประเทศไทย รวมทั้งนิทานของกลุ่มชนชาติไทที่อยู่นอกประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าแบบเรื่องนิทานสังข์ทองเป็นแบบเรื่องที่แพร่หลายมากในกลุ่มชนชาติไท เพราะปรากฎทั้งในนิทานของไทยภาคต่างๆ และในกลุ่มชนชาติไททั้งในและนอกประเทศ ซึ่งมีความรับรู้เรื่องสังข์ทองและนิทานในแบบเรื่องนิทานสังข์ทองที่คล้ายคลึงกัน การวิเคราะห์โครงสร้างของนิทานสังข์ทองพบว่าแบบเรื่องนิทานสังข์ทองประกอบไปด้วยเหตุการณ์สำคัญ 4 ตอน คือ กำเนินผิดปกติ - ตัวเอกออกผจญภัย- ตัวเอกที่ซ่อนรูปพบคู่ครองและถูกพ่อตาทดสอบ - การเผยร่างและการยอมรับ และมีพฤติกรรมหลักทั้งหมด 11 พฤติกรรมที่กำหนดโครงสร้างของแบบเรื่อง คือการกำเนิดในรูปลักษณ์ประหลาด การแสดงความสามารถพิเศษ การออกเดินทาง การได้ผู้อุปถัมภ์ การได้สิ่งวิเศษหรือมรัพย์สมบัติ การอำพรางตัวหรือรูปลักษณ์ที่น่ารังเกียจ การเลือกคู่ การทดสอบความสามารถ การแต่งงาน การถอดรูป และเหตุการณ์หลังจากตัวเอกเปิดเผยตัว ผู้วิจัยได้นำเหตุการณ์สำคัญทั้ง 4 ตอนและพฤติกรรมหลักทั้ง 11 พฤติกรรมมาใช้เป็นเกณฑ์ในการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างนิทานทั้ง 72 สำนวน ทำให้สามารถจำแนกโครงสร้างในแบบเรื่องนิทานสังข์ทองได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบเรื่อง ก สังข์ทอง แบบเรื่อง ข ก่ำกาดำ แบบเรื่อง ขก ท้าวแบ้ การศึกษาปรากฎการณ์การแตกเรื่องของนิทานทำให้พบว่าความแพร่หลายของนิทานสังข์ทองทำให้เกิดนิทานเรื่องใหม่อีกหลายเรื่องจากโครงเรื่องสังข์ทองอันเป็นโครงเรื่องต้นแบบ นิทานเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในกระบวนการแตกเรื่องนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่างๆทั้งในระดับพฤติกรรมและโครงเรื่อง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการแตกเรื่องของนิทานสามารถสรุปได้ 8 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงลำดับของพฤติกรรมหลัก การตัดเนื้อหาบางตอนหรือตัดบางพฤติกรรมหลักออกจากโครงเรื่อง การนำโครงเรื่องบางตอนไปแต่งเป็นนิทานเรื่องใหม่ การเพิ่มจำนวนครั้งในบางพฤติกรรมหลักเพื่อเน้นพฤติกรรมหลักในบางตอน การเพิ่มพฤติกรรมใหม่และเหตุการณ์บางตอนแทรกในโครงเรื่องเดิม การเพิ่มโครงเรื่องย่อย การผนวกเรื่อง และการคงโครงสร้างเดิมแต่เปลี่ยนรายละเอียดในพฤติกรรม ทำให้นิทานเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในกระบวนการแตกเรื่องมีความแตกต่างจากนิทานต้นฉบับแม้ว่าจะยังคงมีโครงสร้างหลักร่วมกันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the thesis is to study the popularity of the Sang Thong story and the nature of the reproduction of the various tales belonging to the Sang Thong tale type. Seventy two stories of the Sang Thong tale type are collected from all the regions in Thailand and also from outside Thailand where Tai peoples live. The study reveals that the Sang Thong tale type is widely known among the Thai - Tai peoples inside and outside Thailand. This shows that the Thais and the Tai peoples similarly and mutually know the stories belonging to the Sang Thong tale type. In analysing the structure of the Sang Thong tale type, it is found out that the Sang Thong tale type consists of 4 important episodes; first, the abnormal birth; second, the hero's adventure; third, the hero in disguise acquiring the spouse and being tested by his father-in-law; and fourth, the revealing of the self. The four episodes are composed of 11 sequential components or "functions" in folklore term. The 11 functions are: the abnormal birth,the extraordinary ability, the beginning of the hero's journey, the hero's helper or patron, the acquisition of magic and treasure, the hero in disguise under the ugly appearance, the choosing of the spouse, the difficult task, the marriage, the end of disguise and the consequence of the disclosure. By comparing the 4 episodes and 11 functions, the 72 versions of the Sang Thong stories can be classified into 3 main sub tale types, i.e., Type A Sang Thong, Type B Kam Ka Dam, and Type AB Thao Bae. The study of the tale reproduction indicates that various versions or new stories under new names can be reproduced though sharing the same structure with the Sang Thong tale type. The analysis shows that new tales can be reproduced under 8 conditions: changing the order of certain functions, reducing some episodes or certain functions, choosing only certain episodes and make new stories, repeating certain functions in order to emphasize certain episode, adding new functions or new episodes, adding subplots into themain plot, combining two stories together; and, changing the detail of every function though holding on to the old sequential structure. Under these 8 circumstances, variant of the Sang Thong story and new tales belonging to the Sang Thong tale type can be created and reproduced though the tale structure remains the same.en
dc.format.extent6292350 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.89-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนิทานพื้นเมือง -- ไทย -- ประวัติและวิจารณ์en
dc.subjectสังข์ทอง -- ประวัติและวิจารณ์en
dc.titleแบบเรื่องนิทานสังข์ทอง : ความแพร่หลายและการแตกเรื่องen
dc.title.alternativeThe Sang Thong tale type : its popularity and reproductionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiraporn.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.89-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharaporn.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.