Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51402
Title: | ความต้องการที่พักอาศัย โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณจุฬาซอย 9 (หมอน 41) ของนิสิตและบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Study of University staff and student demand for residence (a case study in block 41 project) |
Authors: | ศิริธร นาคทอง |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.j@chula.ac.th |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ที่อยู่อาศัย นักศึกษา -- ที่อยู่อาศัย หอพัก Chulalongkorn University -- Faculty Chulalongkorn University -- Students Students -- Housing College teachers -- Housing Dormitories |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการที่พักอาศัยโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณ จุฬาฯ ซอย 9 (หมอน 41) ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและบุคลากรสายวิชาการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาจำนวนอุปสงค์ (Demand) และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกโครงการพัฒนาในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและระดับราคาค่าเช่า โดยเสนอแนะแนวทางการบริหารด้านกิจกรรมทางการตลาดให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนา เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้งบประมาณในการลงทุนและรองรับผู้อยู่อาศัยเป็นจำนวนมากจึงมีความสำคัญยิ่งต่อมหาวิทยาลัยทั้งในแง่ผู้ลงทุนและผู้ใช้ประโยชน์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขึ้นตามสูตรคำนวณของ YAMANE ระดับของความเชื่อมั่น 95 โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ ประชากร 2,861 ราย ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 150 ราย และกลุ่มนิสิตไทยและต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา จากประชากรจำนวนรวมทั้งสิ้น 13,064 ราย โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างรวม 250 ราย รวมทั้งสิ้น 400 ราย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคลากร มีความสนใจโครงการพัฒนา(62.7%)โดยจำแนกประเภทอาชีพ ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ที่มีความสนใจ (59.3%) และพนักงานมหาวิทยาลัย (67.8%) ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย (56.7%) เป็นผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง รายได้ครอบครัวพบว่ามี (85.1%) ที่มีรายได้ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่พัก คือ ทำเลที่ตั้งเป็นอันดับสูงสุด และความพึงพอใจทางด้านราคาตามลำดับ ผลการศึกษากลุ่มนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จะพบว่ามีความสนใจ (72.4%) ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัยของนิสิตจะพบว่ามีอัตราการเช่าสิทธิที่พักอาศัย (73.5%) งบประมาณค่าเช่าโครงการพัฒนาพบว่านิสิตไทย (43.6%) สามารถจ่ายได้ตั้งแต่ 8,501 บาทได้ และนิสิตต่างชาติ (64.6%) สามารถจ่ายค่าเช่างบประมาณตั้งแต่ 11,001 บาทขึ้นไปได้ซึ่งเป็นราคาตามที่ทางโครงการกำหนด สำหรับนิสิตที่มีงบประมาณน้อยกว่าทางโครงการพัฒนากำหนดก็ยังสามารถมีเพื่อนร่วมห้องเพื่อแบ่งเบารายจ่ายค่าที่พักได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการที่พักคือความพอใจทางด้านราคาและความสะดวกในการเดินทางตามลำดับ สรุปข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการ ได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ผู้สนใจเซ้งสิทธิระยะยาว 30 ปี ควรรองรับด้วยอาคารพักอาศัยทั้งหมดในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีความต้องการจำนวนมากซึ่งจะช่วยรักษาอัตราห้องพักได้ 2.คือกลุ่มบุคลากรที่สนใจเช่าสิทธิรายเดือนและกลุ่มนิสิตควรจัดสรรเป็นผู้เช่ากลุ่มเดียวกันในอาคารหอพักนานาชาติ ที่มีสวัสดิการรองรับโดยได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือค่าที่พักจากมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาวิชาการสำหรับกลุ่มบุคลากรที่ต้องการเช่าสิทธิรายเดือน อย่างเช่น หอพักวิทยนิเวศน์ สำหรับทางด้านนิสิตควรมีการปรับอัตราค่าเช่าราคาพิเศษช่วงปิดภาคเรียนเพื่อช่วยรักษาอัตราการเช่าห้องได้ |
Other Abstract: | Chulalongkorn University is developing the land located on Chula Soi 9 known as Block 41 to be a residential project for the university staff and graduate students. This project focuses on the university’s policy, strategy and budget the aim of this research is to study the demand for residence among Chulalongkorn University’s staff and graduate students at Block 41 and introduce the guidelines for marketing policies, conform to the development plan and to ensure cost effectiveness. The study uses quantitative research conducted through questionnaires. The data was collected from a sample of 400 staff and students that represent the demand and the factors that influence their choice accommodations. The study shows that 62.7% of both the staff and students were interested in the project. It found that 56.7% of the staff don’t their homes. Most 85.1% have a family income of more than 60,000 THB per month and location is the factor that most influences to choice of accommodation. Most graduate students 73.5% rent their accommodation. The rent amount deemed affordable was 8,501 THB per month by 43.6% of Thai students and 11,001 THB per month by 64.6% of international students. This research can be applied as a guideline for leaseholders for the staff in the residence tower and monthly rent for the graduate students in the international housing tower. The residential welfare should be applied to the staff to help sustain academic development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51402 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2061 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2061 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirithon_na.pdf | 8.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.