Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51425
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorสุรสิทธิ์ วิเศษสิงห์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-12-14T03:38:41Z-
dc.date.available2016-12-14T03:38:41Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51425-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ เรื่อง อรรถรสในนาฏยศิลป์ผ่านนาฏกรรมแนวใหม่ เรื่อง “นารายณ์อวตาร” ของ นราพงษ์ จรัสศรี นี้ ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบและแนวความคิดของการใช้อรรถรส ซึ่งเป็นวิธีการสร้างสรรค์ หรือเทคนิคสำคัญของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เรื่อง “นารายณ์อวตาร” ดังนั้น ผู้วิจัยได้จึงตั้งประเด็นคำถามไว้ 2 ประเด็น คือ 1. รูปแบบของงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร พ.ศ. 2546” ของ นราพงษ์ จรัสศรี เป็นอย่างไร 2. แนวความคิดในการสร้างอรรถรสในการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 เป็นอย่างไร ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ งานวิจัย หนังสือ ตำรา และวิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เรื่อง “นารายณ์อวตาร” ของ นราพงษ์ จรัสศรี จากนั้น จึงนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอเป็นงานวิจัย ผลการวิจัยรูปแบบในการสร้างงานเพื่อเพิ่มอรรถรสในการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของ นราพงษ์ จรัสศรี นั้น ใช้องค์ประกอบของการแสดงนาฏยศิลป์ไทย ซึ่งประกอบไปด้วย บทการแสดงที่นำมาตัดต่อใหม่ให้ตรงตามจุดประสงค์ของการแสดงที่มีผลต่อผู้ชมรุ่นใหม่ ลีลาของผู้แสดงชายล้วนที่ผสมผสานระหว่างจารีตดั้งเดิมของการแสดงโขน ในวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความหลากหลาย การออกแบบเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ฉาก แสง เสียง และอุปกรณ์ประกอบฉากที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมฝาผนังแบบดั้งเดิมของไทย และการออกแบบในศิลปะการแสดงแบบตะวันตก แต่ยังคงความเป็นไทยไว้ ส่วนแนวความคิดในการสร้างอรรถรส ในการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ของ นราพงษ์ จรัสศรี ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์งานด้านนาฏยศิลป์ในรูปแบบใหม่ โดยใช้ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ตลอดจนรูปแบบของการแสดงและคำนึงถึงผู้ชมที่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่สอดคล้องกับทฤษฎีทางด้านความงามของศิลปะการแสดงen_US
dc.description.abstractalternativeThe dissertation aimed to study the pattern and concept of the flavour which is an important technique of Thai contemporary performance “NARAI AVATARA” Two research questions were set; 1) What is the pattern of the contemporary performance “NARAI AVATARA 2003” of Naraphong Charassri? And 2) What is the concept in creating the flavour in the contemporary performance “NARAI AVATARA 2003” The methodology was Qualitative Research. The data was gathered from documents, publication, researches, text books, thesis and dissertation that related to Thai contemporary performance “NARAI AVATARA” of Naraphong Charassri. Then, all the data was analyzed, synthesized, concluded and presented as a research.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1638-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนาฏศิลป์ไทยen_US
dc.subjectนราพงษ์ จรัสศรีen_US
dc.subjectDramatic arts, Thaien_US
dc.subjectNaraphong Charassrien_US
dc.titleอรรถรสในนาฏศิลป์ผ่านนาฏกรรมแนวใหม่ เรื่อง นารายณ์อวตารen_US
dc.title.alternativeFlavour Of Dance Through The Modern Performance “Narai Avatara”en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1638-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surasit_wi.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.