Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิภาส โพธิแพทย์-
dc.contributor.authorนพวรรณ เมืองแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-12-27T10:23:15Z-
dc.date.available2016-12-27T10:23:15Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51450-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทยจำนวน 9 คำ ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” “รบกวน” “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ในแง่ปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้คำเหล่านี้กลายมาเป็นคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นข้อมูลเฉพาะภาษาไทยกรุงเทพฯ ปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า ในภาษาไทยปัจจุบันมีคำที่นำมาใช้เป็นคำแสดงการขอร้อง 9 คำ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ปรากฏข้างหน้า ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” และ “รบกวน” และ 2) กลุ่มที่ปรากฏข้างท้าย ได้แก่ คำว่า “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ความหมายที่เป็นแหล่งกำเนิดของคำแสดงการขอร้องมี 9 ความหมาย ได้แก่ ความสงสาร การวิงวอน ความอนุเคราะห์ การชักชวน ความพอใจ การทำให้เดือดร้อน การทำเพิ่ม จำนวนหนึ่งครั้ง และปริมาณน้อย ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์และทางอรรถศาสตร์ในการจำแนกคำที่ศึกษาออกเป็น หมวดคำต่างๆ และนับความถี่ในการปรากฏเพื่อทำให้เห็นลักษณะการปรากฏใช้จริงว่า คำคำนี้ปรากฏใช้เป็นคำแสดงการขอร้องและหมวดคำอื่นๆ เป็นจำนวนเท่าใด คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่ น้อยที่สุดคือ คำว่า “ขอ” และ “ช่วย” ซึ่งปรากฏในภาษาเพียง 3.33 % และ 4% ตามลำดับ ในขณะที่ คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่สูงที่สุดคือ คำว่า “กรุณา” และ “โปรด” ซึ่งปรากฏในภาษาถึง 52.67% และ 69.33% ตามลำดับ ความถี่ที่แตกต่างกันนี้ แสดงให้เห็นว่า แต่ละคำมีการปรากฏใช้เป็น คำแสดงการขอร้องไม่เท่ากัน นอกจากนี้ คำแสดงการขอร้องทุกคำจะต้องมีคุณสมบัติของคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ 1) เป็นคำที่เมื่อเติมลงไปในประโยคคำสั่งแล้ว ทำให้ประโยคคำสั่งนั้นกลายเป็นประโยคขอร้อง และ 2) เป็นคำที่สามารถละได้ โดยไม่ทำให้ความหมายหลักของประโยคเปลี่ยนไป งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทยจำนวน 9 คำ ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” “รบกวน” “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ในแง่ปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้คำเหล่านี้กลายมาเป็นคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นข้อมูลเฉพาะภาษาไทยกรุงเทพฯ ปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า ในภาษาไทยปัจจุบันมีคำที่นำมาใช้เป็นคำแสดงการขอร้อง 9 คำ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ปรากฏข้างหน้า ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” และ “รบกวน” และ 2) กลุ่มที่ปรากฏข้างท้าย ได้แก่ คำว่า “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ความหมายที่เป็นแหล่งกำเนิดของคำแสดงการขอร้องมี 9 ความหมาย ได้แก่ ความสงสาร การวิงวอน ความอนุเคราะห์ การชักชวน ความพอใจ การทำให้เดือดร้อน การทำเพิ่ม จำนวนหนึ่งครั้ง และปริมาณน้อย ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์และทางอรรถศาสตร์ในการจำแนกคำที่ศึกษาออกเป็น หมวดคำต่างๆ และนับความถี่ในการปรากฏเพื่อทำให้เห็นลักษณะการปรากฏใช้จริงว่า คำคำนี้ปรากฏใช้เป็นคำแสดงการขอร้องและหมวดคำอื่นๆ เป็นจำนวนเท่าใด คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่ น้อยที่สุดคือ คำว่า “ขอ” และ “ช่วย” ซึ่งปรากฏในภาษาเพียง 3.33 % และ 4% ตามลำดับ ในขณะที่ คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่สูงที่สุดคือ คำว่า “กรุณา” และ “โปรด” ซึ่งปรากฏในภาษาถึง 52.67% และ 69.33% ตามลำดับ ความถี่ที่แตกต่างกันนี้ แสดงให้เห็นว่า แต่ละคำมีการปรากฏใช้เป็น คำแสดงการขอร้องไม่เท่ากัน นอกจากนี้ คำแสดงการขอร้องทุกคำจะต้องมีคุณสมบัติของคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ 1) เป็นคำที่เมื่อเติมลงไปในประโยคคำสั่งแล้ว ทำให้ประโยคคำสั่งนั้นกลายเป็นประโยคขอร้อง และ 2) เป็นคำที่สามารถละได้ โดยไม่ทำให้ความหมายหลักของประโยคเปลี่ยนไป ปัจจัยทางวากยสัมพันธ์ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดคำแสดงการขอร้องมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) หน่วยสร้างกริยาเรียง 2) หน้าที่ในการขยายกริยาในประโยค และ 3) โครงสร้างลักษณนาม ปัจจัยทางอรรถศาสตร์ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดคำแสดงการขอร้องมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ปัจจัยความหมายประจำคำที่อยู่ในตัวคำนั้นๆ 2) ปัจจัยอุปลักษณ์ และ 3) ปัจจัยนามนัย กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ กระบวนการขยายปริบทการปรากฏ กระบวนการที่ความหมายจางลง กระบวนการคงเค้าความหมายเดิม กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม กระบวนการวิเคราะห์ใหม่ โดยมีทิศทางการเปลี่ยนแปลง แบบทิศทางเดียว เริ่มจากเป็นคำบอกเนื้อความหรือคำที่มีความเป็นไวยากรณ์น้อย ได้แก่ คำกริยา คำกริยาวิเศษณ์ และคำลักษณนาม แล้วกลายไปเป็นคำที่มีความเป็นไวยากรณ์มากขึ้นคือ คำแสดงการขอร้อง นอกจากนี้ สมาชิกทุกคำของคำแสดงการขอร้องมิได้กลายเป็นคำไวยากรณ์อย่างสมบูรณ์เท่าเทียมกันในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ละคำมีพัฒนาการไม่เท่ากัน ทำให้คำแสดงการขอร้องมีการกลายเป็น คำไวยากรณ์ในระดับต่างๆ กันen_US
dc.description.abstractalternativeThe present study aims at investigating the original sources, factors, and the processes influencing the grammaticalization of the nine requestive markers in Thai, namely /karunaa/, /khɔɔ/, /chuay/, /chrrn/, /proot/, and , /ropkuan/, /duay/,/thii/, and /nɔy/. The data used in the analysis were collected from the Thai National Corpus. The study found that modern Thai contains 9 requestive markers, which can be categorized into 2 groups: 1) the sentence-initial requestive markers, including /karunaa/, /khɔɔ/, /chuay/, /chrrn/, /proot/, and , /ropkuan/, and 2) the sentence-final requestive markers, namely /duay/,/thii/, and /nɔy/. The nine requestive markers have nine original source meanings, including kindness, request, assistance, persuasion, contentment, disturbance, increasing action, one time, and little quantity. The syntactic and semantic criteria were used to classify these words into different word categories. Then the frequency counts of each category were performed. The result shows that the lowest-frequency requestive markers are /khɔɔ/ and /chuay/, which appear 3.33% and 4% respectively, while the highest-frequency requestive markers are /karunaa/ and /proot/, appearing 52.67% and 69.33% respectively. Different frequencies show that each word has different levels of requestive meaning. In addition, all the requestive markers must have the characteristics as follows: 1) When each requestive marker is added into an imperative sentence, the sentence become requestive. and 2) The ellipsis of these markers does not change the propositional meaning of a sentence. The syntactic factors encouraging the use of these requestive markers are 1) serial verb constructions, 2) verb modification, and 3) the structure of the classifiers. The semantic factors include 1) lexical meaning of the word, 2) metaphor, and 3) metonymy. The processes of grammaticalization of the requestive markers include semantic extension, semantic bleaching, semantic persistence, decategorialization, and reanalysis. These processes are unidirectional, developing from a lexical words or less grammatical words, namely verbs, adverbs, and classifiers, into more grammatical words, i.e. the requestive markers. However, the grammaticalization of each requestive marker occurred at different pace. These processes are continual, thus each requestive marker has different levels of grammaticalization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1658-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- คำกริยาen_US
dc.subjectภาษาไทย -- คำกริยาวิเศษณ์en_US
dc.subjectภาษาไทย -- ไวยากรณ์en_US
dc.subjectThai language -- Verben_US
dc.subjectThai language -- Adverben_US
dc.subjectThai language -- Grammaren_US
dc.titleคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย : การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์en_US
dc.title.alternativeRequestive markers in Thai : a grammaticalization approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVipas.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1658-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppawan_mu.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.