Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51481
Title: ธุรกิจการเมืองในรัสเซียใหม่
Other Titles: ฺฺBusiness-oriented politics in Russia
Authors: รมย์ ภิรมนตรี
Advisor's Email: Rom.P@Chula.ac.th
Subjects: ธุรกิจกับการเมือง
รัสเซีย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2554
Publisher: ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Citation: วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2, 1- 2 (2554), 46-63
Abstract: บทความนี้ให้ข้อมูลที่มาของระบบธุรกิจการเมืองในรัสเซียใหม่ว่าเกิดจากการที่วิสาหกิจของรัฐยังคงต้องขึ้นต่อการกำกับควบคุมบางประการของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารโรงงานจึงจำต้องเสนอแบ่งปันผลประโยชน์บางประการให้กับผู้บริหารกระทรวงเพื่อความสะดวกคล่องตัว อันเป็นที่มาของระบบอุปถัมภ์พึ่งพาหรือคอร์รัปชั่น นอกจากนั้น ผู้นำพรรคการเมืองและผู้นำทางธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจการเมืองรัสเซียยังก่อตัวมาจากองค์กรของพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีตอีกด้วย ทั้งนี้โดยคนกลุ่มนี้ต่างพากันฉวยโอกาสเข้าไปครอบครองเป็นเจ้าของหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทั้งๆ ที่ตามเจตนารมณ์แล้วต้องการให้ผู้บริหารและกรรมกรโรงงานร่วมกันเป็นเจ้าของในสัดส่วนร้อยละ 49 ร่วมกับ สัดส่วนข้างมากร้อยละ 51 ของรัฐ นักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐดังกล่าวได้อาศัยฐานเศรษฐกิจและอำนาจผูกขาดพัฒนาธุรกิจของตนอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกได้ภายในระยะเวลาอันสั้นเพียง 5 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1992-1997 กล่าวคือมีทรัพย์สินส่วนตัวมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนกว่า 10 คน และเพิ่มเป็น 27 คนในปี ค.ศ. 2004 ธุรกรรมที่ไม่ค่อยโปร่งใสและซื่อสัตย์เท่าใดนักดังกล่าว อาทิเช่น การเก็งกำไรค่าเงินจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและสินค้าในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังล่มสลายและอัตราเงินเฟ้อสูง การแสวงหากำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้าที่ได้รับสัมปทานราคาต่ำ แต่ส่งไปขายต่างประเทศในราคาสูงมาก และการแสวงหากำไรจากการฉกฉวยกดราคาซื้อหุ้นจากกรรมกรและประชาชนผู้ตกอยู่ในภาวะจำยอมเพราะยากไร้ ต่อมา นักธุรกิจรัสเซียกลุ่มต่างๆ ได้รวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่ม อาทิ พรรคสหบาลรัสเซียพัฒนา (All-Russian Unity) พรรคเศรษฐกิจเสรี (The Party of Economic Freedom) และพรรคแรงงานเสรี (The Party of Free Work) ในปี ค.ศ. 1993 ทั้งนี้นักธุรกิจต่างพยายามเข้าไปมีอิทธิพลทางการเมืองและระบบอำนาจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในรัฐบาลสมัยประธานาธิบดีบอริส เยลต์ชินซึ่งเน้นปฏิรูปแบบเฉียบพลัน (Shock Therapy) ทั้งในรูปการล็อบบี้ การสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ทางตรง) การสนับสนุนคนของตนให้เป็นสมาชิกรัฐสภา และให้การสนับสนุนพรรคและการจัดทำโฆษณาชวนเชื่อให้แก่พรรคทางสื่อมวลชน นอกจากนั้น บทความยังได้เสนอภาพแผนภูมิแสดงช่องทางที่กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจจะเข้าไปมีอิทธิพลในทางการเมืองและระบบอำนาจในรัสเซียใหม่ รวมทั้งตารางแสดงการให้ความช่วยเหลือพรรคการเมืองในการหาเสียงเลือกตั้งของบริษัทและนักธุรกิจในปี ค.ศ. 1999 ไว้ด้วย
Other Abstract: This article provides information on business-oriented politics in New Russia. This line of politics arose out of the continuing dependence of certain state enterprises on the supervision and control of the related ministries. This dependence resulted in the state enterprise managers having to offer certain benefits to the ministerial administrators in exchange for the latter’s favours that would facilitate the operation of the enterprises. This is the origin of the patronage system and corruption in this country. Another aspect of business-oriented politics is the involvement of most political party leaders and leading business figures in this line of politics. This involvement party evolved from the former communist party organization in which they had been once influential. These people took the opportunity to take hold of large shares of corporations that came into existence as a result of the privatization of state enterprises, even though these corporations had originally been designed such that their management and workers would jointly own 49 per cent of the shares, with the state owning the remaining 51 per cent of the shares. Businessmen and high-ranking government officials used this economic base and their monopolistic power to quickly develop their businesses and transform themselves into world-class billionaires in a relatively short period of five years, that is, between 1992 and 1997. Initially, there were more than 10 people who each owned assets worth more than US$1 billion; in 2004 the number of such people rose to 27. Their somewhat dubious and dishonest business activities included speculations on exchange rates and prices of goods during economic difficulties and high inflation, seeking benefits from price differences in case of discount concession goods being exported at very high prices, and reaping profits from purchasing shares at very low prices from workers and people who were compelled to sell their assets because of their poverty. Later, various groups of Russian businesspeople joined in setting up their own political parties to protect their business interests. These parties include the All Russia Unity, the Party of Economic Freedom and the Party of Free Work, which were all established in 1993. These people attempted to gain increasing political influence and power in Russian politics during the Boris Yeltsin government that focused on shock-therapy reform. The measures they adopted for this purpose include lobbying, running in elections, supporting their own people to obtain seats in parliament, and providing support for political parties such as by subsidizing their media propaganda. The article also provides a graphic presentation showing the channels through which business interest groups have exerted their political influence in New Russia, and a table displaying the financial support given by corporations and businesspeople to the political parties during their election campaigns in 1999.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51481
ISSN: X000-059X
Type: Article
Appears in Collections:Arts - Journal Articles

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rom_Ph_Art_1.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.