Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51502
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ-
dc.contributor.authorกันยกานต์ สมานมิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-01-19T02:26:35Z-
dc.date.available2017-01-19T02:26:35Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51502-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้นำเสนอสมการทำนายความขรุขระผิวชิ้นงานในระหว่างกระบวนการกลึงเหล็กกล้าคาร์บอน ด้วยใบมีดคาร์ไบด์เคลือบผิว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความขรุขระผิวชิ้นงานขณะตัดกับอัตราส่วนแรงตัดพลวัตบนเครื่องกลึงซีเอ็นซี อัตราส่วนแรงตัดพลวัตถูกนำมาประยุกต์ใช้โดยการหาพื้นที่ใต้กราฟของแรงป้อนตัดพลวัตต่อแรงตัดหลักพลวัต เพื่อใช้ในการทำนายความขรุขระผิวขณะตัดโดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขการตัดที่เปลี่ยนแปลงไป ไดนาโมมิเตอร์ถูกติดตั้งบนชุดป้อมมีดของเครื่องกลึงซีเอ็นซีเพื่อตรวจจับแรงที่เกิดขึ้นขณะตัด ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแรงตัดพลวัตและความขรุขระผิวสามารถพิสูจน์ได้ในโดเมนความถี่ โดยที่แรงตัดพลวัตและความขรุขระผิวชิ้นงานจะมีความถี่ที่ตรงกัน ฟังก์ชันเอกโปเนนเชียลถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาสมการทำนายความขรุขระผิวชิ้นงานขณะตัด ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีความขรุขระผิว โดยมีพารามิเตอร์ คือ ความเร็วในการตัด100-260 เมตรต่อนาที อัตราการป้อนตัด 0.1-0.3 มิลลิเมตรต่อรอบ ความลึกตัด 0.2-0.8 มิลลิเมตร รัศมีจมูกมีด 0.4-0.8 มิลลิเมตร มุมคายเศษโลหะ -6 และ11 องศา รวมถึงอัตราส่วนพื้นที่แรงตัดพลวัต การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณถูกนำมาใช้เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีการกำลังสองน้อยที่สุด ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จากผลการทดลองพบว่าสมการทำนายค่าความขรุขระผิวชิ้นงานขณะตัดที่พัฒนาขึ้น มีค่าความแม่นยำเท่ากับ 91.89% สำหรับสมการทำนายความขรุขระผิวเฉลี่ย และ 91. 97% สำหรับสมการทำนายความขรุขระผิวสูงสุดen_US
dc.description.abstractalternativeThis research presents a development of the in-process surface roughness prediction in the CNC turning process of the carbon steel with the coated carbide tool by utilizing the dynamic cutting force ratio. The aim of this research is to investigate the relation between the surface roughness and the dynamic cutting force ratio during the in-process cutting in CNC turning process. The dynamic cutting force ratio is proposed and calculated from the area of dynamic feed force to that of dynamic main force in order to predict the in-process surface roughness regardless of the cutting conditions. The relation between the dynamic cutting force and the surface roughness can be proved in the frequency domain, which have the same frequency. The exponential function is adopted for the sake of simplicity to develop the in-process surface roughness model which is similar to the theoretical surface roughness model. However, the proposed model consists of the cutting speed at 100-260 m/min, the feed rate at 0.1-0.3 mm/rev, the depth of cut at 0.2-0.8 mm, the tool nose radius 0.4-0.8 mm, the rake angle -6๐-11 ๐, and the dynamic cutting force ratio. The multiple regression analysis is utilized to obtain the regression coefficients by using the least square method at 95% confident level. The proposed model has been proved by the new cutting tests with the high accuracy of 91.89% for the average surface roughness and 91.79% for the average maximum height of the surface roughness by utilizing the dynamic cutting force ratio.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1654-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเหล็กกล้าen_US
dc.subjectเหล็กกล้าคาร์บอนen_US
dc.subjectSteelen_US
dc.subjectCarbon steelen_US
dc.titleการทำนายความขรุขระผิวชิ้นงานในกระบวนการโดยการประยุกต์ใช้แรงตัดพลวัตในการกลึงเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด S45C ด้วยใบมีดคาร์ไบด์เคลือบผิวen_US
dc.title.alternativeIn-process prediction of surface roughness by utilizing dynamic cutting forces in turning of carbon steel grade S45C with coated carbide inserten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomkiat.T@eng.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1654-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanyakarn_sa.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.