Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51510
Title: การพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ผลิตในโรงงานปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์
Other Titles: Development of a shop floor management system in an auto press parts manufacturing factory
Authors: พรรณพัชรา ลาภิศพงศ์ภรณ์
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การควบคุมการผลิต
Automobile supplies industry -- Production control
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการจัดทำระบบการจัดการและควบคุมการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ผลิตในโรงงานปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งงานไม่ทันกำหนด แนวคิดการจัดการพื้นที่ผลิตถูกนำมาประยุกต์ใช้ โดยเริ่มตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การจัดตารางการผลิต การปล่อยงานเข้าสู่พื้นที่ผลิต การเคลื่อนย้ายงานระหว่างหน่วยงาน การควบคุมและติดตาม การส่งงานตามกำหนดส่งมอบ การแก้ไขปัญหาการแทรกงานจากลูกค้า การปรับปรุงฐานข้อมูลได้แก่ เวลามาตรฐาน เวลาปรับตั้งเครื่องจักร เส้นทางการดำเนินงานของแต่ละชิ้นงาน การจัดทำระบบเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานควบคุมติดตามการทำงานและนำเสนอในรูปของแผนภาพ IDEF0 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรมในพื้นที่ผลิต หลังจากการพัฒนาระบบการบริหารพื้นที่ผลิต เปอร์เซ็นต์การส่งงานไม่ทันกำหนดลดลงจาก 37.77 % เหลือ 31.22 % โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดลงเท่ากับ 6.55 % และมีระบบการจัดการพื้นที่ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: The objective of this research is development a shop floor management system in an auto press parts manufacturing factory for solving the late delivery problem. The concept of the shop floor management have been applied. Starting from raw materials, production planning, production scheduling, dispatching, moving between cells, monitoring and control, delivery, work insert problem, update the database include the operation standard and set up time, work instruction document system and presented in the form of IDEF0 diagrams to show the relationship of each activity in the shop floor. After the implementation of the developed system, it is show that the percentage of the late delivery rate is reduced from 37.77 % to 31.22 % which improve that the late delivery rate is decreased by 6.55 %.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51510
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1665
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1665
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punpatchara_la.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.