Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5160
Title: | โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยจำลองสถานการณ์ การหนีไฟภายในอาคารโดยการใช้บันไดหนีไฟ |
Other Titles: | Computer aided program for the simulation of fire evacution in building by fire escape |
Authors: | ณัฐกรณ์ เสฏฐัตต์ |
Advisors: | กวีไกร ศรีหิรัญ ภิญโญ จินันทุยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | skaweekr@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บันไดหนีไฟ อาคารสูง |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการออกแบบอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นอาคารที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องคำนึงถึง การสัญจรของผู้ใช้งานทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง รวมทั้งการระบายผู้ใช้ออกจากอาคาร เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นด้วย โดยในกฎกระทรวง ฉบับที่33 ปี พ.ศ. 2533 ก็มีข้อกำหนดมาตรฐานการออกแบบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ไว้ด้วย ในเรื่องของประสิทธิภาพการระบายผู้ใช้ออกจากอาคารนั้น ผู้ออกแบบไม่สามารถมองเห็นภาพ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการระบายผู้ใช้ออกจากอาคารนั้นได้ชัดเจน หากเกิดปัญหาขึ้นหลังจากที่มีการก่อสร้างไปแล้ว จะทำให้การแก้ปัญหาทำได้โดยยาก ซึ่งถ้ามีเครื่องมือที่ให้ข้อมูลเพื่อช่วยในการออกแบบการสัญจรและการระบายผู้ใช้ หรือช่วยวัดประสิทธิภาพของอาคารที่ออกแบบได้ จะช่วยทำให้การออกแบบอาคารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า เครื่องมือที่จะช่วยสถาปนิกในการศึกษาการสัญจรและการระบายผู้ใช้ออกจากอาคาร ควรมีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังการออกแบบได้อย่างชัดเจน และ ต้องสามารถปรับเปลี่ยนการวางผังพื้นของอาคารแล้วนำมาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยในการเปรียบเทียบข้อมูลการระบายผู้ใช้ออกจากอาคาร เพื่อที่จะสามารถออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย |
Other Abstract: | To design high rise building that there are many people live in, must be aware of traffic on both horizontal and vertical and releasing people from building when fire according to Ministerial Regulation 33,1990 which there is principle standard design to solve high and grand building from fire. In fact, architects cant clarify real problem of efficiency releasing people from building, it is difficult to solve the problem when the building is finished. So the instrument of traffic and release data system are needed to measure efficiency design. From study and research found that this instrument should be presented as animation to help architects clarify real problem after designing. Therefore, it should be able to adjust the building plan and analyze suddenly. And to compare data of releasing people from building, finally architects can plan efficiency building design with this instrument. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5160 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1237 |
ISBN: | 9741757131 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1237 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattakorn.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.