Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชิต พูลทอง
dc.contributor.authorจินตนาลักษณ์ พรโชติทวีทรัพย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2017-02-06T06:28:55Z
dc.date.available2017-02-06T06:28:55Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51661
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาวจำลองกับรอยโรคจุดขาวจำลองที่ถูกแทรกซึมโดยวัสดุเรซินไอคอน เมื่อสัมผัสกับเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด การศึกษานี้ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 02/2011 เตรียมชิ้นตัวอย่างจากฟันกรามน้อยของมนุษย์จำนวน 80 ซี่ ทำการสุ่มฟันเป็น 4 กลุ่มทดลองตามชนิดเครื่องดื่มที่ออกแบบให้แช่ชิ้นฟันตัวอย่าง ดังนี้ 1) แช่เครื่องดื่มน้ำอัดลมโคล่า 2) แช่เครื่องดื่มน้ำส้มคั้น 3) แช่เครื่องดื่มเกลือแร่ และ 4) แช่น้ำปราศจากประจุ นำชิ้นฟันตัวอย่างมาแช่ในสารละลายสำหรับทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ เพื่อสร้างรอยโรคจุดขาวจำลองของผิวเคลือบฟัน โดยให้ชิ้นที่หนึ่งที่มาจากฟันซี่เดียวกัน ใช้วัสดุเรซินจากผลิตภัณฑ์ไอคอน ส่วนชิ้นที่เหลือไม่ใช้วัสดุใด และทำการแช่ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดดังที่กล่าวมา โดยแช่เครื่องดื่มก่อน 5 วินาที ตามด้วยแช่น้ำลายเทียม 5 วินาที สลับกันไปรวมทั้งหมด 10 รอบ ทำซ้ำแบบเดิมอีกสองรอบทุกๆ 6 ชั่วโมง วัดค่าปริมาตรและความลึกเฉลี่ยที่เกิดการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาว โดยใช้เครื่องวัดความหยาบพื้นผิวโปรไฟโลมิเตอร์ นำค่าปริมาตรและความลึกเฉลี่ยที่ได้มาทดสอบด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวร่วมกับสถิติการเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษานี้พบว่า กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนที่แช่เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด มีค่าเฉลี่ยของปริมาตร และความลึกในการสึกกร่อนของเคลือบฟัน มากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนทุกกลุ่ม จากการทดสอบทางสถิติพบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอน และชนิดของเครื่องดื่มมีผลต่อค่าเฉลี่ยของปริมาตร และความลึกในการสึกกร่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001) และยังเป็นปัจจัยร่วมทางสถิติ (p<0.0001)en_US
dc.description.abstractalternativeThe present study compared the erosive effects of acidic drinks on artificial white spot lesions with or without Icon® resin infiltration. The study has permit by The Ethics Committee of the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University no. 02/2011. Specimens were prepared from 80 human premolars, and randomly divided into 4 groups to be immersed in one the following of solutions; 1) Cola soft drink, 2) Orange juice, 3) Sports drink, or 4) de-ionized water. Each specimen was immersed in a demineralizing solution to induce artificial white spot lesions. A specimen resin infiltrated with Icon® (DMG, Germany), and an uninfiltrated specimen from the same tooth as control were alternately immersed in the designated solution and artificial saliva for 10 cycles of five seconds each. The procedure was repeated twice at six-hour intervals. Subsequently, the volume loss and mean depth of the white spot lesions were measured using a Profilometer. Data were analyzed by two-way ANOVA and one-way ANOVA with Tamhane multiple comparison (p < 0.05). The mean of the volume loss and the mean depth of the white spot enamel lesions were significantly higher in every group using resin Icon® and immersed in acidic drinks compared to control. They were significantly affected by resin Icon® and types of solution (p < 0.0001). The interaction between resin Icon® and types of solution was also significant (p < 0.0001).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2097-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเคลือบฟันen_US
dc.subjectเรซินอะคริลิกทางทันตกรรมen_US
dc.subjectฟัน -- การสึกกร่อนen_US
dc.subjectDental enamel
dc.subjectDental acrylic resins
dc.subjectTeeth -- Erosion
dc.titleความต้านทานการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาวของเคลือบฟันที่แทรกซึมโดยเรซินต่อเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดen_US
dc.title.alternativeErosive resistance of white spot enamel lesions infiltrated with resin to acidic drinksen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineทันตกรรมหัตถการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsuchit.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2097-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jintanaluk_po.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.