Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5168
Title: การส่งเสริมความสามารถและเจตคติในการแสวงหาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ
Other Titles: The enhancement of knowledge seeking ability and attitude of prathom suksa six students by using learning process from resources in the community and nature
Authors: ดี สูงสว่าง
Advisors: อุมา สุคนธมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแสวงหาความรู้
การศึกษานอกสถานที่
การเรียนรู้
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ส่งเสริมความสามารถและเจตคติในการแสวงหาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนวัดหงส์ปทุมาวาส จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน แบบวัดเจตคติในการแสวงหาความรู้ของ ผู้เรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแสวงหาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความสามารถในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน ที่แสดงออกขณะเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้คือ ผู้เรียนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามข้อตกลงขณะเดินทางไปในแหล่งเรียนรู้ ศึกษาเรียนรู้ตามวิธีการที่วางแผนไว้ พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นระหว่างเพื่อนในกลุ่ม ขณะศึกษาในแหล่งเรียนรู้ ดำเนินงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายร่วมกันด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้น เคารพและตั้งใจฟังวิทยากร และร่วมกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ อยู่ในระดับมาก ส่วนความสามารถในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน ที่ได้แสดงออกขณะร่วมกิจกรรมค้นคว้าภายหลังจากเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้คือ ผู้เรียนส่วนใหญ่นำเสนอข้อความรู้ที่ตนเองบันทึกไว้ แล้วร่วมกันสรุปและเรียบเรียงความรู้ กำหนดคำสำคัญโดยนำเสนอคำที่ได้จากแหล่งเรียนรู้และจากวิทยากร ตั้งประเด็นค้นคว้าที่นำไปสู่การเรียนรู้ใหม่แต่ยังไม่หลากหลายนัก อธิบายประเด็นค้นคว้าที่กำหนดได้ชัดเจน แต่การเขียนยังไม่สอดคล้องกับประเด็นค้นคว้า คาดคะเนผลได้สอดคล้องกับประเด็นค้นคว้าพร้อมนำเสนอเหตุผล และไม่มีการแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อประเด็นค้นคว้าและคาดคะเนผล นอกจากนั้น ผู้เรียนส่วนใหญ่ได้นำเสนอวิธีการค้นคว้าเฉพาะวิธีที่ได้ปฏิบัติมาเท่านั้น ตัดสินใจเลือกวิธีการค้นคว้าแต่วิธีดังกล่าวไม่เอื้อต่อการค้นคว้า มีการวางแผนการค้นคว้าร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่ตามความถนัดโดยปฏิบัติงานตามความต้องการของตนเอง วิเคราะห์ถึงความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับประเด็นค้นคว้าที่กำหนด แล้วนำข้อความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้งหมดมาเขียนสรุป โดยคัดลอกมาเรียบเรียงตามประเด็น และสุดท้าย ผู้เรียนส่วนใหญ่ได้ร่วมกันแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้นคว้าที่ผ่านมา ในลักษณะของภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าสูงกว่าก่อนเข้ากิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อแปลความหมายของระดับเจตคติในการแสวงหาความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดพบว่า เจตคติในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมาก สำหรับเจตคติในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียนที่ปรากฎจากพฤติกรรมขณะเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ คือ ผู้เรียนทุกคนแต่งกายเหมาะสม ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ และแสดงความเคารพและกล่าวอำลาวิทยากร รวมทั้งผู้เรียนส่วนใหญ่รู้สึกสนุกสนานร่าเริงขณะศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ สนใจและกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นต่อการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มเพื่อนใหม่ๆ ได้ปฏิบัติจริงและได้ทำงานกลุ่มอย่างสนุกสนาน แม้จะขัดแย้งกันแต่ก็ทำงานสำเร็จ และคิดว่า การปฏิบัติงานกลุ่มนั้น ได้ฝึกความสามัคคีและได้ผลงาน รวมถึงรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ดีใจที่มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมนี้ และรู้สึกว่าความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
Other Abstract: To encourage the knowlegde seeking ability and attitude of prathom suksa six students by using learning process from resources in the community and nature. The subjects were 16 students of prathom suksa six in the academic year 2003 from Wat Hong Pathummawas school. The tools in this research included ; the learner's knowledge seeking ability's form, the learner's knowledge seeking attitude's form, the learner's learning behavior observation's form, and the learner's knowledge and opinion recording form. Data of the study were statistically analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, and ttest. The results were as follows 1. The post-test arithmetic mean score of the students' knowledge seeking ability was higher than the pre test at the .05 level of significance. For the students knowledge seeking ability that shown while learning from resources were ; most of the students followed the agreement while in resources, followed learning plan, exchanged the knowledge and the opinions among friends in group. Willingly and enthusiastically did the assignment together. Respectfully paid attention to listening to the lecture and joined the activities as plan in the high level. For the student's knowledge seeking ability that shown while doing the searching activity after learning from resources were ; most of the students presented knowledge that they took a note, then they summarized and compiled the knowledge together. Most students fixed the key words presented them from the resource and the lecture and raised the issues for searching that lead to the new learning but not too variety. Able to explain the issues but the writing still not combine very well with the issues. Able to estimate the results of the issues with the reasons presenting and not showing any opinion about the issues and the result estimations. In addition, most students presented the searching methods only they had already used. Able to make a plan for searching knowledge and assigned members' duties suited their aptitude. Only if they searched following their own desire. After that, most students analyzed the relations of all data and the issues that they had raised. Able to wrote summary of all knowledge from the analysis with an order of the searching issues. Finally most of the students shown their opinions about the recently searching experience like a simply assignment. 2.The post-test arithmetic mean score of the students' knowledge seeking attitude was higher than the pre-test at the .05 level of significance. The students' knowledge seeking attitude after the activities was in the high level. For the students' knowledge seeking attitude that shown while learning from resources were ; everyone was properly dressed, respectfully greeted, farewell to the lecture, and having fun while learning, in the high level. For students' opinion about joined with these learning activities were ; they think they discovered more knowledge, had a chance to work as a team with new friends, reality activities. Thought working as a team was fun even though there were some arguments but all assignments done well. Also helping each other was a good practice for unity and get all the assignments done. For the feeling toward the activities was fun, enjoyable, glad to have an opportunity to join these activities and feel that all the knowledge and experiences that they got are valuable
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5168
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.476
ISBN: 9741758235
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.476
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dee.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.